ความมักง่ายบกพร่องอย่างกว้างขวางและทำเป็นระบบ เลิกใส่ใจถามไปเลย เรื่อง CSR กับภาคอุตสาหกรรมมักง่าย
ความมักง่ายบกพร่องอย่างกว้างขวางและทำเป็นระบบ เลิกใส่ใจถามไปเลย เรื่อง CSR กับภาคอุตสาหกรรมมักง่าย
แค่เพียงสำนึกง่ายๆ โรงงานเสี่ยงมากมาย ที่มีอยู่วันนี้ จะไม่มีโอกาสเกิดขึ้น แต่เพราะความเห็นแก่ได้ เห็นแก่ตัว ปัญหาจึงสุดเยียวยาแก้ไข ขนาดรัฐบาลยังไม่กล้าแตะ กลัวกระทบเศรษฐกิจ แต่ทิ้งความเสี่ยงมหาศาลให้ชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ และคิดต่อไปว่า จะไม่มีเหตุร้าย ที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้นอีก
ขณะนี้ คนทั่วโลกกำลังให้ความใส่ใจและตระหนักถึงหายนะภัยจากภาคอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ นักการเมืองในหลายประเทศ เริ่มปรับปรุงกฎหมายที่จะควบคุมการดำเนินการต่างๆ ให้มีความปลอดภัยสูงขึ้น เพราะความมักง่ายประมาท สร้างผลกระทบร้ายแรงต่อสรรพชีวิตและสภาวะแวดล้อม การควบคุมที่สูงขึ้นอาจจะทำให้เกิดรายจ่าย จากผลกำไรมหาศาลของธุรกิจน้ำมันและก๊าซ ควรจะลดกำไรลงเพื่อสร้างความแข็งแรงปลอดภัยในการดำเนินการต่างๆ เพราะเวลาเกิดปัญหาขึ้นแล้วไม่สามารถควบคุมและชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ เช่นการรั่วไหลของ แท่นเจาะ BP ในอ่าวเม็กซิโก, แท่นเจาะของ ปตท. ในทะเลติมอร์, การระเบิดของท่อส่งน้ำมันในจีน ล้วนสร้างปัญหาใหญ่หลวง
แต่บัดนี้รัฐบาลไทย โดยนายอภิสิทธิ์ ที่ขาดต่อมสำนึกด้านความปลอดภัย เฉยชาที่จะตรวจสอบ การดำเนินการกับโครงสร้างพื้นฐาน รากฐานที่จะต้องทำให้แข็งแรงมั่นคง เพื่อรองรับระบบต่างๆ ของโรงงานก๊าซไวไฟขนาดใหญ่ ที่มีคลังก๊าซไวไฟจำนวนมหาศาล มากกว่าที่เคยระเบิดในเม็กซิโกเมื่อปี 1984 ถึง 7 เท่า และกำลังจะดันทุรังเปิดใช้โรงงานเหล่านี้ แม้ได้รับการท้วงติงซ้ำๆ ถึงความไม่ปลอดภัยในการใช้ฐานรากที่ไม่ตอกเสาเข็ม อ้างว่าดินปรับถมใหม่นั้น บดอัดแล้วจนแข็งแรงมาก ดินสามารถรับน้ำหนักมากกว่าบริเวณใกล้เคียง ถึง 3 เท่า ถ้าโรงงานนี้ไม่ได้อยู่ติดตลาดอยู่ใกล้ชุมชน ทั้งยังมีโรงงานสารเคมีอันตรายรายล้อมจำนวนมาก เรื่องนี้จะไม่น่ากังวลมากเลย แต่วันนี้ รายแสนชีวิตจะได้รับผลกระทบร้ายแรง เพียงการทรุดเพียงเล็กน้อยของโครงสร้างสำคัญต่างๆ ที่จะทำให้ระบบท่อแตกเสียหาย ก๊าซไวไฟรั่วไม่สามารถควบคุมได้ การระเบิดลุกลามของก๊าซแอลพีจีไปยังคลังก๊าซขนาดใหญ่ มีความเป็นไปได้สูง ความเฉยชาของรัฐบาลไทย ที่จะตรวจสอบ-ซ่อมเสริมให้แข็งแรง ทิ้งความเสี่ยงมหาศาลให้ผู้คน และสภาวะแวดล้อม เรื่องราวนี้ได้ส่งไปยัง เจโทร-กรุงเทพ ( ) ซึ่งมีอิทธิพลในด้านการลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทย แต่ทำได้แค่หวังว่ารัฐบาลไทยจะดำเนินการอย่างเหมาะสมเท่านั้น
ทำไมผู้บริหารต้องสนใจ CSR แล้วพูดให้ดูดี และเน้นโฆษณาสร้างภาพ
ในหนังสือการสร้างสังคมน่าอยู่กับการทำธุรกิจและสิ่งแวดล้อม "ผู้บริหารไทยใส่ใจชุมชนและสิ่งแวดล้อม" ที่จัดทำโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม เครือปูน ซิเมนต์ไทย และสถาบัน สิ่งแวดล้อมไทย ที่น่าจะเป็นหนังสือเกี่ยวกับเรื่อง CSR ที่มีเพียงจำนวนไม่มากนักในไทย โจทย์ที่หนังสือตั้งไว้น่าสนใจโดยเฉพาะในประเด็นว่า "ทำไมผู้บริหารต้องสนใจเรื่อง CSR"
เพราะ CSR หรือความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจกลายเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของประเทศพัฒนาแล้วนำมาใช้เป็นเงื่อนไขในการทำ
การค้ากับประเทศต่างๆ องค์กรหลายแห่งนำเรื่อง CSR มาเป็นประเด็นสื่อสารทางการตลาด บางองค์กรยังนำเรื่อง CSR มาเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี ดังนั้นหากธุรกิจยังไม่ปรับตัวท้ายที่สุดอาจถูกปฏิเสธการร่วมทำธุรกิจด้านต่างๆ ทั้งด้านการค้าและการลงทุน
ในปี 2542 นายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการ องค์การสหประชาชาติ เรียกร้องให้องค์กรธุรกิจทั่วประเทศแสดงความเป็นพลเมืองที่ดีของโลก (good global citizenship) โดยเสนอบัญญัติ ที่ชื่อ The UN Global Compact และมีองค์กรธุรกิจเป็นสมาชิกในปัจจุบัน 1,861 องค์กร เป็นองค์กรในไทย 13 บริษัทจากธุรกิจในประเทศกว่า 1,600,000 ราย กระแสนี้เริ่มเข้มข้นและจริงจังขึ้นในโลกมาตั้งแต่ปี 2543 โดยเฉพาะยุโรปที่เสมือนตัวขับเคลื่อนสำคัญผ่าน "แนวปฏิบัติสำหรับบรรษัทข้ามชาติ" (Guildlines for MNE"s-Revision 2000) ซึ่งเสนอให้บรรษัทข้ามชาติมี CSR มากกว่านั้นยังเสนอให้บรรษัทข้ามชาติติดต่อค้าขายกับบริษัทที่มี CSR เท่านั้น
ในอดีตที่มักมุ่งเน้นความเป็นเลิศในเชิงธุรกิจด้วยการแข่งขันด้านราคาโดย "ลดต้นทุนและเพิ่มผลกำไร" เป็นหลัก
แต่เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยนไปหันมาให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพและภาพลักษณ์ของสินค้าในเชิงสังคมและสิ่งแวดล้อม ธุรกิจจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องให้ความสำคัญถึงภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร เพื่อให้ผู้บริโภคสนใจและต้องการซื้อสินค้า ความรู้สึกไว้วางใจอาจส่งผลไปถึงความวางใจในผลิตภัณฑ์อื่นของบริษัทที่ส่งผลให้องค์กรมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นและมีส่วนแบ่งการตลาดที่มั่นคง
การรับผิดชอบต่อสังคมจึงเป็นมิติหนึ่งในการกระตุ้นให้ภาคธุรกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ในหนังสือยังยกกรณีศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่แสดงให้เห็นว่า การทำธุรกิจโดยขาดความรับผิดชอบนั้นส่งผลต่อคุณภาพ สิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกประเทศ ต่อสุขภาพ ความเจ็บปวด และความสูญเสียนานัปการ รวมถึงกรณีพิพาทระหว่างประเทศในหลายกรณี เช่น คดี Trail Smelter ที่บริษัทในแคนาดาดำเนินกิจการถลุงแร่ตะกั่วและสังกะสีห่างจากชายแดนสหรัฐ 10 ไมล์ และก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศกลายเป็นกรณีพิพาทระหว่างสหรัฐอเมริกาและแคนาดาที่ศาลอนุญาโตตุลาการสั่งให้แคนาดาชดใช้ค่าเสียหาย หรือกรณีในไทยเช่นกรณีการปนเปื้อนสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้ ที่โรงแต่งแร่ปล่อยน้ำเสียลงสู่ลำห้วยและพบว่าประชาชนที่ใช้น้ำมีระดับตะกั่วในเลือดสูง ปัจจุบันยังมีหมู่บ้านที่ต้องเฝ้าระวังจำนวน 8 หมู่บ้าน
เมื่อความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมต้องทำจากภายใน สิ่งที่องค์กรทำได้ เช่น การลดพลังงาน ประหยัดน้ำ ฯลฯ ซึ่งไม่เพียงแต่สังคมและสิ่งแวดล้อมได้ ท้ายที่สุดองค์กรได้รับผลนั้นเช่นกัน
มีการหยิกยกตัวอย่างที่น่าสนใจมาเปรียบเทียบให้เห็น อาทิ การลดการใช้ไฟฟ้าโดย การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ของบริษัท ซี.พี.เซเว่น อีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) ที่เปลี่ยนหลอดไฟในเซ่เว่นฯ 30 สาขาเป็นหลอดผอม ใช้บัลลาสต์ อิเล็กทรอนิกส์ บำรุงรักษาแอร์อย่างมีประสิทธิภาพ จากเดือนกันยายน 2547-พฤษภาคม 2548 สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 90 ล้านบาท หรือกรณีของ "บุญรอดบริวเวอรี่" นำสิ่งที่ได้จากระบบบำบัดน้ำเสียแบบ UASB มาใช้ผลิตก๊าซมีเทนซึ่งใช้ทดแทนน้ำมันเตา และสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง 14 ล้านบาทต่อปี
นี่เป็นตัวอย่างบางส่วนที่ทำให้เห็นว่า เพราะเหตุใดจึงถึงเวลาที่ "ผู้บริหาร" จะต้องหันมาให้ความใส่ใจเรื่อง CSR เสียที !!
หน้า 52
ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ภาพดีๆ ที่ชอบวาดกัน สร้างภาพกัน แต่ไร้จิตสำนึกที่แท้จริง
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Fire Explosion in Thai Oil Safety Lesson Learned: Fire Explosion in Thai Oil Location of Incident: Thailand ไฟไหม้ถังเก็บน้ำมันไทยออยส์ ปี 1...
-
องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ได้กำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลกโดยมีวัตถุประสงค์ในการรณรงค์และรักษาสิ่งแวดล้อ...
-
ความมักง่ายบกพร่องอย่างกว้างขวางและทำเป็นระบบ เลิกใส่ใจถามไปเลย เรื่อง CSR กับภาคอุตสาหกรรมมักง่าย แค่เพียงสำนึกง่ายๆ โรงงานเสี่ยงมากมาย ที่...
- 2012 (2)
- 2011 (17)
-
2010
(42)
- ธันวาคม(1)
-
พฤศจิกายน(11)
- จริงใจหรือแค่พูดให้ดูดี - นายกฯลั่นห้ามขยายอุตสาหก...
- ความมักง่ายบกพร่องอย่างกว้างขวางและทำเป็นระบบ เลิก...
- อุบัติเหตุ - ความมักง่าย หรือ แก้ปัญหาไม่ได้ ยามมี...
- โรงงานสารเคมีในจีน ระเบิด 21 พ.ย. 53
- เหมืองระเบิด เทคโนโลยี่ ดีแค่ไหน ก้อระเบิดได้
- ทุกที่มีมาตรฐานสูง ลงทุนสูงมาก ใช้เทคโนโลยี่สูงมาก...
- ศูนย์เตือนภัยพิบัติ แห่งชาติ'ไร้ประสิทธิภาพ - เก็บ...
- GREEN DIARY WEB น่าสนใจ
- มาบตาพุด แนะชาวบ้าน เผาขยะในชุมชน กลบกลิ่นพิษ โรงง...
- ภูเขาไฟ “เมราปี” - ระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า...
- ใครๆ ก้ออยากมาลงทุนในไทย เพราะเวียตนามเจอภัยธรรมชา...
- ตุลาคม(14)
- กันยายน(9)
- สิงหาคม(7)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น