วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อินโดฯเรียก ปตท.สผ.1.1 พันล้านดอลล์ทำน้ำมันรั่ว

อินโดฯเรียก ปตท.สผ.1.1 พันล้านดอลล์ทำน้ำมันรั่ว

วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553 - http://www.suthichaiyoon.com/detail/5167


รัฐบาลอินโดนีเซียยื่นข้อเรียกร้องปตท.สผ. ชดเชยความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม 1.1 พันล้านดอลลาร์ เหตุน้ำมันรั่วจากเหตุไฟไหม้แท่นขุดเจาะมอนทารา ปลายปี 2552 ส่งผลคราบน้ำมันแพร่กระจายกินเนื้อที่ 9 หมื่นตารางกิโลเมตร ไหลเข้าน่านน้ำอินโดนีเซีย กระทบชาวประมงกว่า 18,000 คน รวมทั้งฟาร์มสาหร่าย-ฟาร์มหอยมุก

ด้านผู้บริหาร ปตท.สผ.ชี้ผู้เรียกร้องต้องนำหลักฐานมาพิสูจน์ เผยยังไม่ผ่านกระบวนการพิสูจน์ ยันต่างจากน้ำมันรั่วไหลในอ่าวเม็กซิโก เตรียมชี้แจงรัฐบาลและสื่ออินโดฯ โดยแจ้งตลาดหุ้น รับอินโดฯ เรียกค่าเสียหาย ชี้ต้องตั้งคณะทำงานร่วมตรวจสอบผลกระทบจริงหรือไม่

สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานอ้างนายเฟรดดี นัมเบริ รัฐมนตรีคมนาคม อินโดนีเซีย วานนี้ (26 ส.ค.) ว่า ทางการอินโดนีเซีย ยื่นเรื่องเรียกร้องเงินชดเชยค่าเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมมูลค่ามากกว่า 1,100 ล้านดอลลาร์ จากเหตุน้ำมันรั่วจากแท่นขุดเจาะของบริษัทลูก ปตท. นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย

นายนัมเบริ ระบุว่า เงินชดเชยจำนวนดังกล่าว ถือเป็นจำนวนที่มากพอต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ คณะตัวแทนรัฐบาลอินโดนีเซียแจ้งข้อเรียกร้องดังกล่าวระหว่างเข้าเจรจา กับบริษัท ปตท.ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ในเมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย วันเดียวกันนี้

นายนัมเบริ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะตัวแทน ที่จะเข้าร่วมเจรจาที่เมืองเพิร์ธ กล่าวว่า มีข้อมูลอย่างละเอียดมาสนับสนุนการเรียกเงินชดเชยก้อนนี้ ท่ามกลางกระแสคำถามที่ว่าความเสียหายต่อระบบนิเวศน์ทางทะเลและการประมงที่เกิดจากเหตุน้ำมันรั่วเมื่อปีที่แล้ว สามารถพิสูจน์ได้จริงหรือไม่

ปตท.สผ.ชี้หลักฐานยังไม่ชัดเจน

นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. กล่าวว่า บริษัท พีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย หรือ พีทีทีอีพี เอเอ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ ปตท.สผ. ซึ่งได้รับหนังสือเรียกร้องจากรัฐบาลอินโดนีเซียเพื่อขอค่าชดเชยความเสียหายจากเหตุการณ์มอนทาราแล้ว พบว่าหนังสือดังกล่าวไม่มีหลักฐานชัดเจนที่พิสูจน์ให้เห็นถึงความเสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าว

การเรียกร้องค่าชดเชยจากรัฐบาลอินโดนีเซียนั้น "จำนวนเงินชดเชยยังไม่ใช่ประเด็นขณะนี้ เราต้องตั้งคณะทำงานร่วม เพื่อตรวจสอบว่าเกิดผลกระทบจริงหรือไม่ เราพร้อมที่จะให้การสนับสนุนในจุดนั้นๆ" นายอนนต์ กล่าว

ทั้งนี้ การรั่วไหลของน้ำมันดิบในทะเลติมอร์ ซึ่งเรียกกันว่า "เหตุน้ำมันรั่วมอนทารา" ตั้งแต่วันที่ 21 ส.ค.-3 พ.ย. 2552 นับเป็นครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย

หลักฐานที่ส่งไปยังคณะกรรมการสอบสวน แสดงให้เห็นว่าคราบน้ำมันมอนทาราแพร่กระจายครอบคลุมพื้นที่ 90,000 ตารางกิโลเมตร และเข้ามาในน่านน้ำของอินโดนีเซีย ตามรายงานของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ

มูลนิธิดูแลรักษาติมอร์ตะวันตก ซึ่งให้ความช่วยเหลือชาวประมงยากจนทางตะวันออกของอินโดนีเซีย ประเมินว่า น้ำมันที่รั่วไหลส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวประมงกว่า 18,000 คน รวมถึงฟาร์มสาหร่ายและฟาร์มหอยมุกในบริเวณดังกล่าวด้วย

ปตท.สผ.ยันระงับเหตุตั้งแต่เริ่มต้น

นายอนนต์ กล่าวถึงการเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายกรณี น้ำมันและก๊าซธรรมชาติรั่วไหลในแหล่งมอนทารา ของรัฐบาลอินโดนีเซียนั้น เป็นเรื่องที่ฝ่ายผู้เรียกร้องจะต้องนำหลักฐานมาพิสูจน์ว่ามีเหตุผลรองรับข้อกล่าวหาอย่างไร

เนื่องจากเหตุการณ์ไฟไหม้แท่นขุดเจาะมอนทารา เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งช่วงที่เกิดเหตุ ปตท.สผ.ได้เข้าควบคุมตั้งแต่เริ่มต้น โดยมีกระบวนการระงับเหตุ เริ่มตั้งแต่นำเครื่องบินโปรยสารเคมีเพื่อดับไฟ และใช้เรือออกไปกำจัดคราบน้ำมัน รวมทั้งติดตามสถานการณ์หลังเกิดเหตุอย่างน้อย 2-3 เดือน จนแน่ใจว่าไม่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม การระงับเหตุตั้งแต่เริ่มต้นทำให้ผลกระทบจากเหตุการณ์ไฟไหม้แท่นขุดเจาะจำกัดวงอยู่เฉพาะแท่นผลิตเท่านั้น

ระบุอินโดฯต้องแสดงหลักฐานพิสูจน์

" ปตท.สผ. ได้เปิดโอกาสที่จะให้มีการแสดงหลักฐานต่างๆ เพื่อพิสูจน์ว่า เหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในน่านน้ำอินโดนีเซียจริงหรือไม่ ดังนั้นในเวลานี้จึงไม่ใช่เรื่องที่จะพูดถึงหรือพิจารณาว่า ปตท.สผ. จะต้องรับผิดชอบตัวเลขค่าชดเชยความเสียหายอย่างไร เพราะยังไม่ผ่านกระบวนการพิสูจน์ ฉะนั้นข่าวที่เผยแพร่ออกมา จึงเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องและสับสน ซึ่ง ปตท.สผ.จะได้ชี้แจงกับรัฐบาล และสื่อของอินโดนีเซีย รวมทั้งชี้แจงข้อเท็จจริงในด้วย"

นายอนนต์ กล่าวว่า หากเปรียบเทียบกับเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลในอ่าวเม็กซิโกของบริษัทบีพี ถือว่าแตกต่างกัน เพราะกรณีของบีพี มีความชัดเจนและมีหลักฐานปรากฏว่า น้ำมันที่รั่วไหลออกมานั้นได้สร้างผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมจริง แต่สำหรับกรณีของ ปตท.สผ.นั้นได้มีการระงับเหตุตั้งแต่เริ่มต้นไปก่อนแล้ว และได้มีการตรวจสอบผลกระทบอย่างต่อเนื่อง จนแน่ใจไม่มีผลกระทบเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ระยะนี้มีผู้ให้ข้อมูลที่สับสน ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ ปตท.สผ. ซึ่งบริษัทอาจพิจารณาเรียกร้องความรับผิดชอบจากผู้ให้ข่าวที่ทำให้เกิดความเสียหายในครั้งนี้

นอกจากนี้ บริษัทยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐบาลออสเตรเลียศึกษาและวิจัยผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว โดยจะเผยแพร่ผลการศึกษาให้สาธารณชนรับทราบต่อไป

ปตท.สผ.แจ้งตลาดหุ้นถูกเรียกชดเชย

ขณะเดียวกัน วานนี้ (26 ส.ค.) นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานโครงการต่างประเทศ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สผ. แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหาย จากเหตุการณ์น้ำมันและก๊าซธรรมชาติรั่วไหล ในแหล่งมอนทารา

เนื่องมาจากเหตุการณ์น้ำมันและก๊าซธรรมชาติรั่วไหล ในแหล่งมอนทารา โครงการพีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย ในทะเลติมอร์ เมื่อปี 2552 นั้น บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ขอแจ้งว่าเมื่อวานนี้ (26 ส.ค.) บริษัท พีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย พีทีวาย จำกัด หรือ พีทีทีอีพี เอเอ (บริษัทย่อยของ ปตท.สผ.) ได้รับเอกสารเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายเนื่องมาจากเหตุการณ์ดังกล่าวจากรัฐบาลอินโดนีเซียแล้ว แต่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนที่พิสูจน์ให้เห็นความเสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าว

ยันมีประกันภัยไว้270ล้านดอลลาร์

ก่อนหน้านี้ นายอนนต์ ระบุว่า แท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แหล่งมอนทารา ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเกิดไฟไหม้ โดยยอมรับว่าการที่แหล่งมอนทารา ของบริษัทพีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย เกิดเพลิงไหม้ ทำให้แผนการผลิตต้องเลื่อนออกไปจากเดิมกำหนดไว้ปลายปี 2552 ที่ 35,000 บาร์เรลต่อวัน ต้องประเมินสถานการณ์อีกครั้งหนึ่ง

ทั้งนี้ บริษัทได้ประกันภัยไว้ วงเงินสูงสุด 270 ล้านดอลลาร์ ครอบคลุมความเสียหายทั้งหมด นอกจากนี้บริษัทคาดว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในไตรมาส 4 ปี 2552

"ตอนที่น้ำมันรั่วครั้งที่แล้ว บันทึกค่าใช้จ่ายในไตรมาส 3 ประมาณ 5,174 ล้านบาท กระทบกำไรเพียง 2,198 ล้านบาทเท่านั้น ส่วนการผลิตคงต้องเลื่อนออกไป น่าจะไตรมาส 2 ของปี 2553 จากเดิมคาดจะผลิตได้ในปลายปี 2552"

โดยเชื่อว่าเรื่องนี้ไม่กระทบแผนการลงทุนของบริษัท ยังเดินหน้าหาโอกาสลงทุนแหล่งอื่นๆ ในออสเตรเลีย เพราะแม้ว่าแหล่งมอนทาราจะเกิดปัญหาทั้งน้ำมันรั่วและไฟไหม้ แต่ปริมาณน้ำมันสำรองยังอยู่ที่ 40 ล้านบาร์เรลต่อวัน เชื่อว่าบริษัทจะแก้ปัญหาได้ โดยประสานกับรัฐบาลออสเตรเลียต่อเนื่อง ทั้งการกำจัดคราบน้ำมัน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ส่วนบรรยากาศการเคลื่อนไหวราคาหุ้น บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีทีอีพี เมื่อวานนี้ (26 ส.ค.) เปิดตลาดที่ระดับ 144 บาท จากนั้นราคาหุ้นอ่อนตัวลงไปแตะระดับต่ำสุดที่ 141 บาท ก่อนที่ราคาหุ้นกระเตื้องขึ้นมาปิดที่ระดับ 124 บาท ลดลง 1 บาท หรือ 0.70% โดยมีมูลค่าการซื้อขายหนาแน่นถึง 977.94 ล้านบาท

องค์กรเอกชนในอินโดนีเซียชี้เหตุน้ำมันรั่วจากแท่นขุดเจาะน้ำมันในเครือของบริษัท ปตท.สผ. ส่งผลกระทบต่ออ

องค์กรเอกชน "เวสต์ติมอร์แคร์ฟาวน์เดชั่น ในอินโดนีเซียระบุว่า ชาวประมงกว่า 7,000 คน ในจังหวัดอีสต์ นูซา เตงการา ของอินโดนีเซียได้รับผลกระทบจากการรั่วไหลของน้ำมันจากแท่นขุดเจาะเวสต์ แอตลาส ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทปตท.สผ. ของไทยแล้ว หลังน้ำมันไหลลงสู่ทะเลติมอร์หลายพันบาร์เรลตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา ทำให้ปลาตายและทำลายอาชีพของประชาชนในหมู่บ้านยากจนตามแนวชายฝั่งทะเลติมอร์ นายเฟอร์ดี ทาโนนี จากมูลนิธิเวสต์ ติมอร์ แคร์ ฟาวน์เดชั่น ที่ให้การสนับสนุนชาวประมงผู้ยากจนทางตะวันออกของอินโดนีเซียกล่าวว่า รายได้ของชาวประมงลดลงถึงร้อยละ 40 หลังเกิดเหตุน้ำมันรั่วไหล ส่วนกองทุนสัตว์ป่าโลกกล่าวว่า เหตุการณ์ครั้งนี้นับเป็นภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งของออสเตรเลีย โดยมีน้ำมันกว่า 400,000 ลิตรรั่วไหลแผ่กระจายกินบริเวณกว้างราว 10,000 - 25,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตสัตว์ทะเล ทั้งปลาโลมาและเต่าทะเล.

อินโดฯรีดปตทสผ 35หมื่นล้าน ชดใช้น้ำมั่นรั่ว

อินโดนีเซียเล็งเรียกเงิน ราว 35,200 ล้านบาท ชดเชยความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม เหตุแท่นขุดเจาะน้ำมันในเครือปตท.สผ.ของไทย เกิดไฟไหม้และระเบิด นอกชายฝั่งออสเตรเลียปีที่ีแล้ว จนน้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเลติมอร์ถึงน่านน้ำอินโดฯ...

นายเฟรดดี้ นัมเบอรี รมว.คมนาคมของอินโดนีเซีย เผยต่อสำนักข่าวออนไลน์ ดาวน์ โจนส์ นิวส์ไวร์เมื่อ 26 ส.ค. ว่า อินโดนีเซียจะเรียกค่าชดใช้ถึง 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ( ราว 35,200 ล้านบาท) เป็นค่าชดเชยความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม กรณีที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน มอนทาราของบริษัท พีทีที ออสเตรเลเซียในเครือบริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด มหาชน (ปตท.สผ.) หรือ พีทีทีอีพีของไทย เกิดไฟไหม้ และระเบิดที่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือออสเตรเลียปีที่แล้ว ทำให้น้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเลติมอร์ถึงน่านน้ำอินโดฯ

นายนัมเบอรี นำคณะผู้แทนรัฐบาลอินโดฯ ไปเจรจากับพีทีที ออสเตรเลเซีย ที่เมืองเพิร์ธใน 26 ส.ค. โดยเผยว่าจะยื่นขอค่าชดใช้ขณะเจรจา ซึ่งเป็นจำนวนที่มากพอ ข้อเรียกร้องมีข้อมูลอย่างละเอียดสนับสนุน แม้มีข้อสงสัยว่าความเสียหายด้านระบบนิเวศน์วิทยาทางทะเล และการประมงที่อินโดฯ กล่าวอ้างนั้นสามารถพิสูจน์ความจริงได้หรือไม่

ขณะที่นายอานนท์ ศิริแสงทักษิณ ประธานบริหารปตท.สผ. เผยว่ายังไม่ได้รับข้อเรียกร้องขอค่าเสียหายจากอินโดฯ ตอนนี้จำนวนเงินไม่ใช่ประเด็น แต่เราต้องตั้งองค์กรร่วมเพื่อพิสูจน์ความจริงของหลักฐานว่า มีผลกระทบจากน้ำมันรั่วจริงหรือไม่ และพร้อมสนับสนุนรัฐบาลอินโดฯ

การรั่วไหลของน้ำมันจากแท่นขุดเจาะมอนทาราในช่วง 21ส.ค.-3ก.ย. 2552 นับเป็นการรั่วไหลของน้ำมันดิบนอกชายฝั่ง ครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย แม้จะน้อยกว่าเหตุน้ำมันรั่วจากแท่นขุดเจาะของบริษัท บีพีของอังกฤษนอกชายฝั่งเม็กซิโกในปีนี้ แต่กินเวลานานหลายเดือน ขณะที่ทางบริษัทพยายามอุดรูน้ำมันรั่ว โดยใช้วิธีขุดบ่อควบคุมความดันจนสำเร็จในที่สุดเช่นเดียวกัน

องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล” (WWF) เผยว่า จากหลักฐานที่ถูกนำเสนอต่อคณะกรรมการสอบสวนชุดหนึ่งระบุว่า น้ำมันดิบที่รั่วจากแท่นมอนทาราขยายวงกว้างเกือบ 90,000 ตร.กม. และลามเข้าสู่น่านน้ำอินโดฯด้วย ส่วนมูลนิธิรักษ์ติมอร์ตะวันตก ซึ่งคอยสนับสนุนชาวประมงที่ยากจนทางภาคตะวันออกอินโดฯ ประเมินว่าน้ำมันที่รั่วไหลส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวประมงราว 18,000 คน ขณะที่ธุรกิจต่างๆ อาทิ ฟาร์มสาหร่ายทะเลและหอยมุกก็ได้รับผลกระทบด้วย

อนึ่ง หลังเหตุน้ำมันรั่วที่อ่าวเม็กซิโก ซึ่งเป็นครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ มีน้ำมันรั่วลงทะเลราว 4.9 ล้านบาร์เรล บริษัทบีพีได้ตั้งกองทุนชดใช้ความเสียหายแล้วถึง 20,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 640,000 ล้านบาท)

0 ความคิดเห็น:

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

บทความที่ได้รับความนิยม

ขับเคลื่อนโดย Blogger.