วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ลืมปิดสวิทซ์ แก้ปัญหาน้ำแล้ง หรือไม่ น้ำจึงท่วม แบบทะลักทะลาย

ปริมาณฝน ปริมาณน้ำในเขื่อน ต่างๆ 17-18 ตุลาคม 53



น้ำท่วมโคราช

30 จังหวัด น้ำท่วม แล้ว กรุงเทพฯ ล่ะ จะรอดหรือไม่
น้ำท่วมโคราช นายกฯ ลงพื้นที่ตรวจเยื่ยมประชาชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา

มาตรการการรับมือ การประเมิน จะผิดพลาดหรือไม่


เตือนภัย'วิกฤติแล้ง'ลากยาวปีหน้า (02/07/2553)

คงจำกันได้ว่าต้นปีนี้เพียงย่างเข้าเดือนกุมภาพันธ์ ประชาชนคนไทยทั้งประเทศต้องเผชิญกับภาวะอากาศร้อนแบบสุดจะทน พอเข้าสู่เดือนมีนาคมไม่ใช่แค่สุดจะทน

แต่ต้องใช้คำศัพท์ที่บ่งบอกให้รู้ว่าร้อนมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า หรือที่หลายคนพูด "ร้อนตับแลบ" ยิ่งเดือนเมษายนยิ่งร้อนหนัก ทั้งที่ปกติแล้วภาวะอากาศร้อนสาหัสสุดในรอบ 1 ปี จะมีเพียงประมาณ 1 เดือน คือ เดือนเมษายนของทุกปี และโดยภาพรวมปีนี้อากาศร้อนกว่าทุกปีที่ผ่านมา ภาวะอากาศร้อนจัดที่เกิดขึ้นในฤดูร้อน ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นควบคู่คือ "ความแห้งแล้ง" ซึ่งปีนี้ได้เกิดขึ้นเกือบทุกภูมิภาคของประเทศ และจำนวนพื้นที่มากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ประชาชนโดยเฉพาะต่างจังหวัดได้รับความเดือดร้อน จากการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย เกษตรกรต้องลงทุนปลูกใหม่กันหลายรอบ แม้กระทั่งต้นยางพารา ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวนมาก ถึงขั้นยืนต้นตาย ต้นทุนการผลิตพืชผลการเกษตรปีนี้จึงมีแนวโน้มสูงกว่าทุกปี

ความเดือดร้อนช่วงฤดูแล้งของปีนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนสำคัญ ๆ ของประเทศ มีปริมาณน้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ดังที่ "ชลิต ดำรงศักดิ์" อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวเมื่อต้นปีว่า ปริมาณน้ำฝนหลังฤดูฝนปี 2552 นี้ น้อยกว่าปีที่ผ่านมา 950 ล้านลูกบาศก์เมตร คือ มีประมาณ 35,000 ล้านลูกบาศก์เมตร จัดสรรไว้ใช้ฤดูแล้ง 20,700 ล้านลูกบาศก์เมตร เก็บไว้ช่วงฤดูฝนหลังฝนทิ้งช่วง 14,000 ล้านลูกบาศก์เมตร หลังเทศกาลสงกรานต์ซึ่งเริ่มเข้าฤดูฝน มีฝนตกลงมาบ้าง แต่ปริมาณน้ำในเขื่อนสำคัญยังต่ำ สร้างความวิตกกังวลให้กับทุกภาคส่วน ถึงขั้นที่ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"นายกรัฐมนตรี สั่งให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ)ทุกสัปดาห์ เพื่อพิจารณาปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะติดตาม"สถานการณ์ภัยแล้ง"อย่างใกล้ชิด

น้ำต้นทุนต่ำ-ฝนน้อย หากพิจารณาดูจากน้ำต้นทุน ณ เดือนมิถุนายน 2553 และการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนฤดูฝนปีนี้ มีความน่าเป็นห่วงสถานการณ์น้ำครึ่งปีหลังของปี 2553 จะไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร และฤดูแล้งปี 2554 จะเกิดภาวะ "แล้ง"รุนแรงยิ่งกว่าปีนี้ แม้ว่าน้ำต้นทุนหลังฤดูฝนปี 2552 จะน้อยกว่าปี 2551 ปริมาณ 950 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่รวมกันยังมีถึง 35,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ปี 2553 ณ วันที่ 22 มิถุนายน ปริมาณน้ำต้นทุนจากเขื่อนใหญ่มีรวมกัน 8,870 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น นั่นหมายความว่าฤดูฝนปีนี้จะต้องมีปริมาณน้ำฝนลงเขื่อนใหญ่มากถึง 26,130 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนหลังฤดูฝนปีนี้จึงจะเท่าปี 2552 แต่ถ้าปริมาณน้ำฝนลงเขื่อนน้อยกว่านี้ และเกิดภาวะอากาศร้อนจัดเหมือนปีนี้หรือร้อนกว่า เป็นที่แน่นอนว่า "วิกฤติแล้ง"ปีหน้าจะหนักหนาสาหัสยิ่งกว่าปีนี้อีก ขณะที่แหล่งข่าวกรมอุตุนิยมวิทยา ยืนยันว่า ฤดูฝนปี 2553 นี้ ปริมาณฝนจะต่ำกว่าค่าปกติ (ค่าปกติคือปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 30 ปีย้อนหลัง ระหว่างปี 2514-2543 ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 1,572 มิลลิเมตรต่อปี)ขณะที่ปี 2552 ที่ผ่านมาปริมาณฝนสูงกว่าค่าเฉลี่ยคือ 1,600 มิลลิเมตร แต่ปี 2553 ปริมาณน้ำฝนจะมีค่าเฉลี่ยเพียง 1,200-1,300 มิลลิเมตรเท่านั้น นั่นหมายความว่าน้ำฝนจะลงเขื่อนมีปริมาณน้อยลง นี่เป็นสัญญาณเตือนที่ว่า ปี 2554 จะแล้งมากกว่าปีนี้ เว้นแต่มีเหตุการณ์ไม่คาดฝันทางธรรมชาติ เกิดฝนตกปริมาณมาก สถานการณ์อาจพลิกผันได้ เช่นเดียวกับที่ยุคล ลิ้มแหลมทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่าคณะอนุกรรมการวางแผนและติดตามป้องกันแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร ได้ประเมินสถานการณ์น้ำในประเทศ คาดว่าเดือนกันยายน-ตุลาคม จะมีฝนตกลงมาทำให้มีน้ำลงเขื่อนประมาณ 7,500 ล้านลูกบาศก์เมตร จำนวนนี้ใช้ทำนาปีปกติ 4,300 ล้านลูกบาศก์เมตร เหลือน้ำสำหรับภาคการเกษตรเพียง 3,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เพราะฉะนั้นฤดูแล้งปีหน้าจะทำการเกษตรได้ไม่เกิน 3 ล้านไร่

แล้ง 53 จ่อพินาศ 6,650 ล้าน: ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ฯได้ประเมินผลกระทบภัยแล้งปี 2553 โดยสุ่มตัวอย่างเกษตรกร 60 จังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดละ 1 ตัวอย่าง และประมวลจากพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ณ เดือนพฤษภาคม 2553 พบว่า ภาคเกษตรกรรม เช่น พืชผล ประมง ปศุสัตว์ จะได้รับผลกระทบทางตรง คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 2,600-3,900 ล้านบาท ผลกระทบทางอ้อมเช่น การให้เกษตรกรลดพื้นที่ทำการเกษตร จะมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 1,200-1,800 ล้านบาท ภาคอุตสาหกรรม เช่น สินค้าแปรรูป 400-600 ล้านบาท ภาคบริการเช่น โรงแรมและธุรกิจต่อเนื่อง มูลค่าความเสียหาย 150-250 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้นประมาณ 4,350-6,550 ล้านบาท หากเปรียบเทียบมูลค่าความเสียหายอันเนื่องจากภัยแล้ง ที่ประเมินโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะเห็นได้ว่าสถานการณ์แล้งปี 2553 สร้างความเสียหายเชิงเศรษฐกิจเกือบจะรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 10 ปี นับจากปี 2540 โดยปีที่เสียหายรุนแรงสุด คือ ปี 2548 ประมาณ 7,566 ล้านบาท

สั่ง 22 จังหวัดงดทำเกษตร: จากสถานการณ์ภัยแล้งที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้าและสร้างความเสียหายเชิงเศรษฐกิจมหาศาล ล่าสุดอธิบดีกรมชลประทาน เผยว่า จากการที่ปริมาณน้ำ 2 เขื่อนใหญ่ คือ เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำรวมกันเพียง 1,700 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น กรมชลประทานจึงได้สั่งการไปยัง 22 จังหวัด ที่อาศัยการใช้น้ำจาก 2 เขื่อนดังกล่าว อาทิ กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย อุทัยธานี ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง นครนายก ฉะเชิงเทรา ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี สิงห์บุรี หยุดทำการเกษตรทุกชนิด โดยเฉพาะการปลูกข้าวนาปรัง ทั้งนี้ จนกว่าจะได้รับแจ้งจากกรมชลประทานให้ดำเนินการได้ โดยดูฝนช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมก่อน สำหรับการรับมือภัยแล้งระยะยาว อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กรมชลประทานมีโครงการจะทำแก้มลิง เพื่อเก็บกักน้ำไว้ทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถือว่ามีความเหมาะสมที่จะทำแก้มลิง และเกษตรกรจะได้ไม่ได้รับความเดือดร้อน หากฝนตกน้อยหรือฝนทิ้งช่วง

ค้านเงินช่วยเหลือ 1,000 บาท: ทั้งนี้ จากการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีแผนจะให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่เลื่อนทำนาปีเป็นเดือนกรกฎาคม โดยได้สรุปตัวเลขจะมีเกษตรกรได้รับความเสียหาย จากการเลื่อนทำนาปี 1.5 ล้านครัวเรือน และจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)ช่วยเหลือเกษตรกร โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้ครัวเรือนละ 1,000 บาท นั้น ต่อเรื่องดังกล่าว "ฐานเศรษฐกิจ"สอบถามเกษตรกรหลายครอบครัว ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว เพราะเงิน 1,000 บาท เป็นเงินเฉพาะกิจไม่สามารถสร้างความยั่งยืนให้กับอาชีพเกษตรและยกฐานะเกษตรกรได้ ทั้งนี้ รัฐบาลควรจะนำเงินจำนวนนี้ ซึ่งคาดว่าจะมากถึง 1,500 ล้านบาท ไปทำโครงการเก็บกักน้ำ จัดหาปัจจัยการผลิต เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรระยะยาวมากกว่า โดยเฉพาะโครงการเก็บกักน้ำนั้น นอกจากเป็นประโยชน์ต่อภาคเกษตรแล้ว เกษตรกรยังสามารถนำน้ำมาใช้เพื่ออุปโภคบริโภคได้ด้วย เพราะเวลานี้หลายพื้นที่ไม่ได้รับความเดือดร้อนเฉพาะน้ำทำการเกษตรเท่านั้น แต่ยังเดือดร้อนไปถึงน้ำดื่มน้ำใช้ด้วย

สถานการณ์ภัยแล้งปี 2553-2554 จึงไม่ใช่เกมสนุกของนักการเมืองแต่อย่างใด เพราะเป็นภัยธรรมชาติที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั้งประเทศ เพราะฉะนั้นรัฐบาลพึงตระหนักให้เป็นปัญหาอันดับต้น ๆ และเตรียมมาตรการรับมืออย่างใกล้ชิด

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 2 กรกฎาคม 2553)

จัดการน้ำแบบบูรณาการ แก้ปัญหาภัยแล้ง-น้ำท่วม

วันอังคาร ที่ 14 กันยายน 2553 เวลา 0:00 น




"น้ำ"คือปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ของภาคเกษตร แต่ทุก ๆ ปี ภาคเกษตรไทยมักจะประสบปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง หรือแม้ กระทั่งปัญหาน้ำท่วม ส่งผลให้หลายฝ่ายวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม ดังนั้น รัฐบาลจึงมีนโยบายปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ซึ่งในสาขาทรัพยากรน้ำและเกษตรนั้น ได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร โดยเร่งรัดจัดหาแหล่งน้ำให้ ทั่วถึงและเพียงพอ…

นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้ตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธาน เพื่อบูรณาการหน่วยงานใน สังกัดระดับจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดแนวทางพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรโดย ตรงเน้นคำนึงถึงศักยภาพของพื้นที่ความต้องการของชุมชนเป็นสำคัญ รวมทั้งใช้ พื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาแหล่งน้ำเป็นศูนย์กลาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต เพิ่มมูลค่าการตลาด และการบริหารจัดการให้เป็นไปอย่างมีเอกภาพ โดยมีคณะอนุกรรมการบูรณาการแผนปฏิบัติการพัฒนาด้านการเกษตรระดับจังหวัด เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ

การดำเนินงานประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่ การคัดเลือกสำรวจข้อมูลพื้นที่เป้าหมายที่เหมาะสม ทั้งเชิงโครงสร้างและรายสินค้า อย่างน้อยจังหวัดละ 1 พื้นที่ โดยมีการสำรวจครัวเรือนเกษตรกร และ จัดเก็บข้อมูลเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย แล้วจัดทำเวทีประชาคมขึ้นเพื่อสร้างกระบวนการ มีส่วนร่วมในชุมชนและสรุปแนวทางการดำเนินงานร่วมกันให้สอดคล้องกับความ ต้องการของชุมชน อันจะเป็นผลดีต่อการนำไปปฏิบัติในพื้นที่ โดยมุ่งเน้นให้มีการสื่อสารการปฏิบัติงานตามแผนงานบูรณาการในทุกระดับ เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้ง มีการติดตามและประเมินผลอย่าง ต่อเนื่องอีกด้วย ทั้งนี้ในปี 2553 กระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการ ในพื้นที่นำร่อง เขต 3 ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก สมุทรปราการ และ เขต 9 ได้แก่ ระยอง ชลบุรี จันทบุรี ตราด เพื่อศึกษาทิศทางและผลการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การพัฒนาโครงการที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่อื่นทั่วประเทศต่อไป

นายปรีชา ธรรมสุนทร ตัวแทนกลุ่มผู้ใช้น้ำ หมู่ 2 ต.ตะพง อ.เมือง จ.ระยอง เล่าว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ ในพื้นที่จังหวัดระยองจะประสบปัญหาเกี่ยวกับน้ำเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะชาวสวน ผลไม้ที่จะประสบปัญหาภัยแล้งใน ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งจะเป็นช่วงที่เก็บเกี่ยวผลผลิตพอดี เมื่อน้ำน้อยทำให้ผลผลิตลดลง และได้รับความเสียหาย เช่น เงาะ ถ้าได้น้ำไม่เพียงพอนอกจากผลจะแคระแกร็นแล้ว ผลเงาะจะแตกไม่สามารถขายได้ โดยที่ผ่านมาเกษตรกรจะอาศัยน้ำจากลำคลองขนาดเล็ก ๆ ที่ไหลจากภูเขาและแหล่งน้ำตามสวน ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการ แต่เมื่อกระทรวงเกษตรฯ ได้นำโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร มาลงในพื้นที่ ก็เชื่อมั่นว่าเกษตรกรในพื้นที่จะมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตรอย่างเพียงพอ สามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตและคุณภาพสินค้าเกษตรให้ดีขึ้น อีกทั้งจะสามารถเพาะปลูกพืชผลได้หลากหลายชนิดมากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดได้อีกทางหนึ่ง

เมื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการบริหารจัดการน้ำอย่างจริงจังแล้ว สิ่งที่เกษตรกร ฝากมายังผู้เกี่ยวข้องอีกอย่างคือ การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลผลิตทางการเกษตรให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้มากขึ้น เพื่อให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้มากขึ้น เป็นการช่วยให้เขามีรายได้ สามารถช่วยเหลือตนเอง และอยู่ในอาชีพนี้ได้อย่างยั่งยืน.

. การคาดการณ์สถานการณ์ภัยแล้งปี 2553
1. ประมวลความเสียหายจากภัยแล้งในปีที่ผ่านมา
สถิติภัยแล้งใน ปี2535-2552 โดยส่วนใหญ่จังหวัดในประเทศไทยที่51-60 จังหวัด ซึ่งภาวะภัยแล้งที่รุนแรง2548 จังหวัดประสบภัยแล้ง มี 71 จังหวัด มูลค่าความเสียหายสูง7.5 พันล้านบาท ในปี 2553 จังหวัดประสบภัยแล้งมี 60 จังหวัด มูลค่าความเสียหาย 672.50 ล้านบาท
2.ประมวลจากสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน
-น้อยกว่าฝนสะสมเฉลี่ย ปริมาณฝนสะสมของประเทศในปี 2552 มี 1,534 .. น้อยกว่าปี 2551 อยู่ 110 ..(ปี 2551 มี 1,644 ..) และ30 ปี อยู่ 47 .. (ฝนสะสมเฉลี่ย 30 ปี มี 1,581..)
-ปริมาณฝนในช่วงต้นฤดูฝนนี้ยังมีปริมาณน้อย และได้เข้าสู่ภาวะปกติของฤดูฝนในกลางเดือน สิงหาคม 2553ขณะนี้มีฝน ตกกระจายทุกพื้นที่แล้ว
-ฝนสะสมปี 2553 (มกราคม ปัจจุบัน) 732.6 มม. น้อยกว่าฝนสะสมเฉลี่ย 30 ปี 77.4 มม. (ฝนสะสมเฉลี่ย 30 ปี 810.0 มม.)ปริมาณน้ำท่า ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้อย
- ฝนสะสมปี 2553 (มกราคม – ปัจจุบัน) 732.6 มม. น้อยกว่าฝนสะสมเฉลี่ย 30 ปี 77.4 มม. (ฝนสะสมเฉลี่ย 30 ปี 810.0 มม.)
- ปริมาณน้ำท่า ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้อย
- ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้น ณ วันที่ 8 ส.ค.53 มีปริมาณน้ำเก็บกัก 32,545 ล้านลูกบาศก์เมตรคิดเป็น 47 % ของความจุเก็บกัก ซึ่งน้อยกว่าปี 2552 อยู่ 16 % (ปี 2552 มี 44,154 ล้านลูกบาศก์เมตร) ขณะนี้อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำเก็บกักต่ำกว่า 50 % มี 29 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนป่าสักชลสิทธ์จ.ลพบุรี (9%) เขื่อนแม่กวง จ.เชียงใหม่ (11%) เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี (21%) เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี(22%) เขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง (23%) เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ (24%) เขื่อนมูลบน จ.นครราชสีมา (25%) เขื่อนขุนด่านฯ จ.นครนายก (27%) เขื่อนแควน้อย จ.พิษณุโลก (27%) เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร (27%) เขื่อนปราณบุรีจ.ประจวบคีรีขันธ์ (27%) เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี (28%) เขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา (29%)เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา (29%) เขื่อนภูมิพล จ.ตาก (30%)เขื่อนแม่งัด จ.เชียงใหม่ (32%)เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น
(32%) เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ (35%) เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง(36%)เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี (38%) เขื่อนวชิราลงกรณ์ จ.กาญจนบุรี(40%) เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ (41%) เขื่อนลำแซะ จ.นครราชสีมา (42%) เขื่อนจุฬาภรณ์จ.ชัยภูมิ (43%) เขื่อนน้ำพุง จ.สกลนคร (43%) เขื่อนบางลาง จ.ยะลา (44%) เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา(45%) เขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี (47%) และเขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี (48%)
- พื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค-จุดจ่ายบาดาล มี 24 จังหวัด ที่ยังขาดแคลนระบบประปาหมู่บ้านเกิน 50%
3. จากข้อมูลฝน น้ำท่าและน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ กรมทรัพยากรน้ำ ได้คาดการณ์สถานการณ์ภัยแล้งปี 2553 ในรอบสัปดาห์ ( 10 - 16 ส.ค. 53) น่าจะคลี่คลายและเข้าสู่ภาวะปกติ
4. กรมทรัพยากรน้ำ ได้จัดเตรียม รถบรรทุกน้ำจำนวน 19 คัน รถผลิตน้ำดื่มจำนวน 6 คัน เครื่องสูบน้ำจำนวน 141 ชุดและรถประปาสนาม จำนวน 12 คัน เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งในปี 2553
5. กรมทรัพยากรน้ำ ได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำปีละไม่น้อยกว่า 700 แห่ง ซึ่งใน
ปี 2552 ได้การดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ จำนวน 705 แห่ง และในปี 2553 ได้จัดเตรียมแผนการเพื่อการดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ จำนวน 1,766 แห่ง และโครงการบริหารจัดการน้ำแบบ IWRM“น้ำถึงไร่นา ประปาถึงทุกบ้าน”
6. คณะอนุกรรมการติดตามและแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้จัดประชุมทุกวันจันทร์เพื่อติดตามสถานการณ์ภัยแล้งของปี 2553การประชุมวันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553 มีผลสรุปของที่ประชุม ดังนี้
6.1 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงฤดูร้อน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยจะสูงกว่าค่าปกติและสูงกว่าปีที่ผ่านมา
ปริมาณฝนบริเวณประเทศไทยจะน้อยกว่าค่าปกติเล็กน้อย ฤดูร้อนปีนี้แห้งแล้งมากพอสมควร ปริมาณฝนที่ตกจะไม่เพียงพอกับความต้องการ หลายพื้นที่ประสบกับการขาดแคลนน้ำ ทั้งทางด้านอุปโภค บริโภคและการ
เกษตรกรรม โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากในบริเวณประเทศไทยตอนบน
6.2 ด้านเตรียมการช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง ปี 2553 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมการในด้านบรรเทาปัญหา
ภัยแล้งในภาวะเร่งด่วน เช่นมาตรการแจกน้ำอุปโภค บริโภค การเตรียมแหล่งน้ำบาดาลเป็นแหล่งน้ำสำรอง
เป็นต้น ประชาสัมพันธ์เพื่อขอให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกตามแผนการจัดสรรน้ำที่ได้กำหนดไว้โดยงดการปลูกข้าวนาปรังครั้งที่2 ซึ่งจะช่วยลดการใช้น้ำได้ และสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงรวม 5 ศูนย์ ครอบคลุมทั้งประเทศไทยและจากการประชุมเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 มีผลสรุปดังนี้
- ในช่วงวันที่ 9 – 10 สิงหาคม 2553 จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออก
และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับช่วงวันที่ 11 – 12 สิงหาคม 2553 ฝนจะตกหนักในพื้นที่ภาคกลาง ตะวันออก และภาคใต้ตอนบน รวมถึงเขตกรุงเทพฯ ซึ่งทางกรุงเทพฯ ได้เฝ้าระวังและเตรียมการระบายน้ำไว้แล้ว
- การประปาส่วนภูมิภาค รายงานปัจจุบันการประปาส่วนภูมิภาคมีน้ำเพียงพอในการเดินระบบผลิต
น้ำประปาได้ทุกสาขาแล้ว
- การบริหารจัดการน้ำ ในช่วงนี้มีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลาง เพิ่มมากขึ้น เริ่มมี
การเก็บกักน้ำ สำหรับเขื่อนวชิราลงกรณ์ยังอยู่ในภาวะน้ำน้อยและต้องเฝ้าระวังการขาดแคลนน้ำเนื่องจากแนวโน้มน้ำเข้าอ่างน้อยลงต้องบริหารจัดการน้ำร่วมกับเขื่อนศรีนครินทร์
- ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาสถานีเตือนภัยน้ำหลากในพื้นที่เชิงเขาของกรมทรัพยากรน้ำมีการเตือนภัย
จำนวน 23 ครั้ง ในพื้นที่ 64 หมู่บ้าน
. มาตรการบรรเทาภัยแล้ง ปี 2553
1. การกำหนดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังให้เหมาะกับปริมาณน้ำในอ่าง โดย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ได้วางแผนกำหนดพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ในปี 2552/2553 ในเขตโครงการชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ ประมาณ 12.28 ล้านไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว 0.90 ล้านไร่ (ปีที่แล้ว 13.18 ล้านไร่)
2. การเตรียมการจัดทำฝนหลวงในพื้นที่ประสบภัยแล้ง โดยสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้เตรียมเครื่องบินสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 31 เครื่อง แบ่งเป็นเครื่องบินของกษ. 19 เครื่อง และเครื่องบินของกองทัพอากาศ 12 เครื่อง
3. การบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ สำรวจปริมาณน้ำเก็บกักในแหล่งน้ำ ณ ช่วงสิ้นฤดูฝน และวางแผนการใช้น้ำให้ตลอดช่วงฤดูแล้ง
4. การก่อสร้างฝายต้นน้ำ โดย กรมทรัพยากรน้ำ กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
5. การเจาะบ่อบาดาลในพื้นที่ประสบภัยแล้ง โดย กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
6. การฟื้นฟูอนุรักษ์แหล่งน้ำธรรมชาติ ซ่อมแซม ปรับปรุงบ่อน้ำตื้น และระบบประปาหมู่บ้าน โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาลและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
7. บรูณาการจากหน่วยงานต่างๆ เตรียมน้ำสะอาดสำหรับแจกจ่ายในพื้นที่ประสบภัยแล้ง และร่วมสนับสนุน
รถยนต์แจกจ่ายน้ำและเครื่องสูบน้ำในพื้นที่ประสบภัยแล้ง โดย การประปาภูมิภาค กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย
กรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และกองบัญชาการกองทัพไทย
8. การประชาสัมพันธ์ให้เลื่อนการปลูกข้าวนาปีเป็นกลาง กรกฎาคม 2553 ตามสภาวะฝนคาดการณ์
9. การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน
- รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักในปัญหาภัยแล้งและการประหยัดน้ำ
- ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบข้อมูลสถานการณ์น้ำในพื้นที่
- ประสานงานด้านข้อมูลปัญหาภัยแล้งจากพื้นที่
- ประชาสัมพันธ์การนำน้ำที่ใช้แล้วมาบำบัดเพื่อกลับมาใช้ประโยชน์
- ประชาสัมพันธ์ให้ปลูกพืชเศรษฐกิจที่ใช้น้ำน้อย
- ร่วมกันกำจัดวัชพืชเพื่อลดการระเหยของน้ำ
- ร่วมกันลดการก่อให้เกิดมลพิษในน้ำ
- อบรมและเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงปลา
- ติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขา
- แจ้งเตือนภัยคุณภาพน้ำ
. สรุปผลการช่วยเหลือภัยแล้ง ปี 2553 ณ ปัจจุบัน
- กรมทรัพยากรน้ำ แจกน้ำดื่มไปแล้วทั้งสิ้น 1,690,000 ลิตร และประชุมชี้แจงคณะกรรมการลุ่มน้ำ
- กรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช แจกน้ำดื่มไปแล้วทั้งสิ้น 236,000 ลิตร
- กรมทรัพยากรน้ำบาดาล แจกน้ำจากจุดจ่ายน้ำถาวร 100 แห่ง จำนวน 90.40 ล้านลิตร เป่าล้างบ่อบาดาล 46 บ่อ แจกน้ำดื่มจำนวน 170,890 ขวด จัดหาแหล่งน้ำบาดาลให้กับโรงเรียนและหมู่บ้านภัยแล้งทั่วประเทศ 1,300 บ่อ
- กรมชลประทาน ได้ส่งน้ำในการปลูกพืชฤดูแล้ง 19.78 ล้านไร่ เป็นจำนวน 22,417 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 108 ของแผนจัดสรรน้ำ และมีการใช้เครื่องสูบน้ำ 238 เครื่อง และรถบรรทุกน้ำ 33 คันใน แจกน้ำอุปโภค บริโภค 21.76 ล้านลิตร ประกาศเลื่อนการทำนาปีไปเป็นเดือนกรกฎาคม 2553
- การประปาส่วนภูมิภาค สนับสนุนน้ำดื่ม 549.23 ล้านลิตร
- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรายงานมีการจัดสรรงบช่วยเหลือจำนวน 672 ล้านบาท แจกจ่ายน้ำ
413.16 ล้านลิตร ซ่อมสร้างทำนบ/ฝายชั่วคราว 5,120 แห่ง และขุดลอกแหล่งน้ำ 5,707 แห่ง
- ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก แจกน้ำอุปโภคบริโภค 21.36 ล้านลิตรใน 25 จังหวัด
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ระบายนํ้าเพื่ออุปโภค 53 ล้านลิตร และมีรถบรรทุกน้ำ 30 คัน
- สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ปฏิบัติการ 163 วัน จำนวน 4,953 เที่ยว ใน 63 จังหวัด
ข้อมูลจาก
ศูนย์เมขลาศูนย์ป้องกันวิกฤติน้ำกรมทรัพยากรน้ำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( 9 ..53 )

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2552 เวลา 09.30 น. นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ออกตรวจพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม และการป้องกันโบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยนายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร และนายอเนก สีหามาตย์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 3 ผู้แทนจากกรมโยธิการและผังเมืองและกรมชลประทาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากน้ำจากภาคเหนือที่สะสมจากพายุ "กิสนา" ทำให้เขื่อนต้องเร่งระบายน้ำออกลงแม่น้ำเจ้าพระยา ส่งผลให้ระดับน้ำสูงขึ้นและเริ่มไหลทะลักเข้าท่วมแล้วในเขตบริเวณเมืองแล้ว

นายธีระ สลักเพชร (รมว.วธ.) กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมยังกระจายไปทั่วประเทศ โดยน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ระบายลงมาจากเขื่อนเจ้าพระยาได้ไหลทะลักสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาออกทางแม่น้ำน้อย และคลองบางหลวงแล้ว ส่งผลให้ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับน้ำสูงขึ้น 50-100 ซม.ทำให้มีปริมาณน้ำสูงขึ้น จึงต้องเตรียมเฝ้าระวังตลอดเวลา ซึ่งคาดว่าอีกประมาณ 2 3 วัน ระดับน้ำจะสูงขึ้นค่อนข้างเร็ว ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ได้เตรียมป้องกันบริเวณวัดไชยวัฒนารามโดยการทำผนังเขื่อนป้องกันน้ำไว้แล้ว สูงถึง 5 เมตร ซึ่งถ้าไม่มีการป้องกันระดับน้ำที่สูงขึ้นก็เข้าท่วมแล้ว ทั้งนี้ สถานการณ์น้ำที่หน้าวัดไชยวัฒนารามยังไม่น่าเป็นห่วง เพราะพนังเขื่อนยังสามารถป้องกันน้ำได้ถึงอีก ในส่วนบริเวณป้อมเพชรก็มีความน่าเป็นห่วง เพราะว่ามีแม่น้ำ 2 สาย ได้แก่ แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรีมารวมกัน จึงทำให้ระดับสูงและมีความเชี่ยว เมื่อเรือแล่นผ่านจะทำให้เกิดคลื่นไปกระทบ กับกำแพงป้อมเพชร ทำให้บางส่วนของป้อมเพชรได้ถูกกระแสน้ำพัดหายไป ดังนั้น กรมศิลปากรจึงได้นำกระสอบทรายมาทำเขื่อนป้องกันไว้แล้ว ในขณะเดียวกันต้องยอมรับว่า มีน้ำท่วมในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาทุกปี ซึ่งเขตดังกล่าวถือว่า เป็นใจกลางเมืองเก่าอยุธยา อาจจะทำเสียภูมิทัศน์ไปบ้างจากเหตุการณ์น้ำท่วม อย่างไรก็ตามกรมศิลปากร เน้นการป้องกันโบราณสถานเป็นหลัก

สภาพน้ำท่วมในปีนี้โดยรวมถือว่าไม่น่าเป็นห่วงและมองถึงในอนาคตหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากรและกรมโยธาธิการและผังเมืองได้มีการเตรียมการไว้เป็นอย่างดี รวมทั้งในอนาคตได้เตรียมการไว้แล้วทุกจุด และบริเวณรอบๆนอกเกาะเมืองและแหล่งโบราณสถานใช้กำแพงวัดเป็นเขื่อนกั้นน้ำเป็นส่วนใหญ่ และใช้ปั๊มสูบน้ำออกไปกรณีที่น้ำเข้าไป ซึ่งในปีนี้ปริมาณน้ำน้อยกว่าปีที่แล้วจึงทำให้ไม่น่าเป็นห่วงรมว.วธ.กล่าว


กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถานการณ์น้ำท่วม 12 วัน มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 29 จังหวัด 186 อำเภอ ราษฎรเดือดร้อน 4.5 แสนครัวเรือน เกือบ 2 ล้านคน พบผู้เสียชีวิตแล้ว 17 ราย สูญหาย 1

นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวถึงสถานการณ์อุทกภัยในระหว่างวันที่ 10-22 ตุลาคม 2553 มีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวม 29 จังหวัด 186 อำเภอ 1,355 ตำบล 8,609 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 456,823 ครัวเรือน 1,280,344 คน ผู้เสียชีวิต 17 ราย สูญหาย 1 ราย ถนนไม่สามารถใช้สัญจรได้รวม 17 เส้นทาง ใน 7 จังหวัด ดังนี้

จ.พิจิตร น้ำในแม่น้ำยมเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำริมฝั่งใน 5 อำเภอ 19 ตำบล 34 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,120 ครัวเรือน 4,000 คน ได้แก่ อำเภอสามง่าม โพธิ์ประทับช้าง บึงนางราง โพทะเล และสากเหล็ก

จ.ชัยนาท น้ำท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ 40 ตำบล 342 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 16,940 ครัวเรือน 44,987 คน ได้แก่ อำเภอเมืองชัยนาท เนินขาม หันคา วัดสิงห์ หนองมะโมง มโนรมย์ และสรรพยา

จ.สุพรรณบุรี น้ำในแม่น้ำท่าจีนไหลเข้าท่วมพื้นที่ 6 อำเภอ 61 ตำบล 304 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 44,300 ครัวเรือน 121,436 คน ได้แก่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี บางปลาม้า สองพี่น้อง สามชุก หนองหญ้าไซ และเดิมบางนางบวช

จ.อ่างทอง น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ 52 ตำบล 215 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,950 ครัวเรือน 4,335 คน ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง ป่าโมก ไชโย วิเศษชัยชาญ โพธิ์ทอง สามโก้ และแสวงหา

จ.พระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำน้อย เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มการเกษตรใน 5 อำเภอ 54 ตำบล 297 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 4,494 ครัวเรือน 13,977 คน ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา บางไทร มหาราช ผักไห่ และบางบาล

จ.ระยอง น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ 6 ตำบล 32 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองระยอง และวังจันทร์

จ.ตราด เกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเกาะช้าง และแหลมงอบ

จ.สระแก้ว น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ 10 ตำบล 1 เทศบาล 32 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 6,346 ครัวเรือน 25,800 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 40,000 ไร่ ได้แก่ อำเภออรัญประเทศ วังน้ำเย็น ตาพระยา และโคกสูง

จ.นครราชสีมา น้ำท่วมในพื้นที่ 31 อำเภอ 376 ตำบล 2,158 หมู่บ้าน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 452,174 ไร่ ได้แก่ อำเภอเมืองนครราชสีมา สูงเนิน ขามทะเลสอ โนนแดง คง เสิงสาง หนองบุญมาก จักราช เทพารักษ์ ด่านขุนทด บ้านเหลื่อม โนนสูงโชคชัย พิมาย โนนไทย ห้วยแถลง ปากช่อง สีคิ้ว ปักธงชัย ขามสะแกแสง เฉลิมพระเกียรติ พระทองคำ บัวใหญ่ ครบุรี บัวลาย เมืองยาง ศรีดา ชุมพวง วังน้ำเขียว ลำทะเมนชัย และแก้งสนามนาง

จ.ปราจีนบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ 4 ตำบล 14 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,870 ครัวเรือน 5,610คนได้แก่ อำเภอนาดี และกบินทร์บุรี ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ

จ.ลพบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 11 อำเภอ 120 ตำบล 1,012 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี โคกสำโรง ชัยบาดาล พัฒนานิคม ลำสนธิ ท่าหลวง หนองม่วง สระโบสถ์ โคกเจริญ บ้านหมี่ และท่าวุ้ง

จ.นครสวรรค์ น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ 25 ตำบล ราษฎรเดือดร้อน 2,226 ครัวเรือน 6,698 คน ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ ตาคลี ลาดยาว หนองบัว ท่าตะโก และไพศาลี

จ.ชัยภูมิ น้ำท่วมในพื้นที่ 16 อำเภอ 113 ตำบล 1,305 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 63,610 ครัวเรือน 185,742 คน ได้แก่ อำเภอเมืองชัยภูมิ เกษตรสมบูรณ์ ภูเขียว บำเหน็จณรงค์ เนินสง่า จัตุรัส บ้านเขว้า แก้งคร้อ หนองบัวแดง หนองบัวระเหว คอนสวรรค์ ซับใหญ่ คอนสาร ภักดีชุมพล เทพสถิติ และบ้านแท่น

จ.สระบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 13 อำเภอ 111 ตำบล 86,1000 ครัวเรือน 185,995 คน เสียชีวิต 1 ราย ได้แก่ อำเภอเมืองสระบุรี บ้านหม้อ พระพุทธบาท มวกเหล็ก แก่งคอย วังม่วง เสาไห้ เฉลิมพระเกียรติ ดอนพุด หนองแซง หนองแค วิหารแดง และหนองโดน

จ.เพชรบูรณ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ 49 ตำบล 271 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ หนองไผ่ ศรีเทพ บึงสามพัน และวิเชียรบุรี

นครนายก น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอบ้านนา 2 ตำบล ราษฎรเดือดร้อน 500 ครัวเรือน 1,500 คน

จ.ศรีสะเกษ น้ำล้นสปริงเวย์เข้าท่วมในพื้นที่อำเภอขุนหาญ ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ

จ.ตาก น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ 39 ตำบล 1 เทศบาลนคร 267 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 30,332 ครัวเรือน 100,006 คน ได้แก่ อำเภออุ้งผาง พบพระ แม่สอด ท่าสองยาง แม่ละมาด และบ้านตาก

จ.สุรินทร์ น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ 33 ตำบล 252 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 25,422 ครัวเรือน 96,594 คน ได้แก่ อำเภอเมืองสุรินทร์ สังขะ บัวเชด ศรีขรภูมิ ศรีณรงค์ ชุมพลบุรี และกาบเชิง

จ.บุรีรัมย์ น้ำท่วมในพื้นที่ 11 อำเภอ 62 ตำบล 485 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 13,275 ครัวเรือน 51,877คน ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ ได้แก่ อำเภอโนนดินแดง สตึก ปะคำ บ้านกรวด ประโคนชัย เฉลิมพระเกียรติ ละหานทราย นางรอง หนองหงส์ ลำปลายมาศ และชำนิ

จ.ขอนแก่น น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ 27 ตำบล 153 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 4,582 ครัวเรือน 16,084 คน ได้แก่อำเภอภูผาม่าน บ้านไผ่ และชุมแพ

จ.นนทบุรี แม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ 54 ตำบล 128 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 15,027 ครัวเรือน 17,940 คน ได้แก่ อำเภอเมืองนนทบุรี ปากเกร็ด บางกรวย บางใหญ่ บางบัวทอง และไทรน้อย

จ.ปทุมธานี น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ 39 ตำบล ราษฎรเดือดร้อน 13,197 ครัวเรือน 26,394 คน ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี สามโคก ลาดหลุมแก้ว ธัญบุรี ลำลูกกา คลองหลวง และหนองเสือ

จ.กำแพงเพชร น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ 33 ตำบล 248 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 31,758 ครัวเรือน 33,763 คน ได้แก่ อำเภอขาณุวรลักษบุรี ปางศิลาทอง ไทรงาม บึงสามัคคี ทรายทองวัฒนา ทรายทอง พรานกระต่าย

จ.นครปฐม แม่น้ำท่าจีนเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่อำเภอบางเลน และปริมาณน้ำแม่น้ำท่าจีนในพื้นที่อำเภอเมืองนครปฐม นครชัยศรี สามพราน กำแพงแสน มีระดับสูงขึ้น

จ.อุทัยธานี น้ำจากแม่น้ำวงก์และคลองโพธิ์ ไหลเข้าสู่แม่น้ำแควตากแดด ส่งผลทำให้น้ำท่วมในพื้นที่ตำบลเนินแจง และตำบลโนนเหล็ก อำเภอเมืองอุทัยธานี พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายประมาณ 300 ไร่ ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่องแล้ว

จ.สิงห์บุรี น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่อำเภออินทร์บุรี 2 ตำบล 1 เทศบาล 18 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,042 ครัวเรือน 2,084 คน

จ.จันทบุรี ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองจันทบุรี แก่งหางแมว เขาคิชฌกูฏ มะขาม สอยดาว และโป่งน้ำร้อน

จ.เชียงใหม่ น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ 25 ตำบล 109 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 5,901 ครัวเรือน 14,867 คน ได้แก่ อำเภอดอยเต่า ชัยปราการ แม่วาง จอมทอง ดอยหล่อ ฮอด สันป่าตอง และสะเมิง

นอกจากนี้ จ.ลำปาง เกิดดินถล่มทับเส้นทางลำปาง-เชียงใหม่ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 28-29 ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร

สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานความร่วมมือกับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ประสบภัยได้จัดส่งเรือท้องแบน 650 ลำ ถุงยังชีพ 88,760 ถุง เต๊นท์ 116 หลัง ไปติดตั้งเพื่อให้ผู้ประสบภัยมีที่พัก อาศัยชั่วคราว รถผลิตน้ำดื่ม 8 คัน น้ำดื่ม 75,209 ขวด เครื่องสูบน้ำ 134 เครื่อง รถกู้ภัยทุกชนิด 463 คัน รถไฟฟ้าส่องสว่าง 4 คัน สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว ตลอดจนจัดเจ้าหน้าที่เร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง


0 ความคิดเห็น:

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

บทความที่ได้รับความนิยม

Blog Archive
ขับเคลื่อนโดย Blogger.