วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แผ่นดินไหวรุนแรงถล่มชิลี ซ้ำบริเวณเดียวกับหายนะเกือบ 1 ปีที่แล้ว

ฉีกตำราการสะสมพลังงานของรอยแยก - นักวิชาไทย วิศวกรไทย ต้องลืมตาตื่น จากตำราเก่า หนังสือเก่า ที่ชอบอ้างว่า รอยแยกจำเป็นต้องสะสมพลังงาน จึงจะเคลื่อนตัวทำให้เกิดแผ่นดินไหว แล้วนำมาคิดผิด แนะนำผิด เช่น การเห็นว่า โรงงานอุตสาหกรรมไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็ม วันนี้ ที่โรงงานในมาบตาพุดไม่ตอกเสาเข็มจำนวนมาก เสี่ยงมาก จากคำแนะนำที่ผิดๆ หรือเป็นความมักง่ายไม่รอบคอบของภาคอุตสาหกรรมเอง ที่เร่งร้อนจะเอาแต่ผลกำไร !!!

เอเอฟพี - เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงบริเวณชายฝั่งทะเลติดมหาสมุทรแปซิฟิกของชิลี สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชน เกือบ 1 ปีหลังจากหายนะร้ายแรง ทั้งแผ่นดินไหว และสึนามิถล่มพื้นที่เดียวกันนี้ ซึ่งมีผู้เสียชีวิต และสร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก

แผ่นดินไหวรุนแรง ซึ่งกรมสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯ หรือยูเอสจีเอส วัดแรงสั่นสะเทือนเบื้องต้นได้ 7.0 ก่อนเปลี่ยนเป็น 6.8 ในภายหลัง เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเมืองกอนเซปซิยงราว 70 กิโลเมตร

แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นในเวลา 20.05 น.ของวันศุกร์ (11) ตามเวลา GMT หรือราว 3.05 น.ตามเวลาของไทย ใกล้กับตอนกลางของชิลี ซึ่งได้รับความเสียหายร้ายแรงจากแผ่นดินไหวระดับ 8.8 และสึนามิ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ปี 2010

ไม่กี่ชั่วหลังจากแผ่นดินไหวดังกล่าวยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกอีกหลายครั้ง และครั้งที่รุนแรงที่สุด 2 ครั้งวัดแรงสั่นสะเทือนได้ระดับ 5.9 และ 6.1 ในพื้นที่เดียวกันด้วย

นอกจากนี้ ยังมีรายงานแผ่นดินไหวครั้งที่ 2 ซึ่งเกิดขึ้นในเวลา 23.39 น. ตามเวลา GMT หรือ 6.39 น. ตามเวลาของไทย มีศูนย์กลางห่างจากเมืองกอนเซปซิยงไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 55 กิโลเมตร โดยยูเอสจีเอสระบุว่ารุนแรงระดับ 6.3 และปรับตัวเลขเป็น 5.9 ในภายหลัง

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต และความเสียหายอื่นๆ ในเบื้องต้น เมื่อประชาชนรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวครั้งแรกได้เป็นบริเวณกว้าง ทำให้ชาวเมืองต้องอพยพออกจากพื้นที่ริมชายฝั่งตามประกาศเตือนภัย

หลังจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งแรก โรดริโก อูบิลลา เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยของชิลีเผยว่า ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต หรืออาคารที่ได้รับความเสียหาย พร้อมกับยกย่องประชาชน ที่รับมือกับเหตุการณ์ครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปีที่ผ่านมาทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 500 คน และสร้างความเสียหายสูงถึง 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งยังนำไปสู่การตรวจสอบการเตือนภัยสึนามิที่ขาดความพร้อม และไม่ทันเวลา

0 ความคิดเห็น:

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

บทความที่ได้รับความนิยม

ขับเคลื่อนโดย Blogger.