หายนะ น้ำมันรั่วไหลครั้งใหญ่ ในภูมิภาคเอเซีย ที่คนไทย ไม่รู้ไม่เห็น
Indonesia, PTTEP still deadlocked after 8 months
Indonesia is seeking US$2.4 billion but the company has only agreed to provide $5 million in
the form of the corporate social responsibility (CSR) programs to assist affected fishermen in the Timor Sea.
Transportation Minister Freddy Numberi, who is heading the emergency response team on the oil spill, said PTTEP initially proposed only US$3 million.
Officials from Indonesia and PTTEP met in Singapore last week but failed to reach an agreement on the claims despite strong warnings from the Indonesian government.
Prior to the meeting, Freddy told The Jakarta Post he would take stern measures, including bringing the case to international courts or closing down PTTEP subsidiaries in Indonesia if PTTEP failed to meet the February deadline to agree on compensation.
PTTEP owns more than half of the shares in several subsidiaries operating in Indonesia.
The first negotiations for financial damage took place in July 2010 after the oil platform in the Montara field off Australia’s northern coast exploded in August 2009.
Indonesia claims 2,000 barrels of oil a day leaked before the spill was halted in November 2009.
PTTEP said there was no strong evidence for the claims by Indonesia.
In a previous meeting, PTTEP officials were scheduled to visit East Timor in February to verify data proposed by Indonesia for the claim, however, no field checks were conducted.
Freddy said the two parties were working to draft a memorandum of understanding to give details on payments on Indonesia’s claim.
“The MoU would include clauses related to the financial claim proposed by Indonesia. It will outline the payment period of claims that were expected to be made by June,” he was quoted as saying by Antara news agency.
The MoU is scheduled to be signed in April.
Freddy said if PTTEP failed to fulfill the agreement, Indonesia was ready to take legal action.
JAKARTA, Dec. 15 (Xinhua) -- Thailand-based oil and gas producer PTTEP Australasia has finally acknowledged responsibility for an oil spill in the Timor Sea occurred last year, local media reported Wednesday.
The Indonesian government has demanded 23 trillion rupiah (some 2.56 billion U.S. dollar) in compensation from the firm to repair the damages, Indonesian Transport Minister Freddy Numberi has said.
"We held a meeting with them and they have confessed. Actually, we need the confession," Numberi was quoted by the Jakarta Post as saying.
The company would hold another meeting with the Indonesian government to discuss data on sea contamination, Freddy said.
PTTEP Australasia's oil platform in the Montara field off Australia's northern coast exploded and spilled more than 500,000 liters of crude oil per day into the Timor Sea in August 2009.
Thirty-eight percent of Indonesia's marine territory in the Timor Sea were reportedly affected by the spill. Local fishermen's catches reportedly dropped and thousands of tons of shallow water fish died, while marine mammals, including whales, also fell victim.
สัมมนา การควบคุมผลกระทบจากอุตสาหกรรม ด้วยความเข้มแข็งทางวิชาการของชุมชน - ที่มาบตาพุด
การควบคุมผลกระทบจากอุตสาหกรรม
ด้วยความเข้มแข็งทางวิชาการของชุมชน
จัดโดย
ศูนย์วิจัยเปิดเพื่อการศึกษาโรคมินามาตะ มหาวิทยาลัยคุมาโมโต ญี่ปุ่น
ร่วมกับ
เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม มูลนิธิบูรณะนิเวศ
ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และภาควิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม 2554 เวลา 08.00 – 17.00 น.
ณ. ห้องประชุมประชุมชั้น 3 ศูนย์อาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม จังหวัดระยอง
ปัจจุบันแม้ว่าหลายฝ่ายได้พยายามดำเนินการแก้ไขปัญหาหลายอย่างที่เกิดจากการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดและบริเวณใกล้เคียงก็ตาม แต่ยังมีปัญหาอีกหลายด้านที่คงต้องแสวงหาคำตอบและการแก้ไขต่อไป จะเห็นได้ว่าทั้งชุมชนที่ได้รับผลกระทบ เครือข่ายประชาสังคม หน่วยงานราชการ และนักวิชาการผู้เกี่ยวข้องอีกจำนวนมากยังคงเดินหน้าศึกษาค้นคว้าเพื่อพิสูจน์ให้ชัดเจนขึ้นถึงลักษณะและระดับความรุนแรงของผลกระทบด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สังคม และอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นี้ต่อไป การศึกษาค้นคว้าและพิสูจน์ข้อเท็จจริงเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญและการสนับสนุนจำนวนมากทั้งจากภายในและจากต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงได้เกิดความร่วมมือทางวิชาการระหว่างศูนย์วิจัยเปิดเพื่อการศึกษาโรคมินามาตะ มหาวิทยาลัยคุมาโมโต ประเทศญี่ปุ่น (Open Research Center for Minamata Studies, Kumamoto Gakuen University: MORC) กับเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม และมูลนิธิบูรณะนิเวศ เพื่อส่งเสริมความเข็มแข็งแก่ภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งด้านวิชาการ สิทธิของชุมชนในการเข้าถึงข้อมูลมลพิษและสารอันตราย การเจรจาและการสื่อสารกับภาครัฐ เอกชน และสาธารณชนทั่วไป
ศูนย์วิจัยเปิดเพื่อการศึกษาโรคมินามาตะก่อตั้งขึ้นเป็นทางการเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2548 ในมหาวิทยาลัยคุมาโมโต ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นโดยกลุ่มแพทย์และนักวิชาการของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ แพทย์และนักวิชาการคณะนี้ได้ทำงานสนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมินามาตะหรือโรคจากพิษของสารปรอทที่มีต้นเหตุจากน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องมานานหลายทศวรรษ ต่อมาเดือนสิงหาคมของปีเดียวกันได้เปิดสาขาคือ ศูนย์ศึกษาโรคมินามาตะขึ้นที่เมืองมินามาตะ จังหวัดคุมาโมโต ศูนย์ทั้งสองแห่งมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ เพื่อเชื่อมความรู้และความช่วยเหลือจากสถาบันวิชาการสู่ผู้ป่วยโรคมินามาตะและชุมชนอื่นๆ ที่ประสบปัญหาคล้ายคลึงกันทั้งในประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศ เพื่อร่วมป้องกันไม่ให้มนุษยชาติประสบกับหายนภัยทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาของมนุษย์ด้วยกัน เช่นที่เคยเกิดมาแล้วกับชาวเมืองมินามาตะและอีกหลายพื้นที่ในญี่ปุ่น และเพื่อสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนและเป็นธรรมในการอยู่ร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชน
การร่วมมือภายใต้โครงการนี้ ภาคประชาสังคมของไทยได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือทางวิชาการจากกลุ่มนักวิชาการของศูนย์ฯ แห่งนี้ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ สังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2553 และจะร่วมกันดำเนินกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการแก่ชุมชนในพื้นที่มาบตาพุดต่อไป
ในโอกาสที่ดีนี้ศูนย์วิจัยเปิดเพื่อการศึกษาโรคมินามาตะ เครือข่ายประชาสังคมไทย ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาควิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงได้ร่วมกันจัดงานสัมมนาเรื่อง “การควบคุมผลกระทบจากอุตสาหกรรมด้วยความเข้มแข็งทางวิชาการของชุมชน” ขึ้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยการสนับสนุนและเอื้อเฟื้อสถานที่ประชุมจากศูนย์อาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม จังหวัดระยอง
วัตถุประสงค์
การสัมมนาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอแนวความคิด การทำงาน และความร่วมมือทางวิชาการของเครือข่ายทั้งสองประเทศแก่ชุมชน ผู้เกี่ยวข้อง และผู้สนใจจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล-ข้อคิดเห็นกับผู้ร่วมงานสัมมนาครั้งนี้ทุกท่าน ตลอดจนการสานความร่วมมือกับภาควิชาการของไทยในการเสริมสร้างความเข็มแข็งทางวิชาการแก่ชุมชนต่อไป
องค์กรผู้ร่วมจัด
1. ศูนย์วิจัยเปิดเพื่อการศึกษาโรคมินามาตะ มหาวิทยาลัยคุมาโมโต ประเทศญี่ปุ่น
2. เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
3. โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
4. มูลนิธิบูรณะนิเวศ (มบน.)
5. ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6. ภาควิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้ร่วมสัมมนา จำนวนผู้ร่วมสัมมนาประมาณ 100 คน
1. ผู้แทนชุมชนในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง
2. ผู้แทนเครือข่ายชุมชนในพื้นที่อื่นๆ เช่น ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด สระบุรี สระแก้ว
และอื่นๆ
3. ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนและกลุ่มประชาสังคมต่างๆ
4. ผู้แทนจากสถาบันวิชาการสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ
5. ผู้แทนหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
6. ผู้แทนจากภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการ
7. สื่อมวลชน และประชาชนผู้สนใจ
งบประมาณดำเนินการรวม 200,000 บาท
วัน เวลา สถานที่: วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม 2554 เวลา 08.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 3 ศูนย์อาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม จังหวัดระยอง
ติดต่อประสานงาน: คุณวลัยพร มุขสุวรรณ และคุณจุฑามาศ ทรัพย์ประดิษฐ์
มูลนิธิบูรณะนิเวศ (มบน.)
โทรศัพท์: 085 110 9350, 02-952 5061
โทรสาร: 02-952 5062
Email: mooksuwan@gmail.com; sjutamas24@gmail.com
นกตายหมู่ นับหมื่น ในอิตาลี - นักวิทย์ชี้ เรื่องปกติ แม้มนุษย์ ยังหาสาเหตุไม่ได้ ทั้งที่เกิดซ้ำๆ หลายๆที่ ในห้วงเวลาเดียวกัน
ผลตรวจสอบเบื้องต้นของเหตุนกเขากว่า 8,000 ตัวร่วงจากฟ้าในแถบฟาเอนซา เมืองราเวนนา ในแคว้นเอมีเลีย โรมานญา ทางเหนือของอิตาลี บ่งชี้ว่าน่าจะมีต้นตอมาจากพวกมันถูกยาพิษหรือไม่ก็เกิดภาวะพร่องออกซิเจน อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญบอกว่าคงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์กว่าผลตรวจสอบขั้นสุดท้ายจะออกมา
จอห์น ไวน์ส หัวหน้าทีมวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิจัยพีอาร์บีโอในแคลิฟอร์เนีย ระบุจากบันทึกของทางสมาพันธ์พบว่าสิ่งเหล่านี้ปกติแล้วก็เกิดขึ้นในทวีปอเมริกาเหนือเฉลี่ยแล้วเกือบทุกๆสองวัน พร้อมระบุว่าไม่ควรนำเหตุการณ์ต่างๆมาเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
ด้านลีแอนน์ ไวท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดในสัตว์ป่าบอกว่า ศูนย์สุขภาพสัตว์ป่าแห่งชาติของสถาบันธรณีวิทยาสหรัฐฯ(ยูเอสจีเอส) ในวิสคอนซิน ได้ติดตามการตายหมู่ของฝูงนก ปลาและสัตว์อื่นๆ มาตั้งแต่ช่วงปี 1970 แล้ว ซึ่งบางครั้งมันก็เกิดจากเชื้อโรคหรือมลพิษ และมีไม่กี่ครั้งที่ยังคงเป็นปริศนา
ไวท์ บอกต่อว่าในรอบ 8 เดือนที่ป่านมา ทางยูเอสจีเอส พบการตายหมู่ของสัตว์ป่าในอเมริกาเหนือ 95 ครั้ง ในจำนวนนั้นรวมไปถึงแร้ง 900 ตัวในตุรกีที่ดูเหมือนว่าจมน้ำและอดตาย เป็ด 4,300 ตัวตายเพราะปรสิตในมินเนโซตา ซาลาแมนเดอร์ 1,500 ตัวในไออาโฮ โดนไวรัสเล่นงาน ค้างคาว 2,000 ตัวติดเชื้อโรคกลัวน้ำตายในเทกซัส ขณะเดียวกันเจ้าหน้าเองก็อยู่ระหว่างไขปริศนานกทะเล 2,750 ตัวตายในแคลิฟอร์เนีย
จากบันทึกของยูเอสจีเอสระบุว่าโดยเฉลี่ยแล้วทางรัฐบาลกลางได้รับแจ้งเหตุการณ์ลักษณะนี้ถึง 163 กรณีในแต่ละปี และเคยพบนกแบล็คเบิร์ดตายมากกว่าในอาร์คันซอหลายเท่าในช่วงฤดูร้อนปี 1996 ขณะเดียวกันยังเคยเจอเป็ดตาย 100,000 ตัวด้วยโรคอาหารเป็นพิษในแคนาดาด้วย
ผู้เชี่ยวชาญด้านวิหควิทยาบอกว่าสภาพอากาศเย็นและชื้นอย่างเช่นในวันที่เกิดเหตุนกตกลงมาในอาร์คันซอ ช่วงปีใหม่ บ่อยครั้งมีความสัมพันธ์กับเหตุตายหมู่ของนกจำนวนมาก นอกจากนี้ปัญหามลพิษ ปรสิตและโรคติดต่อก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผล หรือแม้แต่พลุไฟก็อาจทำให้นกตายได้เช่นกัน
ต่อข้อสงสัยที่ว่าทำไมมันถึงปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งในช่วงนี้ อี.โอ.วิลสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาบอกกับด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือและการโทรคมนาคมที่สามารถติดต่อสื่อสารได้ทั่วโลก ทำให้ผู้คนได้รับรู้เหตุการณ์ต่างๆได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อน
นก ร่วงจากฟ้าตกลงมาตาย ปลาลอยตายฟ่อง ... ในอาคันซอ อเมริกา
คีธ สเตีเฟนส์ เจ้าหน้าที่ของคณะกรรมาธิการสัตว์ป่าอาร์คันซอชี้แจงว่า “เราได้รับแจ้งจากเจ้าของเรือโยงเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าพบปลาตายลอยอยู่ตามฝั่งและทางน้ำไหลของแม่น้ำอาร์คันซอ เจ้าจึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ไปตรวจสอบในทันที”
ทีมสืบสวนจากหน่วยงานท้องถิ่นและมลรัฐเข้าเก็บตัวอย่างในพื้นที่ โดยสตีเฟนส์บอกว่า การพบปลาตายบริเวณดังกล่าวเป็นเรื่องซึ่งเกิดขึ้นในทุกปี แต่ทว่าปีนี้นับว่ามีจำนวนมากผิดปกติและคาดว่าสาเหตุน่าจะมาจากโรคระบาดสืบเนื่องจากภาวะมลพิษ
สตีเฟ่นส์กล่าวว่า ปัญหามลพิษอาจส่งผลกระทบต่อปลาเหล่านั้น และ “90 เปอร์เซ็นต์ของปลาตายเป็นพวกกินอาหารตามพื้นก้นแหล่งน้ำ ดังนั้นสาเหตุจึงไม่น่าจะใช่การตกปลาในอาร์คันซอ” พร้อมระบุว่าเจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างปลาที่ยังมีชีวิตและป่วยหนักไปด้วย เพื่อนำไปตรวจสอบ ณ ห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยอาร์คันซอ
เจ้าหน้าที่คาดหมายว่าจะสามารถระบุถึงจำนวนปลาตายได้อย่างแน่ชัดในวันจันทร์ (3) ขณะเดียวกันพวกเขาบอกว่าจะพยายามเปิดเผยผลการตรวจสอบสาเหตุการตายของมันให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
นอกจากเหตุปลาตายแล้ว ทางคณะกรรมาธิการสัตว์ป่าอาร์คันซอ ยังอยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบหาสาเหตุนกแบล็กเบิร์ดกว่า 1,000 ตัว จู่ๆ ก็ร่วงมาจากท้องฟ้าเหนือเมืองแห่งหนึ่งในวันที่ 31 ธันวาคม โดยสาเหตุที่อาจเป็นไปได้สาเหตุหนึ่งซึ่งถูกหยิบยกขึ้นมาสันนิษฐานกันคือ อาจตายเพราะพลุไฟที่คนจุดฉลองปีใหม่
ทั้งนี้ ล่าสุดสำนักข่าวเอเอฟพีอ้างรายงานของสำนักข่าวเคเออาร์เค ระบุว่า เหตุปลาตายนับแสนตัวในแม่น้ำอาร์คันซอ ถูกพบก่อนหน้ากรณีนกตายอย่างลึกลับเพียง 1 วัน และอยู่ห่างจากเมืองบีเบ จุดที่นกแบล็กเบิร์ดนอนตายกลาดเกลื่อนเพียง 100 ไมล์เท่านั้น ขณะที่เจ้าหน้าที่เชื่อว่าพวกมันน่าจะตายเพราะเชื้อโรค เหตุมีเพียงปลาสายพันธุ์เดียวคือ ปลาดรัมฟิช (drum fish) เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Fire Explosion in Thai Oil Safety Lesson Learned: Fire Explosion in Thai Oil Location of Incident: Thailand ไฟไหม้ถังเก็บน้ำมันไทยออยส์ ปี 1...
-
องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ได้กำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลกโดยมีวัตถุประสงค์ในการรณรงค์และรักษาสิ่งแวดล้อ...
-
ความมักง่ายบกพร่องอย่างกว้างขวางและทำเป็นระบบ เลิกใส่ใจถามไปเลย เรื่อง CSR กับภาคอุตสาหกรรมมักง่าย แค่เพียงสำนึกง่ายๆ โรงงานเสี่ยงมากมาย ที่...