วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มาบตาพุด แนะชาวบ้าน เผาขยะในชุมชน กลบกลิ่นพิษ โรงงานอุตสาหกรรม


แนะนำชาวบ้าน ให้เก็บกวาดชุมชน หมู่บ้าน หนุนชาวบ้านเผาขยะ เพื่อกลบกลิ่นจากโรงงานอุตสาหกรรม ที่อ้างบ่อยๆว่า สารอันตรายเกิดจากการเผาขยะ ไม่ได้มาจากโรงงาน เทศบาลออกพบปะชาวบ้าน แทนที่จะให้ความรู้ความเข้าใจ ที่แท้จริง ว่าโทษภัยสารเคมีอันตรายอะัไร เกิดขึ้นจากการเผาขยะ การหนุนให้ชาวบ้าน ตัดต้นไม้ เผาขยะ จึงไม่ควรมาจากหน่วยงานรัฐ

ภัยจากเผาขยะ

อันตรายใกล้ตัว

เรียบเรียงโดย น.อ.หญิง อัจฉรา จันทรอารีย์

ในขณะที่การเพิ่มจำนวนประชากรของโลกอันเนื่องมาจากการพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข ทำให้ชุมชนแออัด และขยายตัวไปในบริเวณชานเมืองอย่างรวดเร็ว ปัญหาที่ติดตามมาคือปัญหาขยะที่มีปริมาณมากขึ้น และยังมีกลิ่นเหม็นอันไม่พึงประสงค์ โดยเฉลี่ยทั่วไป ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจะมีมากถึง ๑ กิโลกรัมต่อคนต่อวัน แม้แต่ในประเทศไทยเองปัญหาที่เกิดจากขยะ และปัญหาในการจัดการขยะของทางราชการก็ยังยืดเยื้อ คาราคาซังตลอดมา เนื่องจากชุมชนในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงสถานที่ที่จะดำเนินการกลบฝัง หรือเผาขยะต่างหวั่นเกรงผลกระทบจากขยะกองมหึมา ที่จะมากองอยู่ใกล้บ้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องกลิ่น เรื่องน้ำเสียจากขยะที่ไหลซึม การหกหล่น เกลื่อนกลาดของเศษขยะ หรือการรื้อค้นของสุนัขในบริเวณที่พักอาศัย ของกรุงเทพมหานครเขตต่าง ๆ ได้จัดรถขยะวิ่งไปตามเส้นทาง ถนน ตรอก ซอก ซอย และชุมชนต่างๆ เพื่อให้บริการเก็บขยะ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ชุมชนบางแห่ง รถขยะของเขตไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้ จึงมีการเผาขยะเพื่อแก้ปัญหาขยะล้นบริเวณที่อยู่อาศัย โดยทำการเผาในที่จำกัด หรือในถังน้ำมันขนาด ๒๐๐ ลิตร โดยที่ไม่ทราบว่าจะเกิดสารอันตราย เนื่องจากการเผาไหม้ พลาสติค พีวีซี ที่อุณหภูมิต่ำ และขาดออกซิเจน สารอันตรายดังกล่าวคือ ไดออกซิน (Dioxin)

ไดออกซิน (Dioxin) คืออะไร

http://www.navy.mi.th/science/BrithDay46/imageDoc/dioxin1.gifโดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึง ไดออกซิน จะหมายถึง 2,3,7,8 – Tetrachlorodibenzo – dioxin (TCDD) ซึ่งเป็น ๑ ใน ๗๕ ไอโซเมอร์ (Isomer) ของ PCDD ที่มีความเป็นพิษในสัตว์ทดลองมากที่สุด คนไทยรู้จักไดออกซินในชื่อวัตถุสีส้ม (Agent orange) ซึ่งเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดหนึ่ง แต่ทหารอเมริกันนำมาใช้ในสงครามเวียดนาม โดยนำมาผสมกับน้ำมันดีเซล แล้วฉีดพ่นทางเครื่องบินเพื่อให้ใบไม้ร่วง ประเทศไทยห้ามใช้สารเคมีนี้กำจัดวัชพืชตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๖ ส่วนสารเคมีอื่นที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายไดออกซิน และเป็นสารที่มีความเป็นพิษสูงได้แก่ Polychlorinated biphenyls (PCBs) ซึ่งเป็นสารหล่อเย็นที่ใช้ในหม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer)

สูตรโครงสร้างไดออกซิน

คุณสมบัติไดออกซิน

๑. เป็นผลึกไม่มีสี ไม่มีกลิ่น

๒. ละลายน้ำได้เล็กน้อย แต่ละลายได้ดีในไขมัน

๓. น้ำหนักโมเลกุล เท่ากับ ๓๒๑.๙๖

๔. จุดหลอมเหลว ๓๐๐ องศาเซลเซียส สลายตัวที่ ๗๐๐ องศาเซลเซียส

แหล่งกำเนิดของไดออกซิน

ปกติเรามักไม่มีการนำไดออกซินมาใช้โดยตรง แต่มักพบในรูปผลผลิตพลอยได้ (By product) ของปฏิกิริยาเคมี หรือกระบวนการเผาไหม้ที่มีคลอรีนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม ได้แก่

๑. การเผาของเสียอันตรายทางการแพทย์ ขยะชุมชน หรือตะกอนจากการบำบัดน้ำเสีย

๒. เตาเผาซีเมนต์ที่มีการใช้ของเสียอันตรายเป็นเชื้อเพลิง

๓. การหลอมโลหะ หรือทำให้โลหะบริสุทธิ์ขั้นที่ ๑ หรือ ๒

๔. การผลิต การกำจัดสารเคมีประเภท Chlorinated plastic

โดยปกติมนุษย์จะได้รับไดออกซินเข้าสู่ร่างกายได้ ๓ ทาง คือ

๑. ทางผิวหนัง เมื่อสัมผัส

๒. ทางการหายใจ มักเกิดในเกษตรกรที่ฉีดพ่นยาฆ่าวัชพืช หรือพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม

๓. ทางปาก โดยปะปนในอาหารที่รับประทาน

ความคงตัวของไดออกซิน

ในกรณีอยู่ในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ไดออกซินจะถูกทำลายโดยแสงแดด เรียกขบวนการนี้ว่า Photo degradation หากอยู่ภายใต้แสงอุลตราไวโอเลต ไดออกซินจะมีครึ่งชีวิตประมาณ ๑ ๓ ปี แต่หากอยู่ใต้ผิวดิน จะมีครึ่งชีวิตนานกว่า ๑๐ ปี แต่เนื่องจากไดออกซินมีความคงตัวสูง และมีคุณสมบัติละลายได้ดีในไขมัน ทำให้ไดออกซินสามารถสะสมในร่างกาย และสามารถถ่ายทอดไปตามห่วงโซ่อาหาร ทำให้สามารถตรวจพบไดออกซินในสิ่งมีชีวิตทั่วไปได้ ตามรายงานของ USEPA พบว่า คนที่รับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ปลา หรือนม มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสูงถึง ๑ ใน ๑๐๐ และจากการศึกษาของพยาบาล ทารกซึ่งเป็นบุตรของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม การประมง หรือผู้ที่อยู่ใกล้สถานที่ปนเปื้อนไดออกซิน จะได้รับไดออกซินมากกว่าผู้อาศัยในแหล่งอื่น

การดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย

พบว่าไดออกซินประมาณ ๘๗ เปอร์เซ็นต์ ถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก โดยพบปริมาณไดออกซินในเลือดสูงสุดหลังรับ ประมาณ ๒ ชั่วโมง จะพบไดออกซินในไขมันของผู้นั้นประมาณ ๓.๐๙ และ ๒.๘ ไมโครกรัมต่อกรัม หลังจากได้รับไดออกซิน ๑๕ และ ๖๙ วันตามลำดับ และเมื่อสะสมในร่างกายแล้วมักไม่เปลี่ยนแปลง มีอยู่บ้างที่เปลี่ยนแปลงในขบวนการ Hydroxylate หรือ Methoxylate ซึ่งจะได้สารที่มีพิษ น้อยกว่าไดออกซิน หลังจากนั้นจะถูกขับถ่ายทางอุจจาระ ส่วน Metabolise ของไดออกซินจะรวมกับ Glucoronide และ Sulfate แล้วถูกขับออกทางปัสสาวะ

ผลกระทบต่อสุขภาพ

๑. ไดออกซินมีความเป็นพิษสูงมาก ค่า LD50 จะมีค่าประมาณ ๐.๖ ,๐๐๐ ไมโครกรัมต่อกรัม

๒. ก่อให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่ปรากฎพิษเฉียบพลัน หรือการเสียชีวิตของมนุษย์จาก ไดอกซิน แต่จะก่อพิษเรื้อรัง

๓. องค์การอนามัยโลกและ USEPA จัดให้ TCDD เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์

๔. ทำให้เกิดผลเสียต่อระบบสืบพันธุ์ ทารกเกิดมาผิดปกติ

๕. มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน

จากข้อมูลที่กล่าวมา ผู้อ่านอาจยังไม่เห็นผลร้ายแรงของไดออกซินอย่างชัดเจน เนื่องจากผลกระทบต่อสุขภาพ มิได้เป็นแบบเฉียบพลัน หรือถึงแก่ชีวิตในทันที แต่ผู้เขียนมุ่งหวังให้ผู้อ่านช่วยกัน ลดปริมาณขยะที่เกิดจากแต่ละคน รวมถึงการแยกประเภทขยะต่างๆ ออกจากกัน เพื่อให้สะดวกต่อการนำไปกำจัดอย่างถูกต้องต่อไปในอนาคต มิฉะนั้นแล้ว ปัญหาภูเขาขยะกองมหึมาก็ไม่อาจจัดการได้อย่างแน่นอน........

*** การเผาขยะในชุมชน เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สน.ตำรวจใกล้บ้านท่าน ***

0 ความคิดเห็น:

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

บทความที่ได้รับความนิยม

Blog Archive
ขับเคลื่อนโดย Blogger.