วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

ดินทรุด ดอยแม่สลอง - เรื่องดินที่เข้าใจยาก


เชียงราย -
ถนนผ่านหมู่บ้านบนดอยแม่สลอง แหล่งท่องเที่ยวดังของเชียงราย เกิดรอยร้าว-ทรุดตัว เป็นแนวยาวกว่า 300 เมตร ลึกตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป บ้านเรือนชาวบ้าน 8 หลัง โรงแรม 1 แห่งเสี่ยงพัง ล่าสุดต้องนำป้าย “อันตรายห้ามเข้า”ติดทั่วพื้นที่ ก่อนประสานผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบอีกครั้ง


รายงานข่าวจาก จ.เชียงราย แจ้งว่า หลังเกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของ จ.เชียงราย ได้ส่งผลให้เกิดดินทรุดตัวในพื้นที่ดอยแม่สลอง เขตหมู่บ้านสันติคีรี หมู่ 1 ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของเชียงรายอีกแห่งหนึ่ง ที่เป็นพื้นที่เป้าหมายที่กลุ่มบริษัทสระบุรีถ่านหิน จำกัด ในเครืออิตัลไทย พยายามผลักดันให้รัฐบาลอนุมัติให้ลำเลียงถ่านหินลิกไนต์จากเหมืองเมืองก๊ก ประเทศพม่า ผ่านเข้ามาชายแดนด้านนี้ เพื่อขนส่งต่อไปที่สระบุรี

โดยการทรุดตัวของดินมีลักษณะเป็นทางยาวขนานไปกับถนนภายในหมู่บ้านเป็นระยะทางประมาณ 300 เมตร ส่งผลทำให้ชาวบ้านที่อยู่บริเวณดังกล่าวต่างตื่นตกใจ และออกมาดูรอยแตกร้าวของพื้นผิวถนนกันอย่างระมัดระวัง

ซึ่งผลจากการทรุดตัวของดินดังกล่าวได้ทำให้สิ่งปลูกสร้างที่อยู่บริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหายหรือเสียการทรงตัวไป ขณะที่บ้านบางหลัง ก็เกิดการทรุดตัวลง หลังคาเอียงและกระจกแตกร้าว

ล่าสุดนายวุฒิพงษ์ สวรรค์โชติ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แม่สลองนอก ได้ให้เจ้าหน้าที่ไปดูความเสียหายแล้ว ซึ่งพบว่า บ้านเรือนของประชาชนที่อยู่ใกล้กับจุดดินทรุดมากที่สุดจำนวน 8 หลัง จึงได้ให้ชาวบ้านขนข้าวของออกจากบ้านไปอาศัยอยู่กับญาติชั่วคราว เพราะอาจจะเกิดการทรุดตัว จนทำให้บ้านทรุดและก่อให้เกิดอันตรายได้ นอกจากนี้ยังมีโรงแรม 1 แห่งที่อยู่ในจุดเสี่ยง

จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ตรวจดูสภาพของดินทรุดอย่างละเอียดพบว่ามีความลึกของร่องลึกตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป และมีความกว้าง 10-20 ซ.ม.แล้วแต่ภูมิประเทศ เนื่องจากบนดอยแม่สลองตั้งอยู่บนสันเขาที่มีถนนและบ้านเรือนเรียงรายไปตลอดแนว

ขณะเดียวกันได้ประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรมทรัพยากรธรณี เนื่องจากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ชาวบ้านเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อไปอีก และช่วงนี้ได้มีการนำป้าย "อันตรายห้ามเข้า" ไปติดยังจุดที่มีการทรุดตัวและแตกของดินหลายจุดเพื่อเตือนไม่ให้ประชาชนและรถที่สัญจรผ่านไปมาได้เข้าใกล้เพราะเกรงจะทรุดตัวลงไปอีก จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ที่จะเดินทางขึ้นไปตรวจสอบต่อไป

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

โรงงานมาบตาพุด ไม่ต่างกับ ป้ายโฆษณา ขนาดใหญ่ อนุมัติถูก กม. แต่เสี่ยงทรุดพัง ไม่แข็งแรง




แม้อ้างว่าได้รับการอนุมัติก่อสร้างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก่อสร้างไม่แข็งแรง-ไม่ตรงกับการออกแบบ ทั้งที่ทุกหน่วยงานภาครัฐรับรู้ แต่คงจะดันทุรังไม่ใส่ใจ โดยมีชีวิตของผู้คนประชาชนจำนวนมากเป็นเดิมพัน
ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 ในพื้นที่มาบตาพุด ซึ่งโครงสร้างพิเศษสำคัญในโครงการต่างๆ ของ ปตท. จำนวนมาก พบว่าละเลยเรื่องความแข็งแรงมั่นคงในส่วนงานฐานราก ทั้งที่ก่อสร้างบนพื้นที่ปรับถมดินใหม่ และหลายโครงการอยู่บริเวณหมู่บ้านหนองแฟบ ชื่อตามลักษณะภูมิศาสตร์ว่าเป็นหนองน้ำ แต่ในการก่อสร้างกลับไม่ตอกเสาเข็มอ้างว่า ถมดินบดอัดดีแล้ว เป็นการสมยอมของภาครัฐ ที่เอื้อต่อภาคอุตสาหกรรม ที่เร่งรัดเร่งรีบ เพื่อแสวงหาผลกำไรทางธุรกิจ และเพื่อประโยชน์ในส่วนของตน จนมีการเลียนแบบ ไปยังโครงการอื่นๆ มากมาย และในเวลาไม่กี่ปี จะมี หลายร้อย หลายพัน โรงงาน ทำแบบเดียวกันกับ ปตท. สร้างโรงงาน โดยปราศจากความแข็งแรงมั่นคง ถมที่เสร็จขุดหล่อฐานรากโดยไม่ต้องตอกเสาเข็ม โดยอ้างว่า ดินถมแข็งแรงมาก อ้างมีการทดสอบดินแล้ว เพราะทำให้โครงการเสร็จเร็วขึ้น 6-8 เดือน จึงเป็นที่มาว่า ทำไมทางกลุ่มฯ จึงขอให้ การนิคมอุตสาหกรรมฯ และ ปตท. จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบติดตามฯ ขึ้นมา

ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่
ถึงออกแบบก่อสร้างถูกต้องตามกฎหมายก็อาจล้มคว่ำได้!

จาก http://www.thaiengineering.com/column/lesson_disaster/banner_fail/BILLBOARDS.asp

เมื่อประมาณ 2 เดือนก่อน ได้เกิดเหตุป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ สูง 47 เมตรที่บางนาหักโค่นลงมาทับอาคารบ้านเรือนในขณะที่เกิดพายุฝน จนเป็นเหตุให้เด็กหญิงวัย 7 ขวบคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บสาหัสจนเสียชีวิตในเวลาต่อมา พ่อของเด็กหญิงผู้เคราะห์ร้ายได้กล่าวทั้งน้ำตากับผู้สื่อข่าวว่า ไม่เคยนึกว่าป้ายโฆษณานี้จะพังลงมา อยากให้กรณีนี้เป็นบทเรียนครั้งสุดท้ายที่จะกระตุ้นให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามาตรวจสอบ ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากอย่างเอาจริงเอาจังเสียที เพราะมันเป็นอันตรายมาก จะได้ไม่ต้องมีใครมานั่งเสียใจแบบครอบครัวของตน

จากการสอบสวนภายหลังเกิดเหตุ ทำให้ทราบว่า ป้ายโฆษณานี้สร้างผิดไปจากแบบก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตจาก กทม. เจ้าพนักงานสอบสวนจึงตั้งข้อหากับสถาปนิกและวิศวกรผู้ออกแบบและ วิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างว่าไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่พึงกระทำ และกระทำการโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต ต่อมา กทม. ได้จัดตั้งทีมงานพิเศษ 3 ชุดออกตรวจสอบป้ายโฆษณาทั่วทั้งกรุงเทพฯ เพื่อดูว่าป้ายใดบ้างที่สร้างผิดจากแบบที่ได้รับ อนุญาตหรือสร้างโดยไม่ได้ขออนุญาต รวมทั้งทำการตรวจสภาพโครงสร้างป้ายในเบื้องต้นเพื่อดูความมั่นคงแข็งแรง ภายหลังจากที่ได้ตรวจสอบป้ายโฆษณาจำนวน 1,059 ป้าย ภายในเวลาประมาณ 1 เดือน กทม.ก็รายงานว่ามีจำนวนถึง 327 ป้ายที่เข้าข่าย "ไม่ปลอดภัย" โดยที่ป้ายเหล่านี้เกือบทั้งหมดก่อสร้างโดยไม่ขออนุญาตหรือก่อสร้างผิดแบบ และมีป้ายบางส่วนที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือมีสภาพทรุดโทรมเพราะขาดการบำรุงรักษา กทม. จึงได้แจ้งให้เจ้าของป้ายดำเนินการแก้ไขปรับปรุงป้ายให้ถูกต้องโดยเร็ว มิฉะนั้นจะออกคำสั่งให้รื้อถอนป้ายเหล่านั้น

ดูเหมือนว่า ภายหลังจากเหตุการณ์ที่บางนา ปัญหาความเสี่ยงของป้ายโฆษณาขนาดใหญ่จะได้รับการแก้ไขไปในทางที่ดีขึ้น เพราะเจ้าหน้าที่บ้านเมืองให้ความสำคัญกับปัญหานี้และมีการดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง อย่างไรก็ดี มีประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งที่ถูกมองข้ามไป นั่นคือ ทุกคนดูเหมือนจะเชื่อว่า ป้ายโฆษณาเหล่านี้ถ้าได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด ไว้ในกฎหมายและก่อสร้างอย่างถูกต้องตามแบบแล้ว ป้ายจะมั่นคงแข็งแรง จะไม่พังทลายล้มคว่ำลงมาเหมือนเหตุการณ์ที่บางนา ดังนั้นป้ายโฆษณาที่ล้มคว่ำพังทลายเสียหายเมื่อเกิดพายุฝนหรือลมแรงจะ ต้องมีการออกแบบก่อสร้างที่ต่ำกว่ามาตรฐานอย่างแน่นอน!

ความเชื่อดังกล่าวนี้ถูกต้องหรือไม่? มาตรฐานการออกแบบป้ายโฆษณาของเราดีอยู่แล้วจริงหรือ? คำถามนี้เป็นคำถามที่สำคัญ เพราะถ้ามาตรฐานของเรายังไม่ดีเพียงพอ ป้ายโฆษณาที่ออกแบบก่อสร้างอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็อาจล้มคว่ำได้ และการที่ กทม. พยายามเร่งรัดเจ้าของป้ายที่ผิดกฎหมายให้ปรับปรุงป้ายให้เป็นไปตามมาตรฐาน ที่กฎหมายกำหนดก็อาจไม่เพียงพอที่จะทำให้ป้ายเหล่านั้นปลอดภัย

เพื่อตอบคำถามนี้ ในขั้นแรก เราจำเป็นต้องเข้าใจวิธีการออกแบบโครงสร้างป้ายโดยสังเขปเสียก่อน ป้ายโฆษณาทั่วไปมักมีลักษณะเป็นเสาเหล็กตั้งขึ้นมาจากพื้นดินหรือจากชั้นดาดฟ้าของอาคาร มีแผ่นป้ายขนาดใหญ่ติดตั้งอยู่บนเสาซึ่งเป็นส่วนที่มีพื้นที่กว้างสามารถรับแรงปะทะของลมได้มาก ดังนั้น "แรงลม" จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการออกแบบโครงสร้างป้าย วิศวกรผู้ออกแบบจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างป้ายให้สามารถต้านทานแรงลม ที่สูงที่สุดที่จะเกิดขึ้นกับป้ายได้อย่างปลอดภัย เพื่อการนี้ กฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) ออกตามความใน พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 รวมทั้งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ได้อนุญาตให้วิศวกรใช้หน่วยแรงลมดังต่อไปนี้ในการคำนวณหา "แรงลมสูงสุด":

พื้นที่รับแรงปะทะลมที่สูงจากพื้นดินไม่เกิน 10 เมตร มีหน่วยแรงลม 50 กก./ตร.ม
พื้นที่รับแรงปะทะลมที่สูงกว่า 10 เมตร แต่ไม่เกิน 20 เมตร มีหน่วยแรงลม 80 กก./ตร.ม
พื้นที่รับแรงปะทะลมที่สูงกว่า 20 เมตร แต่ไม่เกิน 40 เมตร มีหน่วยแรงลม 120 กก./ตร.ม
พื้นที่รับแรงปะทะลมที่สูงกว่า 40 เมตร มีหน่วยแรงลม 160 กก./ตร.ม

หน่วยแรงลมเหล่านี้ คือค่าแรงลมสูงสุดต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตรของแผ่นป้าย

ในสภาพความเป็นจริง แรงลมสูงสุดที่เกิดกับป้ายอาจมีค่าแตกต่างจากค่าที่กฎหมายกำหนด ถ้ามีค่าน้อยกว่า ป้ายก็ควรจะตั้งอยู่ได้อย่างปลอดภัย หรือแม้แต่ในกรณีที่มีค่ามากกว่าที่กฎหมายกำหนดเล็กน้อย ป้ายก็ควรจะสามารถทนได้ เพราะมาตรฐานทางวิศวกรรมได้กำหนดให้มีการออกแบบเผื่อไว้สำหรับความไม่แน่นอน ของแรงและความไม่แน่นอนกำลังของวัสดุโครงสร้างในระดับหนึ่ง แต่ถ้าแรงลมสูงสุดมีค่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไปมาก โครงสร้างป้ายก็อาจทนไม่ไหวจนทำให้เกิดความเสียหาย

ดังนั้น คำถามจึงอยู่ที่ว่า แรงลมสูงสุดที่จะเกิดกับป้ายในสภาพจริงมีค่าเท่าไหร่? เราสามารถคำนวณค่าแรงลมสูงสุดนี้ได้ด้วยหลักวิชา Aerodynamics ถ้าเราทราบค่า "ความเร็วลมสูงสุด" ณ บริเวณที่ตั้งป้าย ในกรณีของประเทศไทย กรมอุตุนิยมวิทยาได้ติดตั้งสถานีตรวจอากาศเป็นจำนวนมากกระจายอยู่ในหลายจังหวัดทั่วทั้งประเทศ สถานีเหล่านี้มีอุปกรณ์วัดความเร็วลมติดตั้งอยู่เหนือพื้นดินประมาณ 10 เมตรขึ้นไป จึงทำให้เรามีการจดบันทึกค่า "ความเร็วลมสูงสุด" ที่เกิดขึ้นในจังหวัดต่างๆ อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานานถึงประมาณ 40-50 ปีแล้ว ตัวอย่างค่าความเร็วลมสูงสุด และค่าหน่วยแรงลมสูงสุดที่คำนวณได้ แสดงไว้ในตารางดังต่อไปนี

สถานีตรวจอากาศ
ความสูง*
(เมตร)
ความเร็วลมสูงสุด
(กม. ต่อชั่วโมง)
หน่วยแรงลมสูงสุด**
(กก. ต่อ ตร.ม.)
กรุงเทพฯ (เอกมัย)
33
148
152
กรุงเทพฯ (ดอนเมือง)
19
157
172
ชลบุรี
14
167
193
สัตหีบ
10
135
127
ปราจีนบุรี
11
130
117
แม่ฮ่องสอน
10
150
156
แพร่
12
126
110
พิษณุโลก
13
124
107
อุดรธานี
13
130
117
มุกดาหาร
11
148
152
อุบลราชธานี
25
148
152
นครสวรรค์
14
130
117
นครศรีธรรมราช
15
148
152
สงขลา
18
141
138


* ความสูงของตำแหน่งอุปกรณ์วัดลมเหนือพื้นดิน
** คำนวณโดยใช้ความหนาแน่นของอากาศเท่ากับ 1.22 กก. ต่อ ลบ.ม. และค่า Aerodynamic Drag Coefficient เท่ากับ 1.45 จากบทความเรื่อง "Wind loads on rectangular signboards and hoardings" เขียนโดย Dr. C.W. Letchford ลงพิมพ์ใน Journal of Wind Engineering and Industrial Aerodynamics ฉบับที่ 89 ค.ศ. 2001

จากตารางจะเห็นได้ว่า หน่วยแรงลมสูงสุดในสภาพจริงมีค่าสูงมากตั้งแต่ 107 จนถึง 193 กก. ต่อ ตร.ม. ในขณะที่ป้ายขนาดใหญ่โดยทั่วไปซึ่งมีความสูงตั้งแต่ 10 เมตร จนถึงประมาณ 40 เมตร ถูกออกแบบให้รับหน่วยแรงลมเพียง 80 หรือ 120 กก. ต่อ ตร.ม. ดังนั้น ถึงแม้ว่าการออกแบบตามมาตรฐานจะมีการเผื่อความไม่แน่นอนของแรงไว้แล้ว ในระดับหนึ่งก็อาจไม่เพียงพอ ที่จะทำให้โครงสร้างป้ายปลอดภัยเมื่อเผชิญกับหน่วยแรงลมสูงสุดในสภาพจริง
นอกจากนี้ หน่วยแรงลมที่เกิดขึ้นในสภาพจริงมักไม่ได้มีค่าที่สม่ำเสมอทั่วทั้งป้าย กล่าวคือ ในกรณีที่ลมมิได้พัดเข้าปะทะป้ายตรงๆ แต่ทำมุมเฉียง หน่วยแรงลมบนพื้นที่ใกล้ขอบด้านหนึ่งของป้ายจะมีค่าสูงกว่าพื้นที่ตอนกลางและพื้นที่ใกล้ขอบอีกด้านหนึ่ง (ค่าหน่วยแรงลมที่แสดงในตารางเป็น ค่าเฉลี่ย ของหน่วยแรงลมที่ไม่สม่ำเสมอนี้) ความไม่สม่ำเสมอของหน่วยแรงลมนี้อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อโครงสร้างป้ายได้ ตัวอย่างเช่น ป้ายที่มีรูปร่างเป็นกระดานสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเสา 2 ต้น ยึดอยู่ที่ขอบ 2 ข้างของกระดานป้าย ถ้าหน่วยแรงลมมีค่าสม่ำเสมอทั่วทั้งกระดานป้าย เสาทั้ง 2 ต้นจะช่วยแบกรับแรงลมในระดับเท่าๆกัน คือ ต้นละประมาณ 50% ของแรงทั้งหมด แต่ในสภาพจริงหน่วยแรงลมที่ไม่สม่ำเสมออาจทำให้เสาต้นหนึ่งต้องแบกรับแรงมากเป็นพิเศษถึงประมาณ 75% ของแรงทั้งหมด ในขณะที่เสาอีกต้นแบกรับเพียง 25% เท่านั้น ดังนั้น ถ้าวิศวกรมิได้ออกแบบโครงสร้างให้เตรียมรับสถานการณ์นี้ เสาต้นที่แบกรับแรงมากเป็นพิเศษก็อาจเสียหายได้


มาตรฐานใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโครงสร้างป้ายโฆษณาในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา หรือ ออสเตรเลีย มีข้อกำหนดชัดเจนที่ทำให้วิศวกรผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงสถานการณ์ที่หน่วยแรงลมมีค่าไม่สม่ำเสมอ แต่มาตรฐานของประเทศไทยเรายังไม่มีข้อกำหนดในลักษณะนี้


ด้วยข้อมูลและเหตุผลที่กล่าวมานี้ คงเพียงพอที่จะชี้ให้เห็นว่า ป้ายโฆษณาที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้อง ตามมาตรฐานและข้อกำหนดในกฏหมายของเรา รวมทั้งได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ก็อาจพังทลายล้มคว่ำลงมาได้ถ้าเกิดมีลมพายุที่รุนแรงในระดับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต ความเสี่ยงจะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นถ้าคุณภาพของการออกแบบก่อสร้างป้ายนั้นต่ำกว่ามาตรฐาน


นอกจากนี้ ข้อมูลที่ได้จากสถานีตรวจอากาศ ดูเหมือนจะชี้ว่า ความเร็วลมสูงสุดที่วัดได้ในหลายจังหวัด ทั่วทั้งประเทศนั้นเกือบทั้งหมดเกิดจากพายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorm) มิได้เกิดจากลมมรสุมตามฤดูกาล หรือ พายุหมุนเขตร้อน (เช่น พายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน หรือพายุไต้ฝุ่น) พายุฝนฟ้าคะนองนี้จัดเป็นพายุขนาดย่อมที่ทำให้เกิดสภาพลมแรงในพื้นที่เพียงไม่กี่ตารางกิโลเมตร ในช่วงเวลาสั้นๆประมาณ 5 ถึง 30 นาที ในเขตกรุงเทพมหานครมีพายุประเภทนี้เกิดขึ้นหลายครั้งในแต่ละปี โดยเฉพาะในช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม และในช่วงเดือน กันยายน-ตุลาคม-พฤศจิกายน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นพายุลูกเล็กที่ไม่ทำให้เกิดลมแรงนัก พายุลูกใหญ่หน่อยที่ทำให้เกิดลมแรงมากๆนั้นเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่เมื่อเกิดขึ้นครั้งใด ก็มักสร้างความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน รวมทั้งป้ายโฆษณาในบริเวณนั้นๆ


ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้ว่าเราจะมีป้ายที่ไม่ปลอดภัยอยู่เป็นจำนวนมาก ป้ายเหล่านั้นก็อาจตั้งอยู่ได้หลายปี ตราบใดที่ยังไม่เกิดพายุฝนฟ้าคะนองที่รุนแรงในบริเวณที่ตั้งป้าย ดังนั้น การที่ป้ายตั้งมานานแล้วโดยยังไม่เกิดความเสียหายใดๆจึงไม่ได้เป็นข้อพิสูจน์ว่าป้ายนั้นมั่นคงแข็งแรง


สิ่งที่เราควรรีบทำในขณะนี้คงมี 2 เรื่องใหญ่ๆ เรื่องแรกคือ เราต้องปรับปรุงมาตรฐานการออกแบบก่อสร้างป้ายโฆษณา ให้ดีขึ้นจนเพียงพอที่จะเป็นหลักประกันความปลอดภัยให้ได้ งานนี้คงต้องระดมสมองจากนักวิชาการ วิศวกรผู้ออกแบบในภาคปฏิบัติและเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยกันทำอย่างเร่งด่วน เรื่องที่ 2 คือ ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ทุกป้ายที่ตั้งอยู่ใกล้อาคารบ้านเรือนไม่ว่าจะก่อสร้างอย่างถูกกฎหมายหรือไม่ ควรจะต้องถูกตรวจสอบอย่างละเอียดตามมาตรฐานใหม่ว่ามีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอหรือไม่ ถ้ายังไม่เพียงพอก็ต้องเสริมความแข็งแรง หรือมิฉะนั้นก็ต้องรื้อถอนออกไป


ถ้าทำได้ดังเช่นที่กล่าวมานี้ ประชาชนเป็นจำนวนมากที่อาศัยอยู่ใกล้ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่คงนอนหลับ ได้อย่างสบายไม่ต้องมาเฝ้าผวาเป็นกังวลทุกครั้งที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง

ผู้เขียน :
ดร. เป็นหนึ่ง วานิชชัย pennung@ait.ac.th
เป็นรองศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมโครงสร้าง ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) และ เป็นประธานคณะอนุกรรมการด้านผลกระทบจากแผ่นดินไหวและแรงลม ของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.)


วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

ระทึก! ทาวน์เฮาส์ทรัพย์ยั่งยืนเมืองปากน้ำทรุด 16 หลัง - ถ้าโรงงานก๊าซ ทรุดพังล่ะ


ทาวน์เฮาส์บ้านแฝด 16 หลัง ในหมู่บ้านทรัพย์ยั่งยืน สมุทรปราการ ซื้ออยู่อาศัยไม่ถึง 5 ปี แตกร้าว ทรุดตัว ทำให้ผู้อาศัยตื่นตระหนกขนย้ายข้าวของหนีกันอลหม่าน ขณะที่หัวหน้าสนง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เผย เหตุทรุดตัว อาจเกิดจากแผ่นดินยุบตัวลง เพราะเดิมพื้นที่ใช้ก่อสร้างหมู่บ้านเป็นบ่อปลา ด้านผู้ว่าฯ สมุทรปราการ ชี้ เจ้าของโครงการต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น


วันนี้(11 ก.ย.) เวลา 07.00 น. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า มีทาวน์เฮาส์แฝด 16 หลังในหมู่บ้านทรัพย์ยั่งยืน ต.บางเมืองใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ทรุดตัวลง จึงรุดไปตรวจสอบ

ที่เกิดเหตุ อยู่ภายในซอย 22 และ24 ของหมู่บ้านดังกล่าว สร้างเป็นทาวน์เฮาวส์แฝด 8 หลัง ลักษณะ หันหลังชนกัน รวม 16 หลัง พบชาวบ้านกำลังขนของออกจากบ้านกันอย่างอลหม่าน เนื่องจากเกรงว่าไม่ปลอดภัย พบบริเวณโดยรอบของทุกบ้าน ได้รับความเสียหายอย่างมาก บางหลังฝาผนังกำแพงบ้านเป็นรอยทะลุโบ๋ พื้นบ้านแต่ละหลังได้ทรุดตัวลงจนเกิดรอยร้าว ยาวตลอดทั้งแถบ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก

จากการสอบถามนายธวัชชัย ฤทธิ์มนตรี เจ้าของบ้านเลขที่ 8/292 ม.6 ทราบว่า เมื่อเวลาประมาณ 21.00 น.ของวันที่ 9 กันยายน 53 ขณะที่ตนกำลังพักผ่อนอยู่ที่บ้าน ก็ได้ยินเสียงเหมือนปูนลั่น ซึ่งขณะนั้นภรรยาของตนกำลังล้างจานอยู่ในครัว ก็ได้เดินสำรวจดู พบว่าบ้านมีรอยร้าวและทรุดตัวเล็กน้อย ก็ยังไม่ได้ตกใจอะไร เพราะถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่พอตื่นมาช่วงเช้าพบว่ารอยร้าวที่มีเพิ่มขึ้นอีกทั้งยังมีเศษปูนร่วงลงเป็นระยะ และพื้นบ้านก็ได้ทรุดลงไปประมาณ 1 ฟุตจนเอียงไปข้างหนึ่ง โดยเฉพาะภายในครัวจะเห็นรอยร้าวได้อย่างชัดเจน ส่วนบริเวณพื้นหน้าบ้านที่ปูด้วยกระเบื้องก็ทรุดลงจนแตกละเอียด ทั้งตนและเพื่อนบ้านจึงได้รีบขนย้ายของออกจากบ้านโดยเร็ว เพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัย ซึ่งบ้านอาจจะทรุดตัวมาอีกก็ได้ โดยบ้านหลังดังกล่าวได้ซื้อมา 3 ปีในราคาประมาณ 1 ล้านบาท ซึ่งก็ยังเหลือเวลาผ่อนอีก 29 ปี หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าตนและเพื่อบ้านจะได้เดินทางเข้าแจ้งความไว้ที่สภ.เมืองสมุทรปราการ

ทางด้านนายประทีป ยั่งยืน นายกเทศมนตรีตำบลบางเมือง เปิดเผยภายหลังเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่ามีชาวบ้านได้รับความเดือนร้อนทั้ง 16 หลังคาเรือน โดยชาวบ้านที่อยู่ในซอย 24 จะเดือนร้อนมากที่สุด โดยเฉพาะบ้านเลขที่ 8/292 ที่พบรอยร้าวเกือบทั้งหลัง ส่วนการช่วยเหลือเบื้องต้นนั้นทางเทศบาลจะนำเต้นท์มากางเพื่ออำนวยความสะดวกให้ชาวบ้านก่อน และจะกันบริเวณดังกล่าวโดยจะนำเชือกมากั้นและติดประกาศไว้ ห้ามมิให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง เข้ามาในพื้นที่ เพราะตัวอาคารของบ้าน อาจเกิดการทรุดตัวลงมามากกว่าเดิม อย่างไรก็ตามจะได้ส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายโยธาเข้ามาตรวจสอบอย่างระเอียดอีกครั้ง พร้อมจะเรียกเจ้าของโครงการเข้ามาตรวจแบบว่าได้ก่อสร้างตรงกับที่อนุญาตไว้หรือไม่

ด้านนายพีรพล ยังขาว หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า สาเหตุของการทรุดตัว ของบ้าน อาจจะเกิดจากแผ่นดินยุบตัวลง เนื่องจากเดิมพื้นที่ที่ใช้สร้างหมู่บ้านนั้นเดิมเป็นบ่อปลา ขณะนี้ได้ประสานไปยังสำนักโยธาธิการและผังเมืองให้เข้ามาตรวจสอบแล้ว ส่วนด้านการช่วยเหลือต่างๆนั้นจะเป็นหน้าที่ของเทศบาลเป็นผู้ดูและประสานไปยังเจ้าของโครงการ

ด้านนายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า ในเบื้องต้นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน จากบ้านทรุดตัว ทางเทศบาลได้เตรียมสถานที่ โดยใช้หอประชุมเป็นที่พักชั่วคราว พร้อมกับเก็บสิ่งของ บางส่วนก็จะตั้งเต้นท์ไว้ให้ที่หน้าบ้าน เพื่อให้ชาวบ้าน นำสิ่งของที่ขนออกมาเก็บไว้ในเต้นท์เป็นการชั่วคราว จากการสอบถามพบว่า ชาวบ้านดังกล่าวยังซื้อไม่ถึง 5 ปี อย่างไรก็ตามเจ้าของโครงการจะต้องแสดงความรับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้

ต่อมาเมื่อเวลา 08.00 น. ชาวบ้านจำนวน10 คน ได้เข้าแจ้งความกับ พ.ต.ท.สมปอง ศรีเพ็ชร สารวัตรเวร สภ.เมืองสมุทรปราการ ว่า ทาวเฮ้าส์หมู่บ้าน ทรัพย์ยั่งยืน ม.6 ต.บางเมืองใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ มีนายไสว เกตุแก้ว เป็นเจ้าของโครงการ โดยบ้านที่พวกตนอาศัยอยู่ได้เกิดทรุดตัวเสียหายนับสิบหลัง โดยมีผู้เข้าแจ้งความประกอบด้วย 1.นางกัญญาภัค โคตรพัฒน์ อายุ 38 ปี อยู่บ้านเลขที่ 8 / 285 2.นายวันชัย สร้อยสังวาล อายุ 48 ปี อยู่บ้านเลขที่ 8 / 289 3. น.ส.บุณยานุช ศรีสิงห์ อายุ 39 ปี อยู่บ้านเลขที่ 8 / 291 4.น.ส.ดาหวัน จันทร์แก้ว อายุ 33 ปี อยู่บ้านเลขที่ 288 5.นางชนาการต์ ฤทธิ์มนตรี อายุ 45 ปี อยู่บ้านเลขที่ 8 /292 6.นางนงลักษณ์ อินทร์ทอง อายุ 40 ปี อยู่บ้านเลขที่ 8 /286 7. นางโกสุม นันทพงศ์สง่า อายุ 40 ปี อยู่บ้านเลขที่ 8 /287 8.นางนนทชา เศรษฐภัทรกุล อายุ 35 ปี อยู่บ้านเลขที่ 8 /290 9. นายชัยวิวัฒน์ ปานมาก อายุ 44 ปี 8 /266 10. น.ส.รุ่งนภา รุ่งรอด อายุ 35 ปี อยู่บ้านเลขที่ 8 /264 ทั้งหมดอยู่หมู่บ้านทรัพย์ยั่งยืน ม.6 ต.บางเมืองใหม่

โดยทั้งหมดได้ให้การตรงกันว่า เมื่อคืนที่ผ่านมาเวลาประมาณ 21.30 - 05.00 น ขณะที่พวกตนอาศัยอยู่ในบ้าน อยู่ๆก็มีเกิดเสียงดังสนั่น ตั้งแต่หลังคา ฝ้าเพดาน ผนังห้อง พื้นห้อง ทรุดตัวแตกร้าวตามจุดต่างๆ ทุกหลังได้รับความเสียหาย ด้วยความตกใจต่างคนต่างวิ่งออกจากบ้าน หนีตายเกรงความไม่ปลอดภัย บางคนก็รีบขนย้ายข้าวของออกมา โดยได้แจ้งความไว้เป็นหลักฐาน เพื่อต้องการให้เจ้าของโครงการแสดงความรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย
วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ท่อก๊าซระเบิด ในแคลิฟอร์เนีย อเมริกา 10 ก.ย. 53 สัญญาณร้ายมาเตือนอีกครั้ง!

A massive fire roars through a mostly residential neighborhood in San Bruno, Calif., Thursday, Sept. 9, 2010. Firefighters from San Bruno and surround

เหตุระเบิดในย่านซานบรูโน นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย เนื่องจากท่อแก๊สธรรมชาติระเบิด ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 1 คน ขณะที่บ้านเรือนประชาชนอย่างน้อย 53 หลังถูกเพลิงไหม้ และบ้านอีก 120 หลังได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากแผลไฟไหม้ราว 20 คน ส่วนใหญ่อาการสาหัส
ซึ่งบริษัทแปซิฟิกแก๊สแอนด์อิเล็กทริค เจ้าของท่อแก๊ส ต้นเหตุหายนะภัยครั้งนี้ แถลงผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ว่า จะรับผิดชอบต่อความเสียหายทั้งหมด หากตรวจสอบและได้ข้อสรุปแล้วว่า เหตุครั้งนี้เป็นความผิดของบริษัท





SAN FRANCISCO (Reuters) – A fiery natural gas explosion ripped through a residential neighborhood in a San Francisco suburb on Thursday, ravaging some 50 homes and killing at least one person, officials said.

As many as 22 people were injured by the blast and flames in San Bruno, a few miles from the San Francisco International Airport, and were taken to local hospitals and burn treatment centers. The local coroner's office reported one fatality.

"We have confirmed 53 structures have been severely damaged, 120 more have fire damage," San Bruno Fire Department Chief Dennis Haag told a news conference.

Most of the burned buildings were homes in the densely populated residential area, officials said.

Television footage showed a massive fireball and flames shooting skywards. Area residents said they first thought the blast's loud boom was the result of an earthquake or an airplane crash.

The gas line belongs to the northern California utility Pacific Gas & Electric Co, the company said in a statement.

"Though a cause has yet to be determined, we know that a PG&E gas transmission line was ruptured. If it is ultimately determined that we were responsible for the cause of the incident, we will take accountability," the statement said.

The explosion of the high-pressure gas line came at rush hour around 6 p.m. local time (0100 GMT on Friday) and flames spread quickly due to high winds.

Television footage showed a massive fireball and flames shooting skywards. Area residents said they first thought the blast's loud boom was the result of an earthquake or an airplane crash.

Water-dropping aircraft assisted 150 to 200 firefighters on the ground, whose work was made more difficult by the intense heat and broken water lines.

"The fire is being contained at this point ... it is around 50 percent contained," Haag said.

About 100 people were spending the night at an evacuation center, he said.

California Lieutenant Governor Abel Maldonado, serving as acting governor while Arnold Schwarzenegger is on a trade mission to Asia, declared a state of emergency to free up state assistance for local government.

(Editing by Mary Milliken and Eric Walsh)

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

7/11 ประเภทกิจกรรม-โครงการ ส่งผลกระทบรุนแรง หมกเม็ด โครงการเสี่ยง

หมายเหตุ : คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่าด้วยการกำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมพ.ศ. 2553

วันที่ 31 ส.ค.53 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภท ขนาดและวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือเอกชน จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2553 และให้ดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม คือ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น (upstream petrochemical industry) และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง (intermediate petrochemical industry) ให้ใช้ตามคำจำกัดความตามนิยามของสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

สารก่อมะเร็งกลุ่ม 1 หมายความว่า บัญชีรายชื่อสารก่อมะเร็งกลุ่ม 1 ตามประกาศของ International Agency for Research on Cancer (IARC) สารก่อมะเร็งกลุ่ม 2 A หมายความว่า บัญชีรายชื่อสารก่อมะเร็งกลุ่ม 2 A ตามประกาศของ International Agency for Research on Cancer (IARC)

พร้อมทั้งกำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการ หรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม


ลำดับ

ประเภทโครงการหรือกิจการ

ขนาด

หลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ

1

การถมทะเล หรือทะเลสาบ นอกแนวเขตชายฝั่งเดิม ยกเว้นการถมทะเลที่เป็นการฟื้นฟูสภาพชายหาด

ตั้งแต่ 300 ไร่ ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

2

การทำเหมืองแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ดังต่อไปนี้

2.1 เหมืองแร่ใต้ดิน เฉพาะที่ออกแบบให้โครงสร้างมีการยุบตัวภายหลังการทำเหมืองโดยไม่มีค้ำยันและไม่มีการใส่คืนวัสดุทดแทน เพื่อป้องกันการยุบตัว

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้น

ขอประทานบัตร

2.2 เหมืองแร่ตะกั่ว เหมืองแร่สังกะสี หรือ เหมืองแร่โลหะอื่นที่ใช้ไซยาไนด์หรือปรอทหรือตะกั่วไนเตรต ในกระบวนการผลิต หรือเหมืองแร่โลหะอื่นที่มีอาร์เซโนไพไรต์ (arsenopyrite) เป็นแร่ประกอบ (associated
mineral)

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้น

ขอประทานบัตร

2.3 เหมืองแร่ถ่านหิน เฉพาะที่มีการลำเลียงแร่ถ่านหินออกนอกพื้นที่โครงการด้วยรถยนต์

ขนาดตั้งแต่ 200,000 ตัน / เดือน หรือ ตั้งแต่ 2,400,000 ตัน /ปี ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้น

ขอประทานบัตร

2.4 เหมืองแร่ในทะเล

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้น

ขอประทานบัตร

3

นิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรม หรือโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรม ดังต่อไปนี้

3.1 นิคมอุตสาหกรรม หรือโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรม

ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีตาม 4 หรืออุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก ตาม 5.1 หรือ 5.2 แล้วแต่กรณี มากกว่า 1 โรงงานขึ้นไป

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

3.2 นิคมอุตสาหกรรม หรือโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรม ที่มีการขยายพื้นที่เพื่อรองรับอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีตาม 4 หรืออุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก ตาม 5.1 หรือ 5.2

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

4

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ดังต่อไปนี้

4.1 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น (upstream petrochemical industry)

ทุกขนาด หรือที่มีการขยายกำลังการผลิตตั้งแต่ร้อยละ 35 ของกำลังการผลิตเดิมขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือใน

ขั้นขอขยายแล้วแต่กรณี

4.2 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง(intermediate petrochemical industry) ดังต่อไปนี้

4.2.1 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง(intermediate petrochemical industry)

ที่ผลิตสารเคมี หรือใช้วัตถุดิบที่เป็นสารเคมี ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 1

ขนาดกำลังการผลิต 100 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือที่มีการขยายขนาดกำลังการผลิตรวมกันแล้วมากกว่า 100 ตัน/วัน ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือใน

ขั้นขอขยาย แล้วแต่กรณี

4.2.2 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง(intermediate petrochemical industry) ที่ผลิตสารเคมี หรือใช้วัตถุดิบที่เป็นสารเคมี ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 2 A

ขนาดกำลังการผลิต
700 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือที่มีการขยายขนาดกำลังการผลิตรวมกันแล้วมากกว่า 700 ตัน/วัน ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือใน

ขั้นขอขยาย แล้วแต่กรณี

5

อุตสาหกรรมถลุงแร่ หรือหลอมโลหะ ดังต่อไปนี้

5.1 อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก

ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ 5,000 ตัน / วัน ขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวน การผลิตรวมกันตั้งแต่ 5,000 ตัน/วัน ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือในขั้นขอขยาย แล้วแต่กรณี

5.2 อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็กที่มีการผลิตถ่าน coke หรือ ที่มีกระบวนการ sintering

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

5.3 อุตสาหกรรมถลุงแร่ ทองแดง ทองคำ หรือ สังกะสี

ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ 1,000 ตัน / วัน ขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน(input) เข้าสู่กระบวนการผลิตรวมกันตั้งแต่ 1,000 ตัน / วัน ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือในขั้นขอขยาย แล้วแต่กรณี

5.4 อุตสาหกรรมถลุงแร่ตะกั่ว

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

5.5 อุตสาหกรรมหลอมโลหะ

(ยกเว้นเหล็ก และอลูมิเนียม)

ขนาดกำลังการผลิต (output) ตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือมีกำลังการผลิตรวมกันตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือในขั้นขอขยาย แล้วแต่กรณี

5.6 อุตสาหกรรมหลอมตะกั่ว

ขนาดกำลังการผลิต (output) ตั้งแต่ 10 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือมีกำลังการผลิต รวมกันตั้งแต่10 ตัน/วัน ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือในขั้นขอขยายแล้วแต่กรณี

6

การผลิต กำจัด หรือปรับแต่งสารกัมมันตรังสี

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตอนุญาตประกอบกิจการ

7

โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวมหรือโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานที่มีการเผาหรือฝังกลบของเสียอันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ยกเว้นการเผาในหม้อเผาซิเมนต์ที่ใช้ของเสียอันตรายเป็นเชื้อเพลิงทดแทน หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงเสริม

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

8

โครงการระบบขนส่งทางอากาศ

ที่มีการก่อสร้าง ขยาย หรือเพิ่มทางวิ่งของอากาศยานตั้งแต่ 3,000 เมตรขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

9

ท่าเทียบเรือ

1) ที่มีความยาวหน้าท่า (berth length) ตั้งแต่ 300 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ท่าเทียบเรือตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป ยกเว้น ท่าเทียบเรือโดยสารหรือ ท่าเทียบเรือเรือสินค้าเพื่อการอุปโภคและบริโภคหรือท่าเทียบเรือสำราญและกีฬา

2) ที่มีการขุดลอกร่องน้ำ ตั้งแต่ 100,000 ตารางเมตรขึ้นไป ยกเว้น ท่าเทียบเรือโดยสารหรือ ท่าเทียบเรือสินค้าเพื่อการอุปโภคและบริโภค หรือ ท่าเทียบเรือสำราญและกีฬา

3) ที่มีการขนถ่ายวัตถุอันตรายหรือกากของเสียอันตรายซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 1 มีปริมาณรวมกันตั้งแต่ 25,000 ตัน/เดือนขึ้นไป หรือมีปริมาณรวมกันทั้งปีตั้งแต่ 250,000 ตัน/ปี ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

10

เขื่อนเก็บกักน้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ

1) ที่มีปริมาตรเก็บกักน้ำตั้งแต่ 100 ล้าน ลูกบาศก์เมตรขึ้นไป หรือ

2) ที่มีพื้นที่เก็บกักน้ำ ตั้งแต่ 15 ตารางกิโลเมตรขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

11

โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ดังต่อไปนี้

11.1 โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง

ขนาดกำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวม ตั้งแต่ 100 เมกกะวัตต์ ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

11.2 โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล

ขนาดกำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวม ตั้งแต่ 150 เมกกะวัตต์ ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

11.3 โรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นระบบพลังความร้อนร่วมชนิด combined cycle หรือ cogeneration

ขนาดกำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวม ตั้งแต่ 3,000 เมกะวัตต์ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

11.4 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

ที่มา : สำนักเลขาธิการ สำนักนายกรัฐมนตรี

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

บทความที่ได้รับความนิยม

Blog Archive
ขับเคลื่อนโดย Blogger.