วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ภาคใต้ เตรียมรับมือ ดีเปรสชั่น ต้นเดือน พ.ย. 53


นายวันชัย ศักดิ์อุดมไชย ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก จ.สงขลา ออกประกาศเตือนฉบับที่ 11 เวลา 16.00 น.วันนี้ (31 ต.ค.) ถึงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย ว่า ยังคงมีกำลังแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อยู่ในทะเลจีนใต้ตอนล่างทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั่นแล้ว มีศูนย์กลางห่างประมาณ 450 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดสงขลา ความเร็วลมสูงสุดประมาณ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งพายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็ว 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่า จะเข้ามาปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้ตอนล่างช่วงวันที่ 1-3 พฤศจิกายนนี้ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่นในหลายพื้นที่ต่อไปอีก ขอให้ประชาชนพื้นที่เสี่ยงภัย โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ระวังผลกระทบจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม-3 พฤศจิกายนนี้
ส่วนอ่าวไทยยังมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังการเดินเรือ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง รวมถึงประชาชนตามชายฝั่งให้ระวังคลื่นโถม โดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออกได้จัดเจ้าเจ้าหน้าที่ติดตามทิศทางการเคลื่อนไหวของดีเปรสชั่นตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ วันที่ 2 พฤศจิกายน จังหวัดสงขลาเตรียมเปิดศูนย์วิเคราะห์สถานการณ์น้ำที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก เพื่อแจ้งเตือนประชาชนได้ทันท่วงทีหากอยู่ในขั้นเสี่ยงภัย
วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

'สึนามิ'ทำ'อิเหนา'ตายร่วม300อีก29ดับเพราะ'ภูเขาไฟระเบิด'

ภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นสภาพของเขตปากาอิ บนหมู่เกาะเมนตาวาอิ ทางด้านตะวันตกของอินโดนีเซียเมื่อวันพุธ(27) ภายหลังที่ได้ถูกคลื่นยักษ์สึนามิขนาดความสูง 3 เมตรกวาดถล่ม เจ้าหน้าที่บอกว่า หายนภัยจากคลื่นยักษ์คราวนื้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตร่วมๆ 300 คน แล้วยังมีคนสูญเสียอีกกว่า 400 คน
เอเอฟพี/เอเจนซี - เจ้าหน้าที่กู้ภัยของอินโดนีเซียดำเนินการค้นหาผู้รอดชีวิตจากมหันตภัยสึนามิเป็นการเร่งด่วนตลอดวันพุธ (27) หลังจากที่พบผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 282 คน และยังมีผู้สูญหายไม่น้อยกว่า 400 คน สืบเนื่องจากบรรดาหมู่บ้าน 10 แห่งในหมู่เกาะเมนตาวาอิ ซึ่งอยู่ในแนวชายทะเลฝั่งตะวันตกของสุมาตรา ถูกคลื่นยักษ์สึนามิความสูง 3 เมตรโหมถล่ม อันเป็นผลจากแผ่นดินไหวที่ความรุนแรงระดับ 7.7 ขณะเดียวกันในอีกด้านหนึ่ง เจ้าหน้าที่แดนอิเหนาแถลงว่าฤทธิ์เดชการระเบิดของภูเขาไฟเมราปี บนเกาะชวา ก็ทำให้มีคนตายไปอย่างน้อย 29 ชีวิต

หมู่เกาะอินโดนีเซีย เป็นส่วนหนึ่งของอาณาบริเวณที่เรียกกันว่า วงแหวนแห่งไฟของมหาสมุทรแปซิฟิก โดยหายนภัยทั้งแผ่นดินไหว-คลื่นสึนามิ-ภูเขาไฟระเบิดที่กระหน่ำใส่แดนอิเหนา เริ่มจากเมื่อดึกของวันจันทร์(25) ต่อเนื่องถึงวันอังคาร(26) ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 311ราย และผู้คนมหาศาลต้องขาดไร้ที่อยู่อาศัย เพราะบ้านเรือนตลอดจนสิ่งปลูกสร้างมากมายถูกคลื่นสาดซัดทำลายยับเยิน หรือไม่ก็ถูกเถ้าภูเขาไฟทับถมจนยากแก่การดำรงชีพ

“พวกเขาสูญเสียบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และตอนนี้ต้องการความช่วยเหลือจำนวนมาก ซึ่งตอนนี้มีการส่งเต้นท์เข้ามาบ้างแล้ว แต่เรายังขาดแคลนอีกมาก” ฮาร์เมนไซอาห์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารการบรรเทาหายนภัยระดับภูมิภาคของอินโดนีเซีย กล่าวถึงความเสียหายของชาวบ้านในหมูเกาะเมนตาวาอิ

เขากล่าวด้วยว่ามีการเร่งค้นหาผู้สูญหายให้ได้มากที่สุดและรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ ทั้งนี้ มีผู้คนจำนวนมากที่อพยพหนีภัยขึ้นไปบนภูเขาสูง แต่ก็คาดด้วยว่าจะต้องมีจำนวนไม่น้อยที่ถูกน้ำซัดหายไป

ขณะที่ อาเด เอดเวิร์ด เจ้าหน้าที่บริหารการบรรเทาหายนภัยของจังหวัดสุมาตราตะวันตก กล่าวเมื่อคืนวานนี้ว่า ตัวเลขผู้เสียชีวิตได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 282 คน และสูญหายอีก 411 คน

อย่างไรก็ดี ผู้รอดชีวิตจำนวนมากร้องทุกข์ว่า ทางการไม่ได้มีคำเตือนอะไรเลยในตอนที่คลื่นสึนามิโถมกระหน่ำเข้ามา

บอรินเต ชาวนาวัย 32 ปีจากหมู่บ้านเดตูมองกา ซึ่งอยู่บนเกาะนอร์ทปากาอิ อันเป็นจุดท่องเที่ยวงดงามระดับสวรรค์ของนักเล่นกระดานโต้คลื่น เล่าว่า “ราวสิบนาทีหลังจากเกิดแผ่นดินไหว เราได้ยินเสียงคำรามดังมาก เราวิ่งออกมาดูเหตุการณ์และเห็นคลื่นสาดซัดมา เราพยายามวิ่งหนีขึ้นที่สูง แต่คลื่นเคลื่อนที่เร็วกว่าเรามากครับ” ทั้งนี้ เขารอดชีวิตมาได้เพราะยึดไม้ท่อนหนึ่งเอาไว้แน่นไม่ยอมปล่อย ทว่าภรรยาและลูก 3 คนของเขาเสียชีวิตหมด

พื้นที่อีกแห่งหนึ่งซึ่งเกิดมีโศกนาฏกรรมรุนแรงในหายนภัยซีรีส์นี้ อยู่ห่างไกลออกไปหลายร้อยกิโลเมตร นั่นคือบริเวณตอนกลางของเกาะชวา ซึ่งภูเขาไฟเมราปีได้ระเบิดขึ้นมาในวันอังคาร และได้คร่าชีวิตผู้คนอย่างน้อย 29 ราย

เจ้าหน้าที่ของทางการอินโดนีเซียให้ข้อมูลว่า ประชาชนเกือบ 29,000 รายต้องหนีภัยไปหาที่พักพิงในย่านใกล้ตัวเมืองยอกยาการ์ต้า ในเวลาเดียวกัน ยังมีผู้คนอีกหลายพันรายที่ไม่ยอมอพยพโยกย้าย จนน่าเป็นห่วงถึงสวัสดิภาพ ความปลอดภัย และชะตากรรมของผู้คนเหล่านี้
วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พม่าเปิดปากยอมรับท่อน้ำมันรั่ว ไฟไหม้ตาย 14 เจ็บกว่า 100


เหตุน้ำมันดิบรั่ว ยังเกิดไฟไหม้ระเบิด จนเจ็บตาย จำนวนมาก ถ้าเป็นโรงแยกก๊าซ ที่ 6 ของ ปตท. เสี่ยง เกิดทรุดพังระเบิดลุกลาม ใครหน้าไหน จะยืดอกรับผิดชอบกันบ้าง อ้างว่า ทำตามมาตรฐานสากล ที่ฝากความเสี่ยงไว้กับดิน อ้างว่าดินถมใหม่ แข็งแรงมาก จนไม่ต้องตอกเสาเข็มทั้งหมด

Blast from pipeline leak kills 14 in Burma

October 26, 2010 - 3:44AM

AP

Oil skimmed by villagers from a leaky pipeline caught fire in central Burma, setting off a powerful explosion that threw people and drums into the air and killed 14 people, state-run television reported on Monday.

The fire broke out on Sunday night when about 200 villagers were siphoning oil from the leaking pipeline along a highway in the central district of Pakokku, about 500 kilometres northwest of Rangoon, according to the report. More than 100 people were injured.

State TV did not say what started the fire, but residents contacted by phone said a villager had struck a match to provide some light to see how much oil villagers had collected in drums they had placed nearby. They spoke on condition of anonymity for fear of angering authorities in the tightly controlled country.

Advertisement: Story continues below

The witnesses said the explosion along the Myitche-Hseikphyu highway in Pakokku township sent oil drums and people flying into the air.

The TV report said 121 villagers were hospitalised with burns, out of which 14 died. Earlier unofficial estimates of the death toll were between 15 and 20 people.

More than a dozen fire engines were at the site on Monday as the fire continued to burn, said Maung Maung, a Pakokku resident.

"I saw some badly burned bodies in the debris. Firefighters used a back hoe to carry earth to extinguish the fire," he said.

Burma, also known as Myanmar, has large oil and gas resources, but generally suffers from poor infrastructure. A government-owned pipeline connecting two oil fields had begun to leak near Nyaunghla village, attracting crowds of poor residents.

© 2010 AP



Oil skimmed by villagers from a leaky pipeline exploded in central Burma, and at least 15 people were killed and dozens injured in the blaze, an official and local residents said Monday.

A villager struck a match to see how much oil villagers had collected in drums near the leaking pipeline Sunday evening, causing an explosion, according to residents contacted by phone who spoke on condition of anonymity for fear of angering authorities in the tightly controlled country.

The witnesses said the explosion sent oil drums and people high up in the sky and the injured included nearly 100 people who were being treated mostly for burns at the hospital in the central district of Pakokku. The area is about 315 miles (500 kilometers) northwest of Yangon.

An official, who also spoke on condition of anonymity, said between 15 and 20 people had been killed.

More than a dozen fire engines were at the site Monday as the fire continued to burn, said Maung Maung, a Pakokku resident contacted by phone.

"I saw some badly burned bodies in the debris. Firemen used a back hoe to carry earth to extinguish the fire," he said.

Burma has enormous oil and gas resources. The government-owned pipeline connected two oil fields but struck a leak near Nyaunghla village, attracting crowds of poor residents.

Associated Press


พม่าเปิดปากยอมรับท่อน้ำมันรั่ว ไฟไหม้ตาย 14 เจ็บกว่า 100

แผนที่ทำขึ้นใหม่จาก Google Earth Map แสดงที่ตั้งเมืองปะก๊อกกู (Pakokoku) เขตปกครองมาเกว (Magway) ทางภาคกลางของประเทศ ที่เกิดเหตุท่อน้ำส่งน้ำมันดิบรั่วในเวลากลางคืน ราษฎรจากหมู่บ้านใกล้เคียงพยายามเข้าไปตักน้ำมัน ทำให้เกิดไฟลุกพรึบ กลายเป็นโศกนาฏกรรมย่างสุด 14 คน อีกกว่า 100 ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 3 แห่ง

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- สื่อทางการเปิดปากเป็นครั้งแรก ข่าวท่อส่งน้ำมันรั่ว ชาวบ้านกรูเข้าไปตัก ไฟลุกพรึบ เผา 14 ชีวิต อีกกว่า 100 คนได้รับบาดเจ็บ เหตุโศกนาฏกรรมครั้งนี้ เกิดขึ้นในเขตเมืองปะก๊อกกู (Pakokku) เขตปกครองมาเกว (Magway) ทางตอนกลางของประเทศ

เหตุเกิดเวลาประมาณ 20.00 น.วันอาทิตย์ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา ใกล้หลักกิโลเมตร 22/4 บนถนนช่วงมี๊ตเก-เส็กปิว (Myitke-Seikpyu) และ ใกล้กับหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ท่อส่งน้ำดังกล่าวนำน้ำมันดิบไปจากแหล่งตาจีทอง (Thagyitaung) หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ กล่าว

ไปลุกพรึบขึ้นมาขณะที่ราษฎรราว 200 คน จาก 3-4 หมู่บ้าน ที่อยู่ใกล้จุดเกิดเหตุ พยายามจะเข้าไปเอาน้ำมันดิบที่รั่วจากท่อ หนังสือพิมพ์ของรัฐบาลกล่าว

เจ้าหน้าที่อำเภอปะก๊อกกู และเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงจากแหล่งสำรวจขุดเจาะน้ำมัน ได้ไปยังที่เกิดเหตุดับไฟ และพบว่า มีผู้ถูกไฟไหม้ หรือลวก ไป 121 คน ถูกนำส่งโรงพยาบาล 3 แห่งในบริเวณใกล้เคียง ในนั้น 14 คนเสียชีวิต คนอื่นๆ ยังคงรักษาตัวต่อไป สื่อของทางการรายงาน โดยไม่ได้พูดถึงสาเหตุการรั่วของท่อ

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานในวันจันทร์ อ้างคำพูดของเจ้าหน้าที่ อ.ปะก๊อกกู ที่ระบุว่า มีผู้เสียชีวีตอย่างน้อย 12 คน อีกอย่างน้อย 31 คนได้รับบาดเจ็บ ในเหตุการณ์ที่เกิดในจุดอยู่ห่างจากกรุงย่างกุ้งขึ้นทางเหนือราว 500 กม.
ท่อดังกล่าวลำเลียงน้ำมันไปจากบ่อเล็ตปันโด (Letpando) ที่อยู่ทางตอนใต้ของปกก๊อกกู

ดูจากแผนที่ เขตเองปะก๊อกกู อยู่ในเส้นทางผ่านของไซโคลนกิริ (Giri) ที่มีความแรงระดับ 5 ขณะเคลื่อนจากทะเลเบงกอลเข้าฝั่งรัฐยะไข่ในบ่ายวันศุกร์ ระหว่างเมืองสิตเตว (Sittwe) กับ จ๊อกปีว (Kyaukpyu) บนเกาะรามรี (Ramree) ซึ่งจะเป็นต้นทางท่องส่งน้ำมันและ ท่อก๊าซพม่า-จีน ที่กำลังก่อสร้าง

กิริอ่อนกำลังลงเป็นพายุระดับ 2 และ 1 จนกระทั่งกลายเป็นพายุโซนร้อนขณะพัดเข้าสู่พื้นที่รัฐสะกาย (Sagaing) เขตมาเกว และ มัณฑะเลย์ในวันเสาร์ ซึ่งทำให้เกิดฝนตกหนักกินบริเวณกว้าง


อินโด ภูเขาไฟระเบิด-สึนามิถล่มหมู่บ้านชายทะเล สูญหายกว่า 500 คน และมีผู้เสียชีวิตอีกกว่า 130 ศพ

พื้นที่ส่วนหนึ่งของหมู่บ้านบนเกาะเมนตาวาอิที่ถูกคลื่นยักษ์ซัดราบ
เอเอฟพี - ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุคลื่นยักษ์สึนามิสูง 3 เมตรถล่มหมู่เกาะทางตะวันตกของอินโดนีเซียหลังเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง ล่าสุดในวันนี้ (27) มีอย่างน้อย 112 ราย สูญหายกว่า 500 คน ขณะที่ผู้เสียชีวิตจากการปะทุของภูเขาไฟเมราปีซึ่งเกิดขึ้นในวันเดียวกัน ก็เพิ่มขึ้นเป็น 25 รายแล้ว

แผ่นดินไหวขนาดความรุนแรง 7.7 อุบัติขึ้นในหมู่เกาะเมนตาวาอิ ทางตะวันตกของหมู่เกาะสุมาตรา เมื่อดึกของวันจันทร์ (25) ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สูงถึง 3 เมตรถล่มใส่หมู่บ้าน 10 แห่ง โดยฮาร์เมนสยาห์ หัวหน้าฝ่ายจัดการภัยพิบัติของสุมาตราตะวันตกระบุว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 112 ราย และอีก 502 คนสูญหาย

เพียงไม่ถึง 24 ชั่วโมงหลังเกิดสึนามิ ภูเขาไฟเมราปีบนเกาะชวาก็ปะทุขึ้นพ่นเถ้าถ่านออกมาเป็นจำนวนมาก ประชาชนหลายพันคนแตกตื่นตกใจ โดยยังทำให้มีผู้เสียชีวิตอีกอย่างน้อย 25 คน ในจำนวนนั้นเป็นเด็กทารก 1 ราย

สุโรโน ผู้เชี่ยวชาญด้านภูเขาไฟของรัฐบาลอิเหนาเผยว่า มีเสียงภูเขาไฟระเบิดดังขึ้น 3 ครั้ง เมื่อเวลา 18.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น โดยเถ้าถ่านภูเขาไฟพุ่งสูงขึ้นไปในอากาศถึง 1.5 กิโลเมตร ทำให้เมฆที่มีอุณหภูมิสูงลอยเลื่อนลงต่ำตามแนวลาดของภูเขา

ขณะที่ประธานาธิบดีซุซิโล บัมบัง ยุโธโยโนของอินโดนีเซีย ซึ่งอยู่ในกรุงฮานอยเพื่อประชุมสุดยอดอาเซียน จะเดินทางกลับประเทศก่อนเข้าร่วมประชุมดังกล่าว เพื่อดูแลภัยพิบัติครั้งร้ายแรงของประเทศ จากการเปิดเผยของแหล่งข่าว

ด้านประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐฯ กล่าวแสดงความเสียใจกับแดนอิเหนาว่า "มิเชล (สตรีหมายเลขหนึ่ง) และผมรู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อผู้สูญเสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และความเสียหาย ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากแผ่นดินไหว และสึนามิในสุมาตราตะวันตกที่ผ่านมานี้"

"ในฐานะมิตรประเทศของอินโดนีเซีย สหรัฐฯ จะขอยืนอยู่พร้อมให้ความช่วยเหลือไม่ว่าอย่างไรก็ตาม" ผู้นำสหรัฐฯ ซึ่งเคยอาศัยอยู่ในอินโดนีเซียเป็นเวลา 4 ปี เมื่อครั้งยังเยาว์วัยกับแม่ที่ล่วงลับไปแล้ว และมักพูดถึงความทรงจำในช่วงเวลานั้นอย่างมีความสุขอยู่บ่อยครั้ง กล่าว

บ้านเรือนเสียหายหนักจากแรงคลื่น


เจ้าหน้าที่กู้ภัยพบศพเด็กเล็ก ซึ่งเป็นเหยื่อของภูเขาไฟพิโรธ


เจ้าหน้าที่กู้ภัยค้นหาศพ และผู้รอดชีวิตในรัศมีภูเขาไฟระเบิด
Circles indicate the magnitude and colors indicate the depth of earthquakes off the coast of Indonesia in this NOAA map. Red colors indicate shallower quakes, while green through purple indicate deeper quakes less likely to lead to a tsunami.
เจ้าหน้าที่อินโดนีเซียเผยวันนี้(26) แผ่นดินไหวขนาด 7.7 ริกเตอร์นอกเกาะสุมาตราทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิถล่มหมู่บ้านชายทะเล จนทำให้ชาวบ้านซึ่งส่วนมากเป็นผู้หญิงและเด็กสูญหายกว่า 380 คน และมีผู้เสียชีวิตอีกอย่างน้อย 40 ศพ


ฮาร์ดีมันเซียห์ เจ้าหน้าที่กรมประมงในท้องถิ่นเผยว่า แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเย็นวานนี้(25) โดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างจากเกาะปาไกใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะเมินตาวัยประมาณ 78 กิโลเมตร ส่งผลให้บ้านเรือนในหมู่บ้านชายทะเล เบอตู โมงา พังเสียหายเกือบทั้งหมด

“ขณะนี้เราพบชาวบ้านเพียง 40 คนจากทั้งหมดกว่า 200 คน ซึ่งหมายความว่ายังมีผู้สูญหายกว่า 160 คน โดยส่วนมากเป็นผู้หญิงและเด็ก” ฮาดีมันเซียห์ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

นอกจากนี้ ยังมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1 คนและสูญหายอีก 2 คนในหมู่บ้านมาลาโกปาซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง โดยบ้านเรือนร้อยละ 80 พังราบเป็นหน้ากลอง และประชาชนอยู่ในภาวะขาดแคลนอาหาร

มูดิจาร์โต หัวหน้าหน่วยบรรเทาทุกข์ของกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียเผยว่า พบศพ 2 ศพใกล้กับเกาะซิโปรา และยังมีผู้สูญหายอีกจำนวนมาก

ด้าน เฮนดรี โดริ ซาโตโก หัวหน้าฝ่ายปกครองท้องถิ่นที่ประสบภัยระบุว่า ขณะนี้มีผู้สูญหายกว่า 380 คน ซึ่งอาจอพยพขึ้นไปอยู่บนที่สูงแล้ว

คลื่นยักษ์ได้ถาโถมเข้าถล่มหมู่บ้านชายทะเลหลายแห่งบนเกาะปาไกใต้เป็นระยะทางกว่า 600 เมตรจากชายหาด ส่วนเกาะปาไกเหนือก็ถูกคลื่นสึนามิสูงเท่าหลังคาบ้านพัดถล่มเช่นกัน

แถลงการณ์จากกระทรวงการต่างประเทศและการค้าออสเตรเลียระบุว่า เรือลำหนึ่งซึ่งบรรทุกนักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลีย 8-10 คน ขาดการติดต่อกับชายฝั่งตั้งแต่เกิดแผ่นดินไหว

ศูนย์เตือนภัยสึนามิในมหาสมุทรแปซิฟิกประกาศเตือนผ่านอีเมลวานนี้(25)ว่า แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งเกาะสุมาตราได้ทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ติดตามมา

เมื่อปี 2004 แผ่นดินไหวขนาด 9.2 ริกเตอร์นอกเกาะสุมาตราทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 226,000 คน และถือเป็นสึนามิที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์



JAKARTA, Indonesia -- A powerful earthquake triggered a tsunami that pounded villages on remote islands off western Indonesia, killing at least 23 people and leaving more than 160 others missing, witnesses and officials said Tuesday.

The death toll from the 7.7-magnitude quake, which struck 13 miles beneath the ocean floor late Monday, was expected to climb with reports about damage and injuries just starting to trickle in the next day.

Mujiharto, who heads the Health Ministry's crisis center, said a 10-foot (three-meter) -high wave washed away hundreds of houses on Pagai and Silabu, part of the remote and sparsely populated Mentawai island chain.

"We have 200 body bags on the way, just in case," he said.

Indonesia, the world's largest archipelago, is prone to earthquakes and volcanic activity due to its location on the so-called Pacific Ring of Fire.

The fault that ruptured Monday, running the length of the west coast of Sumatra island, also caused the 9.1-magnitude quake that unleashed a monster tsunami around the Indian Ocean in 2004, killing 230,000 people in a dozen countries.

Getting to the Mentawais, a popular surfing spot 175 miles (280 kilometers) from the Sumatra coast takes 12 hours and the islands are reachable only by boat.

A group of Australians said they were hanging out on the back deck of their chartered surfing vessel, anchored in a nearby bay, when the temblor hit. It generated a wave that caused them to smash into a neighboring boat, and before they knew it, a fire was ripping through their cabin.

"We threw whatever we could that floated -- surfboards, fenders -- then we jumped into the water," Rick Hallet told Australia's Nine Network. "Fortunately, most of us had something to hold on to ... and we just washed in the wetlands, and scrambled up the highest trees that we could possibly find and sat up there for an hour and a half."

By daytime Tuesday, the toll from the quake and tsunami was rising.

Ade Edward, a disaster management agency official, said 23 bodies were found in coastal villages -- mostly on the hardest hit island of Pagai -- and another 167 people were missing.

Water in some places reached roof tops, and in Muntei Baru, a village on Silabu, 80 percent of the houses were damaged.

Some 3,000 people were seeking shelter Tuesday in emergency camps, Edward said, and the crews from several ships were still unaccounted for in the Indian Ocean.

The quake also jolted towns along Sumatra's western coast -- including Padang, which last year was hit by a deadly 7.6-magninuted tremor that killed more than 700. Mosques blared tsunami warnings over their loudspeakers.

"Everyone was running out of their houses," said Sofyan Alawi, adding that the roads leading to surrounding hills were quickly jammed with thousands of cars and motorcycles.

"We kept looking back to see if a wave was coming," said 28-year-old resident Ade Syahputra.

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เกิดแผ่นดินไหว 7.5 ริคเตอร์ ทางด้านตะวันตกของเกาะสุมาตรา

ด่วน เกิดแผ่นดินไหว 7.5 ริคเตอร์ ทางด้านตะวันตกของเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย มีประกาศเตือนภัยสึนามิแล้ว
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ระบุว่า เมื่อเวลา 21.42 น. เกิดแผ่นดินไหวในทะเลแรงสั่นสะเทือน 7.5 ริคเตอร์ บริเวณตอนใต้ของเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย คาดว่ามีโอกาสเกิดสึนามิ ขอให้เฝ้าติดตามข้อมูลของศูนย์ฯต่อไป
ศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ที่หมู่เกาะเมนตาไว ห่างจากปาดังเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของสุมาตราตะวันตก 240 ก.ม.
อินโดนีเซียประกาศเตือนภัยสึนามิ ขณะที่ ศูนย์เตือนภัยสึนามิในแปซิฟิคยังไม่ได้ออกประกาศเตือนภัยสึนามิ แต่ให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด


Population Exposure Map

อยู่ในแนว ที่ไม่น่าจะส่งผลกระทบ กับประเทศไทย กรณีเกิดสึนามิ


วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด กับวาระซ่อนเร้น


รองนายกฯใหม่ เปิดไอเดียสร้างเศรษฐกิจระยะยาว 1 ล้านล้านบาท ใน 30 ปี ข้างหน้า เปิดนโยบายปลุกผี "เซาเทิร์นซีบอร์ด-แลนด์บริดจ์" ระบุมีต่างชาติสนใจลงทุนให้เดินหน้าสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขณะที่แทงกั๊ก พ.ร.บ.กู้เงิน 4 แสนล้านบาทสร้างถนนปลอดฝุ่นเฟส 2บ่อน้ำ ลั่นไม่เอาโครงการเบี้ยหัวแตก


นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงแนวทางการทำงาน ในฐานะที่ดูแลเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ ว่า การแก้ปัญหาระยะสั้นที่รัฐบาลชุดนี้ทำมาถือว่าถูกต้องจะไม่ เปลี่ยนแปลงอะไร จะเร่งต่อยอดการทำงานเพื่อวางรากฐานการแก้ปัญหาเศรษฐกิจระยะยาว โดยวางโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้กับประเทศ รวมวงเงินลงทุนกว่า 1 ล้านล้านบาท ในช่วง 5 ปี 10 ปี และ 15 ปีต่อจากนี้ เพื่อวางรากฐานให้กับประเทศไทยในอีก 30 ปีข้างหน้าประกอบด้วย การฟื้นโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ (เซาเทิร์นซีบอร์ด) ก่อสร้างสะพานเศรษฐกิจหรือแลนด์บริดจ์จากสตูล-สงขลา ระยะทาง 30 กม. พร้อมด้วยรถไฟ ท่อส่งน้ำมัน และท่าเรือน้ำลึกเพิ่มในฝั่งอันดามัน เพื่อขนส่งสินค้าไปยุโรปและตะวันออกกลาง เนื่องจากการใช้พื้นที่มาบตาพุดและแหลมฉบังใกล้เต็มแล้ว โดยจะใช้เงินลงทุน 400,000 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้ประเทศไทยไม่ต้องลงทุนเอง มีหลายประเทศสนใจลงทุนให้ โดยเฉพาะประเทศที่ต้องการขายน้ำมันอย่าง คูเวต รัฐอาบูดาบี ของดูไบ รวมทั้งญี่ปุ่น และให้ไทยถือหุ้น 51% ซึ่งตนจะเรียกประชุมคณะกรรมการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้เร็วๆ นี้ และคาดภายใน 5 เดือน จะออกประกาศเชิญชวนให้ต่างประเทศที่สนใจมาสำรวจการลงทุนได้

ขณะเดียวกัน ต้องการก่อสร้างรถไฟรางคู่ทั่วประเทศ ระยะทาง 3,039 กม. เงินลงทุน 60,000-70,000 ล้านบาท เพื่อลดต้นทุนระบบโลจิสติกส์ของไทย โดยเห็นว่าขนาดของรางรถไฟกว้าง 1 เมตรเหมาะสมและเหมือนกับเพื่อนบ้าน เช่น ลาว มาเลเซีย พม่า โดยระบบรางคู่นี้จะเชื่อมตั้งแต่จีนลงมาถึงเซาเทิร์นซีบอร์ด เป็นการเปิดเส้นทางขนถ่ายสินค้าใหม่ ช่วยลดต้นทุน และคนได้บริโภคสินค้าถูกลงพร้อมกับต้องการวางระบบชลประทานเพิ่มขึ้น ซึ่งใช้เงินลงทุน 200,000-300,000 ล้านบาท เนื่องจากพื้นที่เขตชลประทานในภาคกลางปัจจุบัน บอกว่ามี 24 ล้านไร่ แต่ที่สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้งจริงมีเพียง 12 ล้านไร่เท่านั้น จำเป็นต้องทำเพิ่มอีก 11 ล้านไร่ และที่ว่าประเทศไทยมีฝนตกอุดมสมบูรณ์ แต่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้เพียง 5% ของฝนที่ตกลงมาทั้งหมด ภาคอีสานเก็บได้เพียง 3% นอกนั้นไหลลงแม่น้ำโขงหมด จึงจะต้องทำแก้มลิงในภาคอีสานหลายๆ จุด เพื่อบริหารจัดการน้ำได้อย่างเต็มที่

นายไตรรงค์ยังได้กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.การกู้เงิน 400,000 ล้านบาทที่ยังอยู่ในสภาฯว่า หากจะกู้เงินก้อนนี้ ก็ควรจะนำมาลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อวางพื้นฐานให้กับประเทศในระยะยาวมากกว่า เพราะการจะนำไปสร้างถนนไร้ฝุ่น สะพานข้ามคลอง จะไม่คุ้มที่จะทำให้รายได้ประชาชาติ (จีดีพี) เพิ่มขึ้นตามที่ได้จ่ายเงินออกไป และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ก็วิจัยออกมาแล้วว่า ตอนนี้ถนนในประเทศมีจำนวนมากเกินเหตุแล้ว ขอให้หยุดและชะลอ เพื่อนำเงินมาปรับใช้กับโครงการขนาดใหญ่

"ที่ผ่านมารัฐบาลต้องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจระยะสั้น รัฐบาลเร่งทำโครงการขนาดเล็กถูกต้องแล้ว เพราะเศรษฐกิจโลกทรุด นักท่องเที่ยวไม่มา ส่งออกติดลบเกือบ 30% คนไม่มีเงินในกระเป๋า ต้องอัดฉีดเงินเข้าระบบ ทำโครงการถนนไร้ฝุ่น บ่อน้ำ มีโกงกันบ้าง แต่เศรษฐกิจพยุงขึ้นมาได้ ตอนนี้เศรษฐกิจโลกรับไม้จากเรา จึงหมดความจำเป็นต้องทำโครงการเร่งด่วน หากจะกู้อีก 400,000 ล้านบาทมาทำโครงการเร่งด่วนอีกผมไม่ยอม จะทำแบบเบี้ยหัวแตกไม่ได้ แต่หากกู้มาลงทุนอีก 30 ปี ให้ลูกหลานอยู่สบายผมเห็นด้วย"

รองนายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า จะตั้งคณะที่ปรึกษาขึ้นมาศึกษาข้อมูลต่างๆ ตามที่ตนวางนโยบายไว้ 6 คณะ จะพยายามไม่ให้เกิน 45 คน หรือคณะละ 6-7 คน เช่น ได้นายตีรณ พงษ์มฆพัฒน์ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ดูภาพรวมโครงสร้างอุตสาหกรรมทั่วประเทศ นอกจากนั้น ยังได้ขอให้ กระทรวงการคลังกลับไปจัดทำรายละเอียดการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2554 ที่ตั้งเป้าหมายไว้ 1.65 ล้านล้านบาทให้ชัดเจน โดยเฉพาะการจัดเก็บรายได้จากภาษีนิติบุคคลธรรมดา เนื่องจากเห็นว่าภาคเอกชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเพิ่งพ้นภาวะบาดเจ็บจากวิกฤติเศรษฐกิจ แม้ว่าจะดีขึ้นในปี 2553 แต่เห็นว่าควรเปิดโอกาสให้ได้รักษาบาดแผลบ้าง ไม่ใช่รีดภาษีจนไม่มีเงินเหลือไว้รักษาบาดแผล.

พลันที่แสงแรกของวันสาดส่อง ผู้คนที่อยู่บริเวณหาดคอเขาในอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช หากผันสายตาออกไปในทะเลก็จะเห็นเรือสีเขียวขนาดใหญ่ที่มีเสากระโดงตระหง่านอยู่ 3 เสา ลอยลำอยู่

มันคือเรือเรนโบว์วอริเออร์หรือนักรบสายรุ้ง เรือธงที่ใช้ในการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมของกรีนพีซ องค์กรพัฒนาเอกชนนานาชาติที่ดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมไปทั่วโลก ซึ่งทอดสมอห่างฝั่งออกไปในทะเลราว 2 กิโลเมตร

ครั้นสายๆ บริเวณชายหาดก็คึกคักไปด้วยกองเรือประมงพื้นบ้านกว่า 50 ลำ ที่นัด กันมาจาก 3 อำเภอของจังหวัดนครศรีธรรมราชคือ สิชล ท่าศาลา และขนอม ซึ่งได้เคลื่อน ขบวนพาแกนนำเครือข่ายผลกระทบนโยบายสาธารณะจังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วย ชาวประมง ชาวบ้าน นักเรียน และสื่อมวลชนหลายร้อยชีวิตออกจากชายฝั่งไปล้อมรอบนักรบสายรุ้ง

จากนั้นกองเรือประมงพื้นบ้านส่งประยุทธ วรรณพรหม แกนนำเครือข่ายพร้อมคณะ ขึ้นเรือใหญ่เป็นตัวแทนทำพิธีแลกธงกับดิเรค นิโคล กัปตันเรือเรนโบว์วอริเออร์ ก่อนที่จะรับกัปตันและนักเคลื่อนไหวจากหลายชาติที่รวมตัวกันมากับเรือใหญ่กว่า 30 ชีวิตกลับเข้าสู่ฝั่ง เพื่อทำกิจกรรม “ถอดปลั๊ก ถอดนิวเคลียร์” ร่วมกันบริเวณชายหาดคอเขา

นักรบสายรุ้งเดินทางมาเยือนหาดคอเขาเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2553 ก่อนจะเดินทางกลับสู่ท้องทะเลอ่าวไทยในวันถัดไปคือ 23 กันยายน 2553 ได้เคลื่อนขบวนไปรณรงค์ และทำกิจกรรมในลักษณะเดียวกันต่อที่บริเวณอ่าวท้องชิงในอำเภอขนอม

ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนที่ชี้ให้เห็นนัยว่า ในเวลานี้พื้นที่ภาคใต้ถูกเร่งรัดพัฒนา โดยเฉพาะการก่อเกิดโครงการลงทุนขนาดใหญ่หลายโครงการ ซึ่งจะเชื่อมร้อย โยงใยกันจนนำไปสู่การพลิกโฉมผืนแผ่นดินด้ามขวานอย่างขนานใหญ่ อันจะส่งผลให้พื้นที่ ภาคใต้เป็นแหล่งอุตสาหกรรมขนาดมหึมาในอนาคต

ประมวลจากแผนการพัฒนาของภาครัฐก็จะเห็นเมกะโปรเจกต์ที่เกิดขึ้นทั่วภาคใต้ เริ่มจากโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ถูกกำหนดให้อยู่ในภาคใต้มากถึง 10 โรง จากที่รัฐวางแผนไว้ให้มีทั่วประเทศ 17 โรง โดยมีจุดที่ตั้งอยู่ในจังหวัดชุมพร 3 โรง จังหวัด สุราษฎร์ธานี 2 โรง ที่เหลือ 5 โรงกระจุกอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

แต่หากรวมเอาจุดที่ตั้งอยู่ริมอ่าวไทย ซึ่งเชื่อมโยงทางทะเลถึง 14 จังหวัดภาคใต้แล้ว ก็ต้องเพิ่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เข้าไปอีก 4 โรงคือ ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2 โรง จังหวัดชลบุรี 1 โรง และจังหวัดตราด 1 โรง รวมเป็นว่าจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตั้งล้อมรอบทะเลอ่าวไทยมากถึง 14 โรง

โครงการขนาดใหญ่ที่มีการลงหลักปักฐานไปแล้ว ได้แก่ โครงการลงทุนร่วมระหว่าง 2 ชาติคือ โรงแยกก๊าซและท่อส่งก๊าซไทย-มาเลเซีย โรงไฟฟ้าจะนะแห่งที่ 1 และกำลังจะ สร้างโรงไฟฟ้าจะนะแห่งที่ 2 ตามมาในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โรงแยกก๊าซและโรงไฟฟ้าจากก๊าซที่อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ถ้านับรวมเมกะโปรเจกต์อื่นๆ ในภาคใต้ที่ภาครัฐวางแผนไว้และก็มีที่คิดจะผลักดัน ให้เกิด รวมถึงภาคเอกชนอยากจะลงทุนเพิ่มเข้าไปอีก จะยิ่งน่าตื่นตาตื่นใจไม่น้อย อาทิ โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอีก 6 โรง ส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ตอนบนและพื้นที่คาบเกี่ยวกันคือ จังหวัดชุมพรกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 1 โรง มีแผนจะตั้งในอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช และอีก 1 โรงในอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

ในส่วนโครงการก่อสร้างอุตสาหกรรมเหล็กขนาดใหญ่แบบครบวงจร หรือต้องการให้มีกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ นอกจากในภาคตะวันออกที่จังหวัดจันทบุรี แล้ว ในส่วนของภาคใต้มีการเลือกสรรพื้นที่ไว้รองรับแล้วคือพื้นที่ทะเลริมอ่าวไทยในอำเภอ ระโนด จังหวัดสงขลา อีกทั้งยังมีข่าวว่าบริเวณทุ่งนเรนทร์ในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นเขตรอยต่อกับจังหวัดสงขลาก็ถูกเล็ง ไว้เช่นกัน

ด้านพื้นที่ที่จะใช้รองรับการก่อสร้าง อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขนาดใหญ่แบบครบวงจร อันเป็นผลพวงที่ทะลักล้นมาจากพื้นที่ โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด ซึ่งจะมีโรงกลั่นน้ำมันและโรงแยกก๊าซรวมอยู่ด้วย มีที่วาง แผนและคิดไว้ในหลายพื้นที่ของภาคใต้ ได้แก่ บริเวณชายฝั่งทะเลแถบอำเภอท่าศาลา สิชล ขนอมและนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ในพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา รวมถึงพื้นที่ในอำเภอละงูและต่อเนื่องถึงอำเภอมะนัง จังหวัดสตูล

ที่ผ่านมาการนิคมอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย (กนอ.) ได้ก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมขึ้นในภาคใต้ ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ ตั้งอยู่ที่ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นิคมอุตสาหกรรมฮาลาล ตั้งอยู่ในจังหวัดปัตตานี และที่วางแผนงานไว้นานแล้วคือ นิคมอุตสาหกรรมบ้านนาเดิมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เหล่านี้ยังไม่นับรวมที่เคยมีแผนงานขยายนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอีกในหลายจังหวัดของภาคใต้

อีกทั้งยังมีแผนพัฒนาในระดับกลุ่มจังหวัดและของแต่ละจังหวัดในภาคใต้ด้วย อย่างกลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนที่ได้แจ้งเกิดไปแล้ว เช่น เขตอุตสาหกรรมจังหวัดปัตตานี เวลานี้มีโรงงานแปรรูปอาหารทะเลเข้าไปตั้งอยู่จำนวนมาก ในจังหวัดนราธิวาสมีแผนจะปลุกปั้นเขตอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่อำเภอสุไหงโก-ลก เน้นวัตถุดิบจากยางพาราและปาล์มน้ำมัน จังหวัดยะลาจะมีเขตอุตสาหกรรมที่บ้านสวนส้ม เน้นในเรื่องของผลไม้ ขณะที่จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลาก็มีแผนทำเขตอุตสาหกรรมที่เน้นแปรรูปการเกษตร เช่นกัน

เหล่านี้ยังไม่นับรวมเมกะโปรเจกต์ที่ภาคเอกชนวางแผนหรือคิดไว้ อย่างกลุ่มของประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ได้ซื้อที่ดินเตรียมไว้ลงทุน ทำอุตสาหกรรมปิโตรเคมีประมาณ 2,400 ไร่ กับกลุ่มทุนท้องถิ่นใน จังหวัดสงขลาที่มีการรวบรวมที่ดินเตรียมไว้สำหรับทำนิคมอุตสาห-กรรมในพื้นที่อำเภอจะนะเช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีที่เกี่ยวกับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ โครงการสร้างเขื่อนกั้นน้ำในลุ่มน้ำปากพนังที่เดินหน้าไปแล้ว โครงการเขื่อนกั้นน้ำในทะเลสาบสงขลา เขื่อนและอ่างเก็บน้ำอื่นๆ อาทิ คลองกลาย คลองลำแชง คลองลำขัน คลองหิน คลองนาปรัง และอีกมากมาย ทั้งหมดทั้งปวงเพื่อเตรียมน้ำไว้ให้กับภาคอุตสาหกรรม

ในส่วนของท่าเรือก็มีกระจายอยู่ทั่วในฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ที่ก่อสร้างไปแล้ว ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึกสงขลา 1 ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต ท่าเรืออเนกประสงค์ระนอง ท่าเรืออเนกประสงค์ชุมพร ท่าเรืออเนก ประสงค์และท่าเรือท่องเที่ยวหลายแห่งในสุราษฎร์ธานี ท่าเรืออเนก ประสงค์ปากบาราในอำเภอละงู จังหวัดสตูล ถ้าเป็นถนนก็อย่างเช่น ถนนเซาเทิร์น เป็นต้น

แผนและแนวคิดการพัฒนาทั้งหมดล้วนเชื่อมโยงกับแผนพัฒนา ในภาพรวมของภาคใต้ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทั้งภาครัฐและเอกชนต้องการใช้โครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด เป็นเหมือนสว่านเจาะทะลุทะลวงให้เกิดการลงทุนด้านต่างๆ ตามมาอย่างเป็นรูปธรรม

ช่วงการเกิดโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดในระยะแรก รัฐกำหนดแนวก่อสร้างสะพานเศรษฐกิจ หรือแลนด์บริดจ์ไว้ที่ภาคใต้ตอนกลาง นครศรีธรรมราช-กระบี่ แล้วเลื่อนไปอีก นิดหน่อยเป็นนครศรีธรรมราช-พังงา แต่ในเวลานี้ได้ให้ย้ายแนวใหม่เลื่อนลงมาภาคใต้ตอน ล่างคือ แลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล

โดยในส่วนของแลนด์บริดจ์จะประกอบไปด้วยการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก 2 แห่งในอ่าวไทยและอันดามัน แล้วเชื่อมกันด้วยทางรถไฟสายใหม่ ถนนปรับปรุงจากที่มีอยู่ให้เป็นในลักษณะมอเตอร์เวย์ ระบบท่อส่งน้ำมันและท่อส่งก๊าซที่ต้องสร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งในแต่ละส่วนนั้นก็ถือเป็นการลงทุนในลักษณะเมกกะโปรเจกต์ด้วยกันทั้งสิ้น

มีคำถามว่า ที่ภาครัฐเร่งรัดพัฒนาภาคใต้ให้เต็มไปด้วยเมกะโปรเจกต์นั้น ทำไมจึงมากมายไปด้วย “วาระซ่อนเร้น”

คำถามนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นมาลอยๆ แต่เป็นสิ่งที่สังคมในหลายภาคส่วนได้ประจักษ์ อีกทั้งมีชุมชนและประชาชนจำนวนมากได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว

เป็นที่ทราบกันดีว่า สาเหตุสำคัญของการเกิดวาระซ่อนเร้นก็เนื่องจากทุกเมกะโปรเจกต์ของภาครัฐ ล้วนมีกลุ่มผลประโยชน์ยืนทะมึนทึมอยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักการเมืองที่กุมกลไกอำนาจรัฐ กลุ่มข้าราชการและเทคโนแครตที่เป็นฝ่ายชงเรื่องให้ตัดสินใจ และกลุ่มทุนทั้งไทยและเทศที่ค่อยจ้องเข้าไปฮุบโครงการไว้ในอุ้งมือ

ภาพอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และเครือข่ายการเมืองที่เข้า ไปพัวพันกับผลประโยชน์ด้านพลังงานของชาติ ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูปบริษัท ปตท. การขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ปให้กับกลุ่มเทมาเส็กของสิงคโปร์ เพื่อนำเงินกว่า 7.6 หมื่นล้านบาทไปลงทุนในธุรกิจน้ำมัน การดึงกลุ่มทุนข้ามชาติอย่างโมฮัมหมัด อัล ฟาเยด และดูไบเวิลด์เข้ามามีผลประโยชน์ ในธุรกิจน้ำมันของไทย

แม้จะเป็นเพียงตัวอย่างเดียว แต่ก็คือภาพสะท้อนที่ดีของสังคมไทยและเกี่ยวพันกับโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดโดยตรงด้วยเช่นกัน

เมื่อเป็นเช่นนี้จึงปรากฏภาพของความไม่โปร่งใสเกิดขึ้นในแทบจะทุกขั้นตอน ดำเนินงาน การไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลหรือเปิดเฉพาะในสิ่งที่ต้องการเปิด บางครั้งถึงขั้นบิดเบือนข้อมูลเลยก็มีให้เห็น ทั้งนี้เพราะไม่ต้องการให้เกิดการรู้เท่าทัน รวมถึง เกิดการคัดค้านขึ้นในหมู่ประชาชน

นอกจากนี้แล้ว ความที่เป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่และจะส่งผลกระทบกว้างขวาง กฎหมายจึงบังคับให้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หรือบางโครงการต้องทำรายงานการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ด้วย แต่มักปรากฏ ว่าการจัดทำรายงานดังกล่าวเป็นไปแบบเพื่อให้ผ่านการพิจารณาเท่านั้น บางครั้งถึงขั้นใช้ข้อทูลเท็จเลยก็มี

เฉพาะโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดที่รัฐบาลกำลังเร่งเดินหน้าก่อสร้าง โดยเฉพาะในส่วนของโครงสร้างพื้นที่อย่างแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล ในเวลานี้ก็กำลังเป็นที่โจษขานกันอย่างกว้างขวางถึงวาระซ่อนเร้นที่มีอยู่มากมาย

เริ่มตั้งแต่แผนแม่บทของโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด จัดทำขึ้นครั้งแรกในปี 2536 ใน เวลานั้นพื้นที่เป้าหมายของโครงการอยู่ที่ 5 จังหวัดภาคใต้ตอนกลาง ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา และภูเก็ต ส่วนโครงสร้างพื้นฐานคือแลนด์บริดจ์นครศรีธรรมราช-กระบี่ หรือภายหลังเปลี่ยนเป็นแลนด์บริดจ์นครศรีธรรมราช-พังงา

แต่ความที่โครงการมีอันต้องสะดุด หยุดชะงัก หรือถูกชะลอ รวมระยะเวลายืดยาว เกือบ 20 ปี แถมพื้นที่เป้าหมายก็ถูกเลื่อนจากภาคใต้ตอนกลางลงมาอยู่ตอนล่าง และเส้นทางที่จะก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานหลักก็เปลี่ยนไปเป็นแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล เงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไปเหล่านี้สมควรต้องจัดทำแผนแม่บทฉบับใหม่ขึ้นมารองรับ แต่ปรากฏว่าไม่มีความเคลื่อนไหว หรือแม้แต่ข่าวคราวในเรื่องนี้ออกมาจากภาครัฐเลย

การก่อสร้างแลนด์บริดจ์ที่มีองค์ประกอบหลายส่วน แต่ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานชุด เดียวกัน ในเวลานี้รัฐบาลกลับกระจายการศึกษาและออกแบบก่อสร้าง รวมถึงการจัดทำรายงาน EIA แยกออกเป็นเสี่ยงๆ แถมบางโครงสร้างพื้นฐานก็ไม่มีการศึกษาใหม่ โดยเฉพาะถนนมอเตอร์เวย์ที่ใช้การปรับปรุงจากที่มีอยู่แล้ว จึงไม่ได้นำไปสู่การประมวลผลในภาพรวมของโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่อย่างแท้จริง

นอกจากนี้แล้วระบบท่อส่งน้ำมันและก๊าซที่เป็นอีกส่วนประกอบหลักของแลนด์บริดจ์ ซึ่งจะส่งผลต่อยุทธศาสตร์ศูนย์กลางการขนส่งพลังงานแห่งใหม่ของภูมิภาคอาเซียนนั้น การเดินหน้าโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดในเที่ยวนี้กลับมีความพยายามจะไม่กล่าวถึงเรื่องนี้ต่อสาธารณะ เพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบที่เป็นด้านลบตามมา

ทั้งที่ในความเป็นจริงมีการศึกษาไว้อย่างเป็นระบบทั้งหมดแล้ว โดยในแผนกำหนด ให้ฝั่งอ่าวไทยมีการวางทุ่นรับน้ำมันกลางทะเลห่างจากฝั่งราว 40 กิโลเมตร แล้วต่อท่อขึ้น ฝั่งที่บ้านวัดขนุนในอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยจะใช้พื้นที่บริเวณชายทะเลตรงนั้น ประมาณ 10,000 ไร่ สร้างคลังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่

จากนั้นวางท่อลำเลียงใต้ดินเป็นระยะทางประมาณ 110 กิโลเมตร เชื่อมไป ยังฝั่งอันดามันที่บ้านปากบาราในอำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยจะใช้พื้นที่ชายทะเลบริเวณนั้นประมาณ 5,000 ไร่ สร้างคลังเก็บ น้ำมัน ก่อนที่จะต่อท่อลงทะเลไปประมาณ 37 กิโลเมตร แล้วทำเป็นทุ่นรับน้ำมันแบบเดียวกัน

ไม่เพียงเท่านั้น การศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นทางรถไฟเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน เดิมทีไม่มีแผนที่จะให้รถไฟสายนี้ขนส่งผู้โดยสาร แต่จู่ๆ หลังจากรู้ว่าถูกต่อต้านหนักก็มีการเพิ่มขบวนรถโดยสารผสมโรงเข้าไปด้วย แล้วตลอดเส้นทางประมาณ 142 กิโลเมตรก็กำหนดให้สร้างสถานีเพียง 2 แห่ง ซึ่งล้วน อยู่ในพื้นที่จังหวัดสตูลทั้งหมด

อาจจะมีความเคลื่อนไหวที่แสดงให้ เห็นว่ามีการศึกษาในภาพรวมอยู่บ้างคือ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้เคยลงพื้นที่จังหวัดสงขลาจัดเวทีการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน เรื่องผลกระทบและทางออกของโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด กรณีการก่อสร้างแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล แต่ประชาชนส่วนมากก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไปเพื่ออะไร

เหล่านี้คือภาพสะท้อนที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งชี้ว่ามีวาระซ่อนเร้นในการเดินหน้าโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร.อาภา หวังเกียรติ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งศึกษาและลงพื้นที่เก็บ ข้อมูลแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูลมาต่อเนื่อง ทั้งในฐานะนักวิชาการ และเป็นอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้ความเห็นไว้ว่า การจะศึกษาผลกระทบของโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดนั้น ต้องทำการศึกษาในภาพรวมอย่างแท้จริง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

“การศึกษาเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานแบบเป็นตัวๆ ไป เช่น จะดูเฉพาะท่าเรือน้ำลึกปากบารา หรือทางรถไฟ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแลนด์บริดจ์เท่านั้นไม่ได้ เพราะเรื่องนี้มีนัยสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยมีการพัฒนาแบบเปลี่ยนโฉมหน้าไปเป็นศูนย์กลางพลังงานและการขนส่งของภูมิภาคอาเซียน”

ดร.อาภาเล่าว่า จากที่ได้พูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่ตามแนวแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล ชาวบ้านจะพูดเป็นเสียงเดียว กันว่าแทบไม่เคยรับทราบข้อมูลจากรัฐบาล เลย ทั้งที่ผลศึกษาส่วนต่างๆ เสร็จหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือน้ำลึก 2 แห่ง เส้นทางรถไฟ รวมถึงการจัดทำรายงานผลกระทบ สิ่งแวดล้อม ซึ่งดูเหมือนมีการรับฟังความคิดเห็นชาวบ้านไปหมดแล้ว แต่กลับไม่มีการระบุว่าชาวบ้านไม่เห็นด้วย ไม่รู้ว่ารัฐกำลังจะทำอะไรบ้าง แล้วพวกเขาจะถูกเวนคืนที่ดินหรือเปล่า

สมบูรณ์ คำแหง ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล บอกว่า จากการที่โครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดดำเนินไปแบบมีวาระซ่อนเร้นมากมาย เครือข่าย จึงประสานงานไปยังทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องแล้วว่า หากจะมีการเดินหน้าก่อสร้างโครงการต่อไป ก็คงต้องตั้งทีมทนายความเพื่อฟ้องต่อศาลปกครองให้ระงับการก่อสร้างแน่นอน

การเดินหน้าก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราให้ยื่นลงไปในทะเลกว่า 4 กิโลเมตร รวมถึงสร้างเส้นทางรถไฟต่อเชื่อมออกมาจากท่าเรือด้วย โดยจะต้องมีการขอเพิกถอนพื้นที่กว่า 4,700 ไร่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา เรื่องนี้เครือข่ายกำลังดำเนินการรวบรวมรายชื่อประชาชนที่ไม่เห็นด้วย เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านต่อกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เวลานี้มีข้อมูลที่ยืนยันว่า กระทรวงคมนาคมได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ในอำเภอละงูจำนวนมาก โดยคัดเอาคนในพื้นที่หรือที่เป็นคนใต้ให้ได้มากที่สุด แถมไม่ให้เอารถจากส่วน กลางลงมาใช้ แต่ให้เช่าเอาจากคนสตูล ทั้งนี้ก็เพื่อปูพรมให้การก่อสร้างเส้นทางรถไฟเป็นผลโดยเร็วที่สุด

ซึ่งก็เป็นการกระทำแบบเดียวกับที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่ง ในเวลานี้ได้ระดมทั้งวิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่เป็นคนในพื้นที่ ลงลุยผลักดันการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และโรงไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัดนครศรีธรรมราชให้บรรลุผลโดยเร็ว

อภินันต์ ชนะคช คณะทำงานเครือข่ายติดตามแผนพัฒนาภาคใต้กล่าวว่า เขาเคย รวบรวมสิ่งที่ภาครัฐยังไม่ยอมเปิดเผยต่อประชาชนเกี่ยวกับโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด ซึ่งก็ได้หลายสิบประเด็น เฉพาะในพื้นที่อำเภอรัตภูมิบ้านเกิดก็มีอยู่หลายเรื่อง เช่น ถูกกำหนด ให้เป็นแหล่งทรายและหินขนาดใหญ่ที่จะนำไปก่อสร้างท่าเรือปากบารา ซึ่งจะต้องมีการระเบิดภูเขาหลายลูก ขณะที่ทรายคุณภาพที่ใช้ในการก่อสร้างก็ต้องการมากมายถึงกว่า 20 ล้านคิว

สุพร่อง แสงมณี ชาวบ้าน คลองแชง ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ซึ่งบ้านและที่ดินอยู่ในแนวก่อสร้างเส้นทางรถไฟ โอดครวญว่า ใช้เวลาหลาย สิบปีสร้างครอบครัวจนมีบ้านและสวนยาง แม้ไม่มากนัก แต่ที่ผ่านมาก็หาเลี้ยงลูกทั้ง 6 คนได้แบบไม่ขัดสน ก่อนหน้านี้มีกลุ่มคนแอบอ้างว่ามาขอสำรวจน้ำใต้ดิน สุดท้ายกลับกลายเป็นเรื่องที่จะต้องถูกเวนคืน

ดนรอนี ระหมันยะ ประธานกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา บอกว่า การที่รัฐบาลดำเนินการให้สร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 ในพื้นที่ บ้านเกิดของเขา จนเดี๋ยวนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่รู้เรื่องกันเลย ที่พอจะรู้บ้างก็ไม่เห็นด้วย เพราะเชื่อว่าจะเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวบ้านมาช้านาน

ในส่วนของพื้นที่ชายฝั่งประมาณ 650 ไร่ที่จะใช้เป็นจุดสร้างท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2 มีการอ้างว่าเป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์ แต่ความจริงแล้วชาวบ้านกว่า 80 ครัวเรือนได้อาศัยอยู่กันมาหลายชั่วอายุคน อยู่กันมาก่อนที่จะมีการประกาศให้เป็นที่สาธารณะเสียอีก และมีบางส่วนได้รับการออกเอกสารสิทธิไปแล้ว การดำเนินการเหล่านี้ของรัฐถือว่าไม่โปร่งใสเอามากๆ

ด้านจำปา มังละกู ชาวบ้านบ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล เล่าให้ฟังว่า ชายหาดบริเวณบ้านบ่อเจ็ดลูกถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ขุดทรายไปถมสร้างท่าเรือ น้ำลึกปากบารามากกว่า 10 ล้านคิว ซึ่งจะกระทบต่อวิถีความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของชาวบ้านในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บหอย จับปลาทราย วางอวนกุ้ง อวนปู อวนปลาจาระเม็ด อวนปลากระบอก วางลอบดักปู และโป๊ะจับปลา ฯลฯ เขาเคยคำนวณพบว่าจะสร้างความเสียหายแก่ชาวบ้านรวมแล้วเกิน 200 ล้านบาทต่อปี

“ที่ตลกมากคือ ชายหาดที่บ้านหลอมปืน ตำบลละงู อำเภอละงู ซึ่งอยู่ไม่ไกลกัน ที่นั่นถูกกำหนดให้เป็นแหล่งดูดทรายไปถมสร้างท่าเรือปากบารากว่า 10 ล้านคิวเช่นกัน ผมเห็นในรายงานผลกระทบ สิ่งแวดล้อมของท่าเรือปากบาราระบุว่า ทั้ง ชุมชนมีเรือประมงพื้นบ้านหากินอยู่บริเวณนั้นเพียง 2 ลำ จึงมีผลกระทบต่อชาวบ้านไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงที่นั่นเป็นจุด จอดเรือประมงหลายร้อยลำ ทั้งที่เป็นของชาวบ้านในอำเภอละงูและอำเภอใกล้เคียง”

ขณะที่บาจะ องศาราม หรือโต๊ะจะ วัย 77 ปี ผู้อาวุโสสูงสุดในชุมชนมุสลิมหมู่บ้านท่ามาลัย ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ซึ่งบ้านของโต๊ะจะเอง และของลูกหลานหลายหลังกำลังจะถูกเส้นทางรถไฟ ตัดผ่าน กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า โต๊ะอายุปูนนี้ แล้วคงไปไหนไม่รอด

“จะยอมตายอยู่ที่นี่แหละ หากบ้าน หลังนี้ต้องถูกใครมารื้อถอน เอารถยักษ์มาทำลายบ้านฉัน ฉันก็จะนอนให้มันเหยียบ เพราะฉันและลูกหลานอยู่บ้านหลังนี้มาหลายชั่วอายุคนแล้ว โดยไม่ต้องพึ่งพาความเจริญทางวัตถุเราก็อยู่กันได้”

เหล่านี้คือเสียงของชาวบ้านในพื้นที่ บางส่วนที่สะท้อนให้เห็นภาพภาครัฐกำลังเร่งเดินหน้าก่อสร้างแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล อันเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด เมื่อครั้งที่ ผู้จัดการ 360° ลงพื้นที่เก็บข้อมูล

นอกจากนี้แล้วยังมีวาระซ่อนเร้นที่น่าวิตกยิ่งกว่าอีกคือ เวลานี้มีข้อมูลที่ถูกเปิดเผยออกมาหักล้างข้อมูลที่ได้จากการศึกษาของภาครัฐ แต่ถ้ารัฐยังจะเดินหน้าสร้างส่วนต่างๆ ของแลนด์บริดจ์ต่อไปตามความต้องการของนักการเมือง ที่ร่วมมือกับนายทุนและข้าราชการ เช่น ท่าเรือสงขลา 2 และท่าเรือปากบารา รวมถึงรถไฟเชื่อมสอง ฝั่งทะเลก็เป็นที่หวาดหวั่นกันว่าอาจจะเป็นการเพิ่มมรดกบาปให้กับประเทศชาติและประชาชนขึ้นมาอีก

ซึ่งคงไม่ต่างอะไรจากที่วันนี้สังคมไทยได้เห็นมรดกบาปอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันจากเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาลในอดีต อาทิ แท่งคอนกรีตมากมายของโครงการโฮปเวลล์ หรือระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพฯ โครงการบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ในจังหวัดสมุทรปราการ ท่าเรือนครสวรรค์ ท่าเรือตะพานหินในจังหวัดพิจิตร ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต ซึ่งหลายโครงการถูกทิ้งร้าง หรือบางโครงการใช้ประโยชน์ได้ไม่คุ้มค่า

หรืออย่างการก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์ อันเป็นส่วนหนึ่งของแลนด์บริดจ์ของโครงการ เซาเทิร์นซีบอร์ดในอดีตคือ ถนนเซาเทิร์น ซึ่งรัฐบาลต้องทุ่มเงินหลายหมื่นล้านบาทก่อสร้างขึ้นมาอย่างเป็นพิเศษ แต่ในเวลานี้กลับมีการใช้ประโยชน์ได้ไม่คุ้มค่ากับเม็ดเงินงบประมาณที่สูญเสียไปเอาเสียเลย

อย่างไรก็ตาม วาระซ่อนเร้นเกี่ยวกับโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด ซึ่งเชื่อมโยงถึงในระดับที่พ้นไปจากกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศ หรือเหนือขึ้นไปสู่ระดับข้ามชาติก็มีด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ไม่ต่างไปจากวิกฤติไฟใต้ที่เชื่อ กันว่ามีมหาอำนาจจากตะวันตกบางประเทศอยู่เบื้องหลังความไม่สงบที่เกิดขึ้น หากนำไปสู่การเสียดินแดนจังหวัดชายแดน ภาคใต้ของไทย นั่นหมายความว่าอาณาเขต ในท้องทะเลอ่าวไทยที่มีขุมทรัพย์พลังงาน ทั้งที่เป็นน้ำมันและก๊าซมากมายมหาศาลจะต้องหายไปเกือบครึ่ง

วิกฤติเขาพระวิหารที่กำลังครึก โครมอยู่ในเวลานี้ จากขุนเขาบนแผ่นดิน ที่ราบสูงถูกทำให้ลุกลามไปตลอดแนวชายแดนจากอีสานถึงภาคตะวันออก แล้วไหลลงสู่ท้องทะเลไปเกี่ยวโยงกับขุมทรัพย์พลังงานในอ่าวไทย ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ ที่จะทำให้ไทยเสียดินแดนทั้งบนบกและในทะเล โดยในส่วนของผืนทะเลกลางอ่าวไทย ที่อาจต้องเสียให้เขมรไปนั้น เป็นแหล่งที่มีน้ำมันจำนวนมหาศาลเช่นกัน

อีกทั้งวิกฤติเกาะแก่งที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวกลางอ่าวไทยที่กำลังวิตกกังวลกับแท่นขุดเจาะของบรรดากลุ่มทุนน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก แม้กระทั่งวิกฤตการณ์ที่ชาวบ้านกลายในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช รวมตัวกันลุกขึ้นต่อต้านบริษัทเชฟรอนของอเมริกา ที่กำลังทำโครงการก่อสร้างศูนย์สนับสนุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย หรือชอร์เบส บริเวณชายฝั่งในพื้นที่ของที่นั่น

เนื่องจากโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดมียุทธศาสตร์เชื่อมการขนส่งและพลังงานในระดับนานาชาติ จึงมีกลุ่มทุนน้ำมันและชาติมหาอำนาจเล่นกลชักใยกดดันอยู่เบื้อง หลังจำนวนมาก อันเป็นไปในลักษณะเดียว กับหลากหลายวิกฤติที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองเราเวลานี้

เมื่อแสงแรกของวันสาดส่องให้เห็นเรือเรนโบว์วอริเออร์ในท้องทะเลได้ จึงเป็นที่วาดหวังกันว่า “วาระซ่อนเร้น” ที่มีอยู่มากมายหลายระดับในโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดก็จะมีแสงส่องสว่างให้เกิด “ความโปร่งใส” ขึ้นบ้าง ขณะที่กำลังถูกขับเคลื่อนให้เดินหน้าไปในเวลานี้
วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กิริ เข้าพม่า เมกี้ เข้าฮ่องกง อาจไม่ส่งผลกระทบ ประเทศไทย

ระวังคาดการผิด ถ้ากิริ เบนหัวมาทางตะวันออก


ภาพขององค์การนาซ่าสหรัฐฯ ที่เผยแพร่ในบ่ายวันพฤหัสบดี (21 ต.ค.) "กิริ" (GIRI) ไต้ฝุ่นแห่งมหาสมุทรอินเดีย กำลังปั่นตัวเองอย่างพลุ่งพล่าน ในทะเลเบงกอล ห่างเมืองท่าสิตต่วย (Sittwe) ของพม่าเพียง 250 กม. ไซโคลนระดับ 4 หันหัวพุ่งเป้าขึ้นฝั่งในสุดสัปดาห์นี้ อาละวาดเหนือ "ทุ่งก๊าซ" พม่า ก่อนเข้ามัณฑะเลย์ (Mandalay)

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- เฉียดไปเฉียดมาหลายครั้งตั้งแต่เดือนที่แล้ว คราวนี้เห็นทีจะเลี่ยงยาก ไซโคลน “กิริ” ความแรงเท่าไต้ฝุ่นระดับ 4 กำลังเร่งความเร็วอยู่ห่างจากเมืองท่าสิตต่วย (Sittwe) เพียง 200 กม.ในวันศุกร์ (22 ต.ค.) นี้ คาดว่าจะเข้าถึงฝั่งในสุดสัปดาห์

องค์การพยากรณ์อากาศหลายแห่งทั่วโลก เตือนพม่าให้เตรียมรับมือกับพายุกิริ ก่อที่ตัวขึ้นในทะเลเบงกอล วันที่ 19 ต.ค.ที่ผ่านมา ในบริเวณใกล้ชายฝั่งภาคตะวันตกของพม่า ทำท่าจะไม่มีพิษสงอะไร เช่นเดียวกับพายุ 2 ลูก ปลายเดือนที่แล้วกับต้นเดือนนี้ ซึ่งมีความแรงระดับหย่อมความกดอากาศต่ำ

สำนัก TSR ในกรุงลอนดอน ศูนย์เตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center) สหรัฐฯ และ กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (Indian Meteorological Department) ต่างคำออกเตือนในวันศุกร์นี้ เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างรวดเร็วของไซโคลนกิริ ซึ่งขึ้นสู่ระดับที่มีความรุนแรงมาก (C4)

แผนที่พยากรณ์อากาศของ TSR ที่ออกในวันเดียวกัน แสดงให้เห็นไซโคลนกิริ พุ่งตรงเข้าสู่เมืองท่าสำคัญของรัฐระไค (Rakhine) หรือ ยะไข่ ทะลวงเข้าสู่ภาคกลางตอนบน เฉียดเมืองมัณฑะเลย์ (Mandalay) ไปจนถึงตอนเหนือของรัฐชาน โดยคาดว่า จะอ่อนกำลังลงเป็นระดับ 2 และ 1 และกลายเป็นพายุโซนร้อน แต่มีกำลังมากพอที่จะทำให้เกิดอุทกภัยซ้ำสอง

ในเดือนนี้ภาคตะวันตกของพม่า ซึ่งรวมทั้งระไค และ ภาคกลางตอนบน รวมทั้งเมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับ 2 ของพม่า ประสบอุทกภัยรุนแรงไม่แพ้ในประเทศเพื่อนบ้านแถบนี้ หลังจากเกิดฝนตกติดต่อกันหลายวันกินอาณาบริเวณกว้าง

แถบชายฝั่งเบงกอลที่อยู่ในเส้นทางเคลื่อนตัวของไซโคลนกินริ ยังเป็นเขตบ่อก๊าซใหญ่ 2-3 แห่งที่ค้นพบและเตรียมผลิตส่งจำหน่ายให้จีน นอกจากนั้นยังเขตแหล่งก๊าซใหญ่ของพม่า ที่ตั้งแปลงสำรวจ A-1, A-2 และ A-3

ในวันแรกของเดือน พ.ค.2551 ไซโคลนนาร์กิส พัดเข้าเขตที่ราบปากแม่น้ำอิรวดีของพม่า ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1 แสนคน อีกเท่าๆ กันยังสูญหาย

Tropical Cyclone Track at 20:00 HKT 22 October 2010

เปลี่ยนทิศเปลี่ยนทางได้ เพราะธรรมชาติคือความไม่แน่นอน

แผนที่พยากรณ์อากาศของ TSR ในกรุงลอนดอน แสดงเส้นทางของกิริเป็นเส้นสีแดง ไซโคลนซึ่งมีความแรงเท่ากับไต้ฝุ่นระดับ 4 ในแปซิฟิก ตะขึ้นบกสุดสัปดาห์นี้



แผนที่พยากรณ์อากาศของ TSR ในกรุงลอนดอน ที่ออกในวันศุกร์ (22 ต.ค.) นี้ แสดงความแรงที่ศูนย์กลางและในรัศมีโดยรอบของไซโคลนกิริ ซึ่งจะขึ้นฝั่งใกล้เมืองท่าสิตต่วย (Sittwe) สุดสัปดาห์นี้
วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ลืมปิดสวิทซ์ แก้ปัญหาน้ำแล้ง หรือไม่ น้ำจึงท่วม แบบทะลักทะลาย

ปริมาณฝน ปริมาณน้ำในเขื่อน ต่างๆ 17-18 ตุลาคม 53



น้ำท่วมโคราช

30 จังหวัด น้ำท่วม แล้ว กรุงเทพฯ ล่ะ จะรอดหรือไม่
น้ำท่วมโคราช นายกฯ ลงพื้นที่ตรวจเยื่ยมประชาชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา

มาตรการการรับมือ การประเมิน จะผิดพลาดหรือไม่


เตือนภัย'วิกฤติแล้ง'ลากยาวปีหน้า (02/07/2553)

คงจำกันได้ว่าต้นปีนี้เพียงย่างเข้าเดือนกุมภาพันธ์ ประชาชนคนไทยทั้งประเทศต้องเผชิญกับภาวะอากาศร้อนแบบสุดจะทน พอเข้าสู่เดือนมีนาคมไม่ใช่แค่สุดจะทน

แต่ต้องใช้คำศัพท์ที่บ่งบอกให้รู้ว่าร้อนมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า หรือที่หลายคนพูด "ร้อนตับแลบ" ยิ่งเดือนเมษายนยิ่งร้อนหนัก ทั้งที่ปกติแล้วภาวะอากาศร้อนสาหัสสุดในรอบ 1 ปี จะมีเพียงประมาณ 1 เดือน คือ เดือนเมษายนของทุกปี และโดยภาพรวมปีนี้อากาศร้อนกว่าทุกปีที่ผ่านมา ภาวะอากาศร้อนจัดที่เกิดขึ้นในฤดูร้อน ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นควบคู่คือ "ความแห้งแล้ง" ซึ่งปีนี้ได้เกิดขึ้นเกือบทุกภูมิภาคของประเทศ และจำนวนพื้นที่มากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ประชาชนโดยเฉพาะต่างจังหวัดได้รับความเดือดร้อน จากการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย เกษตรกรต้องลงทุนปลูกใหม่กันหลายรอบ แม้กระทั่งต้นยางพารา ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวนมาก ถึงขั้นยืนต้นตาย ต้นทุนการผลิตพืชผลการเกษตรปีนี้จึงมีแนวโน้มสูงกว่าทุกปี

ความเดือดร้อนช่วงฤดูแล้งของปีนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนสำคัญ ๆ ของประเทศ มีปริมาณน้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ดังที่ "ชลิต ดำรงศักดิ์" อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวเมื่อต้นปีว่า ปริมาณน้ำฝนหลังฤดูฝนปี 2552 นี้ น้อยกว่าปีที่ผ่านมา 950 ล้านลูกบาศก์เมตร คือ มีประมาณ 35,000 ล้านลูกบาศก์เมตร จัดสรรไว้ใช้ฤดูแล้ง 20,700 ล้านลูกบาศก์เมตร เก็บไว้ช่วงฤดูฝนหลังฝนทิ้งช่วง 14,000 ล้านลูกบาศก์เมตร หลังเทศกาลสงกรานต์ซึ่งเริ่มเข้าฤดูฝน มีฝนตกลงมาบ้าง แต่ปริมาณน้ำในเขื่อนสำคัญยังต่ำ สร้างความวิตกกังวลให้กับทุกภาคส่วน ถึงขั้นที่ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"นายกรัฐมนตรี สั่งให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ)ทุกสัปดาห์ เพื่อพิจารณาปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะติดตาม"สถานการณ์ภัยแล้ง"อย่างใกล้ชิด

น้ำต้นทุนต่ำ-ฝนน้อย หากพิจารณาดูจากน้ำต้นทุน ณ เดือนมิถุนายน 2553 และการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนฤดูฝนปีนี้ มีความน่าเป็นห่วงสถานการณ์น้ำครึ่งปีหลังของปี 2553 จะไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร และฤดูแล้งปี 2554 จะเกิดภาวะ "แล้ง"รุนแรงยิ่งกว่าปีนี้ แม้ว่าน้ำต้นทุนหลังฤดูฝนปี 2552 จะน้อยกว่าปี 2551 ปริมาณ 950 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่รวมกันยังมีถึง 35,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ปี 2553 ณ วันที่ 22 มิถุนายน ปริมาณน้ำต้นทุนจากเขื่อนใหญ่มีรวมกัน 8,870 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น นั่นหมายความว่าฤดูฝนปีนี้จะต้องมีปริมาณน้ำฝนลงเขื่อนใหญ่มากถึง 26,130 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนหลังฤดูฝนปีนี้จึงจะเท่าปี 2552 แต่ถ้าปริมาณน้ำฝนลงเขื่อนน้อยกว่านี้ และเกิดภาวะอากาศร้อนจัดเหมือนปีนี้หรือร้อนกว่า เป็นที่แน่นอนว่า "วิกฤติแล้ง"ปีหน้าจะหนักหนาสาหัสยิ่งกว่าปีนี้อีก ขณะที่แหล่งข่าวกรมอุตุนิยมวิทยา ยืนยันว่า ฤดูฝนปี 2553 นี้ ปริมาณฝนจะต่ำกว่าค่าปกติ (ค่าปกติคือปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 30 ปีย้อนหลัง ระหว่างปี 2514-2543 ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 1,572 มิลลิเมตรต่อปี)ขณะที่ปี 2552 ที่ผ่านมาปริมาณฝนสูงกว่าค่าเฉลี่ยคือ 1,600 มิลลิเมตร แต่ปี 2553 ปริมาณน้ำฝนจะมีค่าเฉลี่ยเพียง 1,200-1,300 มิลลิเมตรเท่านั้น นั่นหมายความว่าน้ำฝนจะลงเขื่อนมีปริมาณน้อยลง นี่เป็นสัญญาณเตือนที่ว่า ปี 2554 จะแล้งมากกว่าปีนี้ เว้นแต่มีเหตุการณ์ไม่คาดฝันทางธรรมชาติ เกิดฝนตกปริมาณมาก สถานการณ์อาจพลิกผันได้ เช่นเดียวกับที่ยุคล ลิ้มแหลมทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่าคณะอนุกรรมการวางแผนและติดตามป้องกันแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร ได้ประเมินสถานการณ์น้ำในประเทศ คาดว่าเดือนกันยายน-ตุลาคม จะมีฝนตกลงมาทำให้มีน้ำลงเขื่อนประมาณ 7,500 ล้านลูกบาศก์เมตร จำนวนนี้ใช้ทำนาปีปกติ 4,300 ล้านลูกบาศก์เมตร เหลือน้ำสำหรับภาคการเกษตรเพียง 3,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เพราะฉะนั้นฤดูแล้งปีหน้าจะทำการเกษตรได้ไม่เกิน 3 ล้านไร่

แล้ง 53 จ่อพินาศ 6,650 ล้าน: ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ฯได้ประเมินผลกระทบภัยแล้งปี 2553 โดยสุ่มตัวอย่างเกษตรกร 60 จังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดละ 1 ตัวอย่าง และประมวลจากพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ณ เดือนพฤษภาคม 2553 พบว่า ภาคเกษตรกรรม เช่น พืชผล ประมง ปศุสัตว์ จะได้รับผลกระทบทางตรง คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 2,600-3,900 ล้านบาท ผลกระทบทางอ้อมเช่น การให้เกษตรกรลดพื้นที่ทำการเกษตร จะมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 1,200-1,800 ล้านบาท ภาคอุตสาหกรรม เช่น สินค้าแปรรูป 400-600 ล้านบาท ภาคบริการเช่น โรงแรมและธุรกิจต่อเนื่อง มูลค่าความเสียหาย 150-250 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้นประมาณ 4,350-6,550 ล้านบาท หากเปรียบเทียบมูลค่าความเสียหายอันเนื่องจากภัยแล้ง ที่ประเมินโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะเห็นได้ว่าสถานการณ์แล้งปี 2553 สร้างความเสียหายเชิงเศรษฐกิจเกือบจะรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 10 ปี นับจากปี 2540 โดยปีที่เสียหายรุนแรงสุด คือ ปี 2548 ประมาณ 7,566 ล้านบาท

สั่ง 22 จังหวัดงดทำเกษตร: จากสถานการณ์ภัยแล้งที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้าและสร้างความเสียหายเชิงเศรษฐกิจมหาศาล ล่าสุดอธิบดีกรมชลประทาน เผยว่า จากการที่ปริมาณน้ำ 2 เขื่อนใหญ่ คือ เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำรวมกันเพียง 1,700 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น กรมชลประทานจึงได้สั่งการไปยัง 22 จังหวัด ที่อาศัยการใช้น้ำจาก 2 เขื่อนดังกล่าว อาทิ กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย อุทัยธานี ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง นครนายก ฉะเชิงเทรา ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี สิงห์บุรี หยุดทำการเกษตรทุกชนิด โดยเฉพาะการปลูกข้าวนาปรัง ทั้งนี้ จนกว่าจะได้รับแจ้งจากกรมชลประทานให้ดำเนินการได้ โดยดูฝนช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมก่อน สำหรับการรับมือภัยแล้งระยะยาว อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กรมชลประทานมีโครงการจะทำแก้มลิง เพื่อเก็บกักน้ำไว้ทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถือว่ามีความเหมาะสมที่จะทำแก้มลิง และเกษตรกรจะได้ไม่ได้รับความเดือดร้อน หากฝนตกน้อยหรือฝนทิ้งช่วง

ค้านเงินช่วยเหลือ 1,000 บาท: ทั้งนี้ จากการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีแผนจะให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่เลื่อนทำนาปีเป็นเดือนกรกฎาคม โดยได้สรุปตัวเลขจะมีเกษตรกรได้รับความเสียหาย จากการเลื่อนทำนาปี 1.5 ล้านครัวเรือน และจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)ช่วยเหลือเกษตรกร โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้ครัวเรือนละ 1,000 บาท นั้น ต่อเรื่องดังกล่าว "ฐานเศรษฐกิจ"สอบถามเกษตรกรหลายครอบครัว ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว เพราะเงิน 1,000 บาท เป็นเงินเฉพาะกิจไม่สามารถสร้างความยั่งยืนให้กับอาชีพเกษตรและยกฐานะเกษตรกรได้ ทั้งนี้ รัฐบาลควรจะนำเงินจำนวนนี้ ซึ่งคาดว่าจะมากถึง 1,500 ล้านบาท ไปทำโครงการเก็บกักน้ำ จัดหาปัจจัยการผลิต เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรระยะยาวมากกว่า โดยเฉพาะโครงการเก็บกักน้ำนั้น นอกจากเป็นประโยชน์ต่อภาคเกษตรแล้ว เกษตรกรยังสามารถนำน้ำมาใช้เพื่ออุปโภคบริโภคได้ด้วย เพราะเวลานี้หลายพื้นที่ไม่ได้รับความเดือดร้อนเฉพาะน้ำทำการเกษตรเท่านั้น แต่ยังเดือดร้อนไปถึงน้ำดื่มน้ำใช้ด้วย

สถานการณ์ภัยแล้งปี 2553-2554 จึงไม่ใช่เกมสนุกของนักการเมืองแต่อย่างใด เพราะเป็นภัยธรรมชาติที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั้งประเทศ เพราะฉะนั้นรัฐบาลพึงตระหนักให้เป็นปัญหาอันดับต้น ๆ และเตรียมมาตรการรับมืออย่างใกล้ชิด

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 2 กรกฎาคม 2553)

จัดการน้ำแบบบูรณาการ แก้ปัญหาภัยแล้ง-น้ำท่วม

วันอังคาร ที่ 14 กันยายน 2553 เวลา 0:00 น




"น้ำ"คือปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ของภาคเกษตร แต่ทุก ๆ ปี ภาคเกษตรไทยมักจะประสบปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง หรือแม้ กระทั่งปัญหาน้ำท่วม ส่งผลให้หลายฝ่ายวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม ดังนั้น รัฐบาลจึงมีนโยบายปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ซึ่งในสาขาทรัพยากรน้ำและเกษตรนั้น ได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร โดยเร่งรัดจัดหาแหล่งน้ำให้ ทั่วถึงและเพียงพอ…

นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้ตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธาน เพื่อบูรณาการหน่วยงานใน สังกัดระดับจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดแนวทางพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรโดย ตรงเน้นคำนึงถึงศักยภาพของพื้นที่ความต้องการของชุมชนเป็นสำคัญ รวมทั้งใช้ พื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาแหล่งน้ำเป็นศูนย์กลาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต เพิ่มมูลค่าการตลาด และการบริหารจัดการให้เป็นไปอย่างมีเอกภาพ โดยมีคณะอนุกรรมการบูรณาการแผนปฏิบัติการพัฒนาด้านการเกษตรระดับจังหวัด เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ

การดำเนินงานประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่ การคัดเลือกสำรวจข้อมูลพื้นที่เป้าหมายที่เหมาะสม ทั้งเชิงโครงสร้างและรายสินค้า อย่างน้อยจังหวัดละ 1 พื้นที่ โดยมีการสำรวจครัวเรือนเกษตรกร และ จัดเก็บข้อมูลเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย แล้วจัดทำเวทีประชาคมขึ้นเพื่อสร้างกระบวนการ มีส่วนร่วมในชุมชนและสรุปแนวทางการดำเนินงานร่วมกันให้สอดคล้องกับความ ต้องการของชุมชน อันจะเป็นผลดีต่อการนำไปปฏิบัติในพื้นที่ โดยมุ่งเน้นให้มีการสื่อสารการปฏิบัติงานตามแผนงานบูรณาการในทุกระดับ เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้ง มีการติดตามและประเมินผลอย่าง ต่อเนื่องอีกด้วย ทั้งนี้ในปี 2553 กระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการ ในพื้นที่นำร่อง เขต 3 ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก สมุทรปราการ และ เขต 9 ได้แก่ ระยอง ชลบุรี จันทบุรี ตราด เพื่อศึกษาทิศทางและผลการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การพัฒนาโครงการที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่อื่นทั่วประเทศต่อไป

นายปรีชา ธรรมสุนทร ตัวแทนกลุ่มผู้ใช้น้ำ หมู่ 2 ต.ตะพง อ.เมือง จ.ระยอง เล่าว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ ในพื้นที่จังหวัดระยองจะประสบปัญหาเกี่ยวกับน้ำเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะชาวสวน ผลไม้ที่จะประสบปัญหาภัยแล้งใน ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งจะเป็นช่วงที่เก็บเกี่ยวผลผลิตพอดี เมื่อน้ำน้อยทำให้ผลผลิตลดลง และได้รับความเสียหาย เช่น เงาะ ถ้าได้น้ำไม่เพียงพอนอกจากผลจะแคระแกร็นแล้ว ผลเงาะจะแตกไม่สามารถขายได้ โดยที่ผ่านมาเกษตรกรจะอาศัยน้ำจากลำคลองขนาดเล็ก ๆ ที่ไหลจากภูเขาและแหล่งน้ำตามสวน ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการ แต่เมื่อกระทรวงเกษตรฯ ได้นำโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร มาลงในพื้นที่ ก็เชื่อมั่นว่าเกษตรกรในพื้นที่จะมีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตรอย่างเพียงพอ สามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตและคุณภาพสินค้าเกษตรให้ดีขึ้น อีกทั้งจะสามารถเพาะปลูกพืชผลได้หลากหลายชนิดมากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดได้อีกทางหนึ่ง

เมื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการบริหารจัดการน้ำอย่างจริงจังแล้ว สิ่งที่เกษตรกร ฝากมายังผู้เกี่ยวข้องอีกอย่างคือ การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลผลิตทางการเกษตรให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้มากขึ้น เพื่อให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้มากขึ้น เป็นการช่วยให้เขามีรายได้ สามารถช่วยเหลือตนเอง และอยู่ในอาชีพนี้ได้อย่างยั่งยืน.

. การคาดการณ์สถานการณ์ภัยแล้งปี 2553
1. ประมวลความเสียหายจากภัยแล้งในปีที่ผ่านมา
สถิติภัยแล้งใน ปี2535-2552 โดยส่วนใหญ่จังหวัดในประเทศไทยที่51-60 จังหวัด ซึ่งภาวะภัยแล้งที่รุนแรง2548 จังหวัดประสบภัยแล้ง มี 71 จังหวัด มูลค่าความเสียหายสูง7.5 พันล้านบาท ในปี 2553 จังหวัดประสบภัยแล้งมี 60 จังหวัด มูลค่าความเสียหาย 672.50 ล้านบาท
2.ประมวลจากสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน
-น้อยกว่าฝนสะสมเฉลี่ย ปริมาณฝนสะสมของประเทศในปี 2552 มี 1,534 .. น้อยกว่าปี 2551 อยู่ 110 ..(ปี 2551 มี 1,644 ..) และ30 ปี อยู่ 47 .. (ฝนสะสมเฉลี่ย 30 ปี มี 1,581..)
-ปริมาณฝนในช่วงต้นฤดูฝนนี้ยังมีปริมาณน้อย และได้เข้าสู่ภาวะปกติของฤดูฝนในกลางเดือน สิงหาคม 2553ขณะนี้มีฝน ตกกระจายทุกพื้นที่แล้ว
-ฝนสะสมปี 2553 (มกราคม ปัจจุบัน) 732.6 มม. น้อยกว่าฝนสะสมเฉลี่ย 30 ปี 77.4 มม. (ฝนสะสมเฉลี่ย 30 ปี 810.0 มม.)ปริมาณน้ำท่า ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้อย
- ฝนสะสมปี 2553 (มกราคม – ปัจจุบัน) 732.6 มม. น้อยกว่าฝนสะสมเฉลี่ย 30 ปี 77.4 มม. (ฝนสะสมเฉลี่ย 30 ปี 810.0 มม.)
- ปริมาณน้ำท่า ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้อย
- ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้น ณ วันที่ 8 ส.ค.53 มีปริมาณน้ำเก็บกัก 32,545 ล้านลูกบาศก์เมตรคิดเป็น 47 % ของความจุเก็บกัก ซึ่งน้อยกว่าปี 2552 อยู่ 16 % (ปี 2552 มี 44,154 ล้านลูกบาศก์เมตร) ขณะนี้อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำเก็บกักต่ำกว่า 50 % มี 29 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนป่าสักชลสิทธ์จ.ลพบุรี (9%) เขื่อนแม่กวง จ.เชียงใหม่ (11%) เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี (21%) เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี(22%) เขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง (23%) เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ (24%) เขื่อนมูลบน จ.นครราชสีมา (25%) เขื่อนขุนด่านฯ จ.นครนายก (27%) เขื่อนแควน้อย จ.พิษณุโลก (27%) เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร (27%) เขื่อนปราณบุรีจ.ประจวบคีรีขันธ์ (27%) เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี (28%) เขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา (29%)เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา (29%) เขื่อนภูมิพล จ.ตาก (30%)เขื่อนแม่งัด จ.เชียงใหม่ (32%)เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น
(32%) เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ (35%) เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง(36%)เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี (38%) เขื่อนวชิราลงกรณ์ จ.กาญจนบุรี(40%) เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ (41%) เขื่อนลำแซะ จ.นครราชสีมา (42%) เขื่อนจุฬาภรณ์จ.ชัยภูมิ (43%) เขื่อนน้ำพุง จ.สกลนคร (43%) เขื่อนบางลาง จ.ยะลา (44%) เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา(45%) เขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี (47%) และเขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี (48%)
- พื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค-จุดจ่ายบาดาล มี 24 จังหวัด ที่ยังขาดแคลนระบบประปาหมู่บ้านเกิน 50%
3. จากข้อมูลฝน น้ำท่าและน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ กรมทรัพยากรน้ำ ได้คาดการณ์สถานการณ์ภัยแล้งปี 2553 ในรอบสัปดาห์ ( 10 - 16 ส.ค. 53) น่าจะคลี่คลายและเข้าสู่ภาวะปกติ
4. กรมทรัพยากรน้ำ ได้จัดเตรียม รถบรรทุกน้ำจำนวน 19 คัน รถผลิตน้ำดื่มจำนวน 6 คัน เครื่องสูบน้ำจำนวน 141 ชุดและรถประปาสนาม จำนวน 12 คัน เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งในปี 2553
5. กรมทรัพยากรน้ำ ได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำปีละไม่น้อยกว่า 700 แห่ง ซึ่งใน
ปี 2552 ได้การดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ จำนวน 705 แห่ง และในปี 2553 ได้จัดเตรียมแผนการเพื่อการดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ จำนวน 1,766 แห่ง และโครงการบริหารจัดการน้ำแบบ IWRM“น้ำถึงไร่นา ประปาถึงทุกบ้าน”
6. คณะอนุกรรมการติดตามและแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้จัดประชุมทุกวันจันทร์เพื่อติดตามสถานการณ์ภัยแล้งของปี 2553การประชุมวันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553 มีผลสรุปของที่ประชุม ดังนี้
6.1 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงฤดูร้อน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยจะสูงกว่าค่าปกติและสูงกว่าปีที่ผ่านมา
ปริมาณฝนบริเวณประเทศไทยจะน้อยกว่าค่าปกติเล็กน้อย ฤดูร้อนปีนี้แห้งแล้งมากพอสมควร ปริมาณฝนที่ตกจะไม่เพียงพอกับความต้องการ หลายพื้นที่ประสบกับการขาดแคลนน้ำ ทั้งทางด้านอุปโภค บริโภคและการ
เกษตรกรรม โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากในบริเวณประเทศไทยตอนบน
6.2 ด้านเตรียมการช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง ปี 2553 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมการในด้านบรรเทาปัญหา
ภัยแล้งในภาวะเร่งด่วน เช่นมาตรการแจกน้ำอุปโภค บริโภค การเตรียมแหล่งน้ำบาดาลเป็นแหล่งน้ำสำรอง
เป็นต้น ประชาสัมพันธ์เพื่อขอให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกตามแผนการจัดสรรน้ำที่ได้กำหนดไว้โดยงดการปลูกข้าวนาปรังครั้งที่2 ซึ่งจะช่วยลดการใช้น้ำได้ และสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงรวม 5 ศูนย์ ครอบคลุมทั้งประเทศไทยและจากการประชุมเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 มีผลสรุปดังนี้
- ในช่วงวันที่ 9 – 10 สิงหาคม 2553 จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออก
และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับช่วงวันที่ 11 – 12 สิงหาคม 2553 ฝนจะตกหนักในพื้นที่ภาคกลาง ตะวันออก และภาคใต้ตอนบน รวมถึงเขตกรุงเทพฯ ซึ่งทางกรุงเทพฯ ได้เฝ้าระวังและเตรียมการระบายน้ำไว้แล้ว
- การประปาส่วนภูมิภาค รายงานปัจจุบันการประปาส่วนภูมิภาคมีน้ำเพียงพอในการเดินระบบผลิต
น้ำประปาได้ทุกสาขาแล้ว
- การบริหารจัดการน้ำ ในช่วงนี้มีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลาง เพิ่มมากขึ้น เริ่มมี
การเก็บกักน้ำ สำหรับเขื่อนวชิราลงกรณ์ยังอยู่ในภาวะน้ำน้อยและต้องเฝ้าระวังการขาดแคลนน้ำเนื่องจากแนวโน้มน้ำเข้าอ่างน้อยลงต้องบริหารจัดการน้ำร่วมกับเขื่อนศรีนครินทร์
- ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาสถานีเตือนภัยน้ำหลากในพื้นที่เชิงเขาของกรมทรัพยากรน้ำมีการเตือนภัย
จำนวน 23 ครั้ง ในพื้นที่ 64 หมู่บ้าน
. มาตรการบรรเทาภัยแล้ง ปี 2553
1. การกำหนดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังให้เหมาะกับปริมาณน้ำในอ่าง โดย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ได้วางแผนกำหนดพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ในปี 2552/2553 ในเขตโครงการชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ ประมาณ 12.28 ล้านไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว 0.90 ล้านไร่ (ปีที่แล้ว 13.18 ล้านไร่)
2. การเตรียมการจัดทำฝนหลวงในพื้นที่ประสบภัยแล้ง โดยสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้เตรียมเครื่องบินสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 31 เครื่อง แบ่งเป็นเครื่องบินของกษ. 19 เครื่อง และเครื่องบินของกองทัพอากาศ 12 เครื่อง
3. การบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ สำรวจปริมาณน้ำเก็บกักในแหล่งน้ำ ณ ช่วงสิ้นฤดูฝน และวางแผนการใช้น้ำให้ตลอดช่วงฤดูแล้ง
4. การก่อสร้างฝายต้นน้ำ โดย กรมทรัพยากรน้ำ กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
5. การเจาะบ่อบาดาลในพื้นที่ประสบภัยแล้ง โดย กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
6. การฟื้นฟูอนุรักษ์แหล่งน้ำธรรมชาติ ซ่อมแซม ปรับปรุงบ่อน้ำตื้น และระบบประปาหมู่บ้าน โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาลและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
7. บรูณาการจากหน่วยงานต่างๆ เตรียมน้ำสะอาดสำหรับแจกจ่ายในพื้นที่ประสบภัยแล้ง และร่วมสนับสนุน
รถยนต์แจกจ่ายน้ำและเครื่องสูบน้ำในพื้นที่ประสบภัยแล้ง โดย การประปาภูมิภาค กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย
กรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และกองบัญชาการกองทัพไทย
8. การประชาสัมพันธ์ให้เลื่อนการปลูกข้าวนาปีเป็นกลาง กรกฎาคม 2553 ตามสภาวะฝนคาดการณ์
9. การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน
- รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักในปัญหาภัยแล้งและการประหยัดน้ำ
- ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบข้อมูลสถานการณ์น้ำในพื้นที่
- ประสานงานด้านข้อมูลปัญหาภัยแล้งจากพื้นที่
- ประชาสัมพันธ์การนำน้ำที่ใช้แล้วมาบำบัดเพื่อกลับมาใช้ประโยชน์
- ประชาสัมพันธ์ให้ปลูกพืชเศรษฐกิจที่ใช้น้ำน้อย
- ร่วมกันกำจัดวัชพืชเพื่อลดการระเหยของน้ำ
- ร่วมกันลดการก่อให้เกิดมลพิษในน้ำ
- อบรมและเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงปลา
- ติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขา
- แจ้งเตือนภัยคุณภาพน้ำ
. สรุปผลการช่วยเหลือภัยแล้ง ปี 2553 ณ ปัจจุบัน
- กรมทรัพยากรน้ำ แจกน้ำดื่มไปแล้วทั้งสิ้น 1,690,000 ลิตร และประชุมชี้แจงคณะกรรมการลุ่มน้ำ
- กรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช แจกน้ำดื่มไปแล้วทั้งสิ้น 236,000 ลิตร
- กรมทรัพยากรน้ำบาดาล แจกน้ำจากจุดจ่ายน้ำถาวร 100 แห่ง จำนวน 90.40 ล้านลิตร เป่าล้างบ่อบาดาล 46 บ่อ แจกน้ำดื่มจำนวน 170,890 ขวด จัดหาแหล่งน้ำบาดาลให้กับโรงเรียนและหมู่บ้านภัยแล้งทั่วประเทศ 1,300 บ่อ
- กรมชลประทาน ได้ส่งน้ำในการปลูกพืชฤดูแล้ง 19.78 ล้านไร่ เป็นจำนวน 22,417 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 108 ของแผนจัดสรรน้ำ และมีการใช้เครื่องสูบน้ำ 238 เครื่อง และรถบรรทุกน้ำ 33 คันใน แจกน้ำอุปโภค บริโภค 21.76 ล้านลิตร ประกาศเลื่อนการทำนาปีไปเป็นเดือนกรกฎาคม 2553
- การประปาส่วนภูมิภาค สนับสนุนน้ำดื่ม 549.23 ล้านลิตร
- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรายงานมีการจัดสรรงบช่วยเหลือจำนวน 672 ล้านบาท แจกจ่ายน้ำ
413.16 ล้านลิตร ซ่อมสร้างทำนบ/ฝายชั่วคราว 5,120 แห่ง และขุดลอกแหล่งน้ำ 5,707 แห่ง
- ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก แจกน้ำอุปโภคบริโภค 21.36 ล้านลิตรใน 25 จังหวัด
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ระบายนํ้าเพื่ออุปโภค 53 ล้านลิตร และมีรถบรรทุกน้ำ 30 คัน
- สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ปฏิบัติการ 163 วัน จำนวน 4,953 เที่ยว ใน 63 จังหวัด
ข้อมูลจาก
ศูนย์เมขลาศูนย์ป้องกันวิกฤติน้ำกรมทรัพยากรน้ำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( 9 ..53 )

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2552 เวลา 09.30 น. นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ออกตรวจพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม และการป้องกันโบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยนายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร และนายอเนก สีหามาตย์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 3 ผู้แทนจากกรมโยธิการและผังเมืองและกรมชลประทาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากน้ำจากภาคเหนือที่สะสมจากพายุ "กิสนา" ทำให้เขื่อนต้องเร่งระบายน้ำออกลงแม่น้ำเจ้าพระยา ส่งผลให้ระดับน้ำสูงขึ้นและเริ่มไหลทะลักเข้าท่วมแล้วในเขตบริเวณเมืองแล้ว

นายธีระ สลักเพชร (รมว.วธ.) กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมยังกระจายไปทั่วประเทศ โดยน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ระบายลงมาจากเขื่อนเจ้าพระยาได้ไหลทะลักสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาออกทางแม่น้ำน้อย และคลองบางหลวงแล้ว ส่งผลให้ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับน้ำสูงขึ้น 50-100 ซม.ทำให้มีปริมาณน้ำสูงขึ้น จึงต้องเตรียมเฝ้าระวังตลอดเวลา ซึ่งคาดว่าอีกประมาณ 2 3 วัน ระดับน้ำจะสูงขึ้นค่อนข้างเร็ว ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ได้เตรียมป้องกันบริเวณวัดไชยวัฒนารามโดยการทำผนังเขื่อนป้องกันน้ำไว้แล้ว สูงถึง 5 เมตร ซึ่งถ้าไม่มีการป้องกันระดับน้ำที่สูงขึ้นก็เข้าท่วมแล้ว ทั้งนี้ สถานการณ์น้ำที่หน้าวัดไชยวัฒนารามยังไม่น่าเป็นห่วง เพราะพนังเขื่อนยังสามารถป้องกันน้ำได้ถึงอีก ในส่วนบริเวณป้อมเพชรก็มีความน่าเป็นห่วง เพราะว่ามีแม่น้ำ 2 สาย ได้แก่ แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรีมารวมกัน จึงทำให้ระดับสูงและมีความเชี่ยว เมื่อเรือแล่นผ่านจะทำให้เกิดคลื่นไปกระทบ กับกำแพงป้อมเพชร ทำให้บางส่วนของป้อมเพชรได้ถูกกระแสน้ำพัดหายไป ดังนั้น กรมศิลปากรจึงได้นำกระสอบทรายมาทำเขื่อนป้องกันไว้แล้ว ในขณะเดียวกันต้องยอมรับว่า มีน้ำท่วมในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาทุกปี ซึ่งเขตดังกล่าวถือว่า เป็นใจกลางเมืองเก่าอยุธยา อาจจะทำเสียภูมิทัศน์ไปบ้างจากเหตุการณ์น้ำท่วม อย่างไรก็ตามกรมศิลปากร เน้นการป้องกันโบราณสถานเป็นหลัก

สภาพน้ำท่วมในปีนี้โดยรวมถือว่าไม่น่าเป็นห่วงและมองถึงในอนาคตหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากรและกรมโยธาธิการและผังเมืองได้มีการเตรียมการไว้เป็นอย่างดี รวมทั้งในอนาคตได้เตรียมการไว้แล้วทุกจุด และบริเวณรอบๆนอกเกาะเมืองและแหล่งโบราณสถานใช้กำแพงวัดเป็นเขื่อนกั้นน้ำเป็นส่วนใหญ่ และใช้ปั๊มสูบน้ำออกไปกรณีที่น้ำเข้าไป ซึ่งในปีนี้ปริมาณน้ำน้อยกว่าปีที่แล้วจึงทำให้ไม่น่าเป็นห่วงรมว.วธ.กล่าว


กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถานการณ์น้ำท่วม 12 วัน มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 29 จังหวัด 186 อำเภอ ราษฎรเดือดร้อน 4.5 แสนครัวเรือน เกือบ 2 ล้านคน พบผู้เสียชีวิตแล้ว 17 ราย สูญหาย 1

นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวถึงสถานการณ์อุทกภัยในระหว่างวันที่ 10-22 ตุลาคม 2553 มีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวม 29 จังหวัด 186 อำเภอ 1,355 ตำบล 8,609 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 456,823 ครัวเรือน 1,280,344 คน ผู้เสียชีวิต 17 ราย สูญหาย 1 ราย ถนนไม่สามารถใช้สัญจรได้รวม 17 เส้นทาง ใน 7 จังหวัด ดังนี้

จ.พิจิตร น้ำในแม่น้ำยมเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำริมฝั่งใน 5 อำเภอ 19 ตำบล 34 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,120 ครัวเรือน 4,000 คน ได้แก่ อำเภอสามง่าม โพธิ์ประทับช้าง บึงนางราง โพทะเล และสากเหล็ก

จ.ชัยนาท น้ำท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ 40 ตำบล 342 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 16,940 ครัวเรือน 44,987 คน ได้แก่ อำเภอเมืองชัยนาท เนินขาม หันคา วัดสิงห์ หนองมะโมง มโนรมย์ และสรรพยา

จ.สุพรรณบุรี น้ำในแม่น้ำท่าจีนไหลเข้าท่วมพื้นที่ 6 อำเภอ 61 ตำบล 304 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 44,300 ครัวเรือน 121,436 คน ได้แก่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี บางปลาม้า สองพี่น้อง สามชุก หนองหญ้าไซ และเดิมบางนางบวช

จ.อ่างทอง น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ 52 ตำบล 215 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,950 ครัวเรือน 4,335 คน ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง ป่าโมก ไชโย วิเศษชัยชาญ โพธิ์ทอง สามโก้ และแสวงหา

จ.พระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำน้อย เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มการเกษตรใน 5 อำเภอ 54 ตำบล 297 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 4,494 ครัวเรือน 13,977 คน ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา บางไทร มหาราช ผักไห่ และบางบาล

จ.ระยอง น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ 6 ตำบล 32 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองระยอง และวังจันทร์

จ.ตราด เกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเกาะช้าง และแหลมงอบ

จ.สระแก้ว น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ 10 ตำบล 1 เทศบาล 32 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 6,346 ครัวเรือน 25,800 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 40,000 ไร่ ได้แก่ อำเภออรัญประเทศ วังน้ำเย็น ตาพระยา และโคกสูง

จ.นครราชสีมา น้ำท่วมในพื้นที่ 31 อำเภอ 376 ตำบล 2,158 หมู่บ้าน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 452,174 ไร่ ได้แก่ อำเภอเมืองนครราชสีมา สูงเนิน ขามทะเลสอ โนนแดง คง เสิงสาง หนองบุญมาก จักราช เทพารักษ์ ด่านขุนทด บ้านเหลื่อม โนนสูงโชคชัย พิมาย โนนไทย ห้วยแถลง ปากช่อง สีคิ้ว ปักธงชัย ขามสะแกแสง เฉลิมพระเกียรติ พระทองคำ บัวใหญ่ ครบุรี บัวลาย เมืองยาง ศรีดา ชุมพวง วังน้ำเขียว ลำทะเมนชัย และแก้งสนามนาง

จ.ปราจีนบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ 4 ตำบล 14 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,870 ครัวเรือน 5,610คนได้แก่ อำเภอนาดี และกบินทร์บุรี ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ

จ.ลพบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 11 อำเภอ 120 ตำบล 1,012 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี โคกสำโรง ชัยบาดาล พัฒนานิคม ลำสนธิ ท่าหลวง หนองม่วง สระโบสถ์ โคกเจริญ บ้านหมี่ และท่าวุ้ง

จ.นครสวรรค์ น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ 25 ตำบล ราษฎรเดือดร้อน 2,226 ครัวเรือน 6,698 คน ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ ตาคลี ลาดยาว หนองบัว ท่าตะโก และไพศาลี

จ.ชัยภูมิ น้ำท่วมในพื้นที่ 16 อำเภอ 113 ตำบล 1,305 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 63,610 ครัวเรือน 185,742 คน ได้แก่ อำเภอเมืองชัยภูมิ เกษตรสมบูรณ์ ภูเขียว บำเหน็จณรงค์ เนินสง่า จัตุรัส บ้านเขว้า แก้งคร้อ หนองบัวแดง หนองบัวระเหว คอนสวรรค์ ซับใหญ่ คอนสาร ภักดีชุมพล เทพสถิติ และบ้านแท่น

จ.สระบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 13 อำเภอ 111 ตำบล 86,1000 ครัวเรือน 185,995 คน เสียชีวิต 1 ราย ได้แก่ อำเภอเมืองสระบุรี บ้านหม้อ พระพุทธบาท มวกเหล็ก แก่งคอย วังม่วง เสาไห้ เฉลิมพระเกียรติ ดอนพุด หนองแซง หนองแค วิหารแดง และหนองโดน

จ.เพชรบูรณ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ 49 ตำบล 271 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ หนองไผ่ ศรีเทพ บึงสามพัน และวิเชียรบุรี

นครนายก น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอบ้านนา 2 ตำบล ราษฎรเดือดร้อน 500 ครัวเรือน 1,500 คน

จ.ศรีสะเกษ น้ำล้นสปริงเวย์เข้าท่วมในพื้นที่อำเภอขุนหาญ ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ

จ.ตาก น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ 39 ตำบล 1 เทศบาลนคร 267 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 30,332 ครัวเรือน 100,006 คน ได้แก่ อำเภออุ้งผาง พบพระ แม่สอด ท่าสองยาง แม่ละมาด และบ้านตาก

จ.สุรินทร์ น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ 33 ตำบล 252 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 25,422 ครัวเรือน 96,594 คน ได้แก่ อำเภอเมืองสุรินทร์ สังขะ บัวเชด ศรีขรภูมิ ศรีณรงค์ ชุมพลบุรี และกาบเชิง

จ.บุรีรัมย์ น้ำท่วมในพื้นที่ 11 อำเภอ 62 ตำบล 485 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 13,275 ครัวเรือน 51,877คน ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ ได้แก่ อำเภอโนนดินแดง สตึก ปะคำ บ้านกรวด ประโคนชัย เฉลิมพระเกียรติ ละหานทราย นางรอง หนองหงส์ ลำปลายมาศ และชำนิ

จ.ขอนแก่น น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ 27 ตำบล 153 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 4,582 ครัวเรือน 16,084 คน ได้แก่อำเภอภูผาม่าน บ้านไผ่ และชุมแพ

จ.นนทบุรี แม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ 54 ตำบล 128 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 15,027 ครัวเรือน 17,940 คน ได้แก่ อำเภอเมืองนนทบุรี ปากเกร็ด บางกรวย บางใหญ่ บางบัวทอง และไทรน้อย

จ.ปทุมธานี น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ 39 ตำบล ราษฎรเดือดร้อน 13,197 ครัวเรือน 26,394 คน ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี สามโคก ลาดหลุมแก้ว ธัญบุรี ลำลูกกา คลองหลวง และหนองเสือ

จ.กำแพงเพชร น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ 33 ตำบล 248 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 31,758 ครัวเรือน 33,763 คน ได้แก่ อำเภอขาณุวรลักษบุรี ปางศิลาทอง ไทรงาม บึงสามัคคี ทรายทองวัฒนา ทรายทอง พรานกระต่าย

จ.นครปฐม แม่น้ำท่าจีนเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่อำเภอบางเลน และปริมาณน้ำแม่น้ำท่าจีนในพื้นที่อำเภอเมืองนครปฐม นครชัยศรี สามพราน กำแพงแสน มีระดับสูงขึ้น

จ.อุทัยธานี น้ำจากแม่น้ำวงก์และคลองโพธิ์ ไหลเข้าสู่แม่น้ำแควตากแดด ส่งผลทำให้น้ำท่วมในพื้นที่ตำบลเนินแจง และตำบลโนนเหล็ก อำเภอเมืองอุทัยธานี พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายประมาณ 300 ไร่ ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่องแล้ว

จ.สิงห์บุรี น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่อำเภออินทร์บุรี 2 ตำบล 1 เทศบาล 18 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,042 ครัวเรือน 2,084 คน

จ.จันทบุรี ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองจันทบุรี แก่งหางแมว เขาคิชฌกูฏ มะขาม สอยดาว และโป่งน้ำร้อน

จ.เชียงใหม่ น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ 25 ตำบล 109 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 5,901 ครัวเรือน 14,867 คน ได้แก่ อำเภอดอยเต่า ชัยปราการ แม่วาง จอมทอง ดอยหล่อ ฮอด สันป่าตอง และสะเมิง

นอกจากนี้ จ.ลำปาง เกิดดินถล่มทับเส้นทางลำปาง-เชียงใหม่ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 28-29 ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร

สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานความร่วมมือกับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ประสบภัยได้จัดส่งเรือท้องแบน 650 ลำ ถุงยังชีพ 88,760 ถุง เต๊นท์ 116 หลัง ไปติดตั้งเพื่อให้ผู้ประสบภัยมีที่พัก อาศัยชั่วคราว รถผลิตน้ำดื่ม 8 คัน น้ำดื่ม 75,209 ขวด เครื่องสูบน้ำ 134 เครื่อง รถกู้ภัยทุกชนิด 463 คัน รถไฟฟ้าส่องสว่าง 4 คัน สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว ตลอดจนจัดเจ้าหน้าที่เร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง


จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

บทความที่ได้รับความนิยม

Blog Archive
ขับเคลื่อนโดย Blogger.